วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ในหลวงและข้าว...กับชาวนา



           ถ้ากล่าวถึงความสัมพันธ์ของข้าว ชาวนา และพระมหากษัตริย์ไทยแล้ว แน่นอนว่าต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง สังเกตได้จากพระราชกรณียกิจและพระราชดำริต่างๆที่พระองค์ท่านทำเพื่อชาวนา เช่น ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นาข้าวทดลอง โรงสีข้าวตัวอย่าง ธนาคารข้าวเป็นต้นและก็ยังมีพระราชดำรัสของในหลวงที่ตรัสเพื่อชาวนา 


           ซึ่งพวกเราได้ไปลงพื้นที่สัมภาษณ์ชาวบ้านจากที่ต่างที่ทำอาชีพเป็นชาวนา เกี่ยวการทำนา ความรู้สึก ตลอดจนอุปสรรคของพวกเขา

           “...ข้าวที่ออกเป็นสีลักษณะนี้เป็นข้าวที่มีประโยชน์ อย่างข้าวกล้อง คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกัน เพราะเห็นว่าเป็นข้าวของคนจน ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเมล็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว... มีคนบอกว่า คนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี้ก็คนจน...” 

(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่สื่อมวลชน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2541)


จากพระราชดำรัส

"กว่าเราจะได้ข้าวมาจานหนึ่งให้เราได้ทาน 
ต้องแลกจากหยาดเหงื่อของชาวนาที่เป็นปลูก"


            พวกเราได้ไปลงพื้นที่และได้ไปนั่งคุยกับคุณลุง คุณป้า ที่ทำอาชีพเป็นชาวนาว่า “คุณลุง คุณป้าเคยท้อบ้างไหม...กับการทำนาข้าวแบบนี้..?” แล้วคุณลุง คุณป้าก็ตอบกลับมาว่า “ไม่ท้อหรอกลูก...การทำงาน มันต้องมีความอดทน...ถึงวันนี้เราจะเหนื่อย แต่เราก็ต้องพยายามต่อไป...อย่างป้าทำไร่ทำนา...ขายข้าวเพื่อหาเลี้ยงชีพ...แค่ป้าได้เห็นทุกคนได้กินข้าว...ป้าก็มีความสุขแล้ว...” แค่คุณป้าตอบมาแค่นี้ พวกเราก็รู้สึกซึ้งใจมากเลยคะ



           ".. ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก.." 

(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการพระราชดำริ ที่บ้านโคกกูแว จ.นราธิวาส วันที่ 28 กันยายน 2536)



และจากพระราชดำรัสนี้ 


ปัจจุบันผู้ที่จะมาประกอบอาชีพเป็นชาวนา 
เริ่มลดจำนวนน้อยลงทุกทีๆ 


          พวกเราก็ได้คำถามกับชาวบ้านว่า “คุณลุง..คุณป้า..อยากให้ลูกหลานของคุณลุงคุณป้ามาสืบทอดการทำไร่ทำนาต่อไหม...” ซึ่งคุณลุง..คุณป้าก็ตอบกลับมาว่า “ก็ไม่อยากบังคับพวกลูกๆ หลานๆ หรอก เขาอยากทำอะไรก็ให้เขาทำ...” แล้วพวกเราก็ถามกลับไปอีกว่า “แล้วอย่างงี้..คุณลุงคุณป้าจะทำยังไงอ่ะค่ะ...” คุณลุง..คุณป้าก็ตอบกลับมาว่า “ก็พวกป้าก็จะทำจนกว่าจะไม่มีแรงทำน่านแหละ...” พวกเรารู้สึกนับถือคุณลุงคุณป้าจริงๆ ที่มีความมานะพยายามแบบนี้คะ...


          "ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาการทดลองและทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมี ความยากลำบากอยู่ มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่างๆด้วยจึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรปลูกพืชอื่นๆบ้าง เพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่ใช่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป" 

(พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา เมื่อ พฤษภาคม 2504 จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า 2)



จากพระราชดำรัสนี้ 


จากที่พวกเราได้ไปดูคุณลุงคุณป้าทำนามา 
บอกได้เลยว่าเป็นจริงอย่างกับที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสไว้.. 
ว่าอาชีพนี้เหนื่อยมาก 
ต้องทำงานกลางแสงแดดที่ร้อน 
ก้มหลังเพื่อปลูกต้นข้าวทีละต้น 
ซึ่งถ้าให้พวกเราไปทำ คงทำได้ไม่ถึง 10 นาที 
ต้องขอมานั่งพักแน่นอน...


          "...ในสมัยปัจจุบัน อาชีพเพาะปลูกนี้มีความสำคัญมาก เพราะการเพาะปลูกนี้เป็นจุดเริ่มต้น ของชีวิตมนุษย์ ถ้าเราไม่มีการเพาะปลูก ก็จะไม่มีวัตถุดิบที่จะมาเป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือเป็นสิ่งก่อสร้าง ฉะนั้นต้องทำการกสิกรรม..." 

(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้นำสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์นิคม ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2521 จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า 2)



จากพระราชดำรัสนี้ 


ไม่ว่าอาชีพอะไร ก็มีบทบาทความสำคัญ
ในตัวเองอยู่เสมอ อย่างเช่นอาชีพชาวนา 

          หลายๆ คน อาจะบอกว่า อาชีพนี้ไม่เห็นอะไรเลย ทำงานก็เหนื่อย รายได้ที่ได้มาก็น้อย...แต่จริงๆ แล้ว จากที่พวกเราได้ไปอยู่กับคุณลุง คุณป้าที่ทำนา พวกเราบอกได้ว่า อาชีพนี้เป็นอีกอาชีพที่น่ายิ่งย่องมากๆ เพราะอาชีพนี้ เป็นผู้สร้างเอกลักษณ์ให้กับประเทศไทยเรา ทำให้เราได้มีข้าวกิน... บวกกับความขยันของพวกเขา ไม่อย่างงั้น เราคงจะไม่มีข้าวให้ได้ทานกันอีกต่อไป...


           ข้าวที่ได้ชื่อว่าเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ชาวนาที่ได้ฉายาว่า กระดูกสันหลังของชาติ และในหลวงที่ได้ชื่อว่า เป็นมหากษัตริย์นักพัฒนา แล้วคุณล่ะ...ทำอะไรเพื่อประเทศชาติแล้วหรือยัง....

Cr. NationTV

"คนไทยต้องปลูกข้าว" พระราชดำรัสพระบาสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





           "..ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชากรคนไทยไม่ยอม คนไทยต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทย จะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราต้องปลูก......" 

พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการโคกภูแล จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2536 




            พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแม้ว่าจะทรงให้ไว้เมื่อ 23 ปีที่ผ่านมา 

            ที่ ณ เวลานั้นพสกนิกรชาวไทยหาได้ล่วงรู้เลยไม่ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะความผันผวนของสถานการณ์ข้าวคนไทยต้องซื้อข้าวถูกอย่างในภาวะปัจจุบัน

             หรือแม้กระทั่งบางแห่งขาดแคลนข้าว ภาพของเกษตรกรต่างเข้าคิวยื้อแย่งเมล็ดพันธุ์ภาพของทุ่งนาผืนกว้างที่หาได้ว่างเว้นจากรวงข้าวไม่ 

             ...หากเพราะชาวนาไทยต้องเร่งปลูกข้าวประกอบกับวิกฤติอาหารทั่วโลก..... 










วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ทำไมต้องทำบุญกับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา...?

พระพุทธเจ้าตรัสในทักขิณาวิภังคสูตรไว้ว่า


"บุคคลให้ทานในสัตว์เดรัจฉานได้อานิสงส์ ๑๐๐ ชาติ 
ให้ทานในผู้ทุศีล พึงหวังผล ๑ พันชาติ 
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผล ๑ แสนชาติ 
ให้ทานในบุคคลผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
พึงหวังผลแสนโกฏิเท่า
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง 
พึงหวังผลจนนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้"



          ดังมีตัวอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ชัดเจน มีพราหมณ์ ผู้ยากไร้คนหนึ่งชื่อ อินทกะ เป็นคนมีศรัทธาแต่ไม่มีทรัพย์ วันหนึ่งเขาได้เห็นพระอนุรุทธะบิณฑบาตผ่าน หน้าบ้าน ด้วยจิตที่เลื่อมใสจึงได้ถวายข้าวทัพพีหนึ่ง ด้วยบุญนั้น เมื่อละสังขารไปแล้วได้ไปบังเกิดเป็นอินทกเทพบุตรผู้มีรัศมีกายที่รุ่งเรืองสว่างไสวยิ่งกว่าอังกุรเทพบุตร* นั้นอีก




          เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปประทับอยู่ ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เทวดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ พากันมานั่งประชุมเพื่อฟังธรรม ไม่มีเทพตนไหนที่จะมีรัศมีกายสว่างกว่า พระพุทธเจ้าเลย พุทธรัศมีนั้นสว่างไสวรุ่งโรจน์กว่ารัศมีใดๆ ของเทวดาทั้งหลาย เทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่ มีบุญมาก ก็จะได้นั่งอยู่แถวหน้า ส่วนผู้ที่บุญน้อยกว่าก็จะถอยร่นออกไปเรื่อยๆ

          สมัยนั้น อังกุรเทพบุตร* ซึ่งเคยนั่งอยู่ด้านหน้า ก็ถอยร่นไปตามกำลังบุญ นั่งอยู่ไกลถึง ๑๒ โยชน์ ส่วนอินทกเทพบุตรนั่งอยู่ที่เดิมใกล้กับพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามอังกุระว่า "อังกุระ เธอทำแถวเตาไฟยาว ๑๒ โยชน์ ให้ทานนานถึง ๑๐,๐๐๐ ปี บัดนี้เธอนั่งอยู่ไกลตั้ง ๑๒ โยชน์ซึ่งไกลกว่าเทพบุตร ทั้งหมด ไฉนเธอจึงนั่งอยู่ไกลนัก"



          อังกุรเทพบุตรกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มี พระภาคเจ้า ข้าพระองค์ได้บริจาคทานมากในสมัยที่เป็นมนุษย์ แต่เป็นทานที่ให้แก่มหาชนทั่วไป คือให้ทานในเวลาที่ปราศจากทักขิไณยบุคคล ส่วน อินทกเทพบุตรแม้ถวายทาน เพียงข้าวทัพพีเดียว แต่เพราะทำถูกทักขิไณยบุคคล จึงรุ่งเรืองกว่าข้าพเจ้า เหมือนดวงจันทร์รุ่งเรืองกว่าหมู่ดาวฉะนั้น"


ก็เพราะ ***ความต่างแห่งเนื้อนาบุญ***


มาดูความใจบุญของ"อังกุระ"
           อังกุระ..ขนทรัพย์มรดกที่มีอยู่ทั้งหมดออกให้ทาน ป่าวร้องว่า "ใครหิวก็เชิญมากินตามชอบใจ ใครกระหายก็จงมาดื่มตามชอบใจ" 
           แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ท่านเกิดในยุคสมัย ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ไม่มีเนื้อนาบุญแม้เพียงท่านเดียว แต่ท่าน ก็อุทิศตนให้กับการทำทานอย่างเต็มกำลัง
          อังกุระได้ให้อาหารแก่ชาวเมืองวันละ ๖๐,๐๐๐ เล่มเกวียนเป็นประจำ มีพ่อครัว ๓,๐๐๐ คน เด็กหนุ่ม ๖๐,๐๐๐ คน ต่างก็ประดับต่างหูอันวิจิตรไปด้วยเพชรนิลจินดา ช่วยกันผ่าฟืนสำหรับหุงอาหาร ทำแถวเตาไฟยาว ๑๒ โยชน์ พวกหญิงสาว ๑๖,๐๐๐ คน ช่วยกันบดเครื่องเทศสำหรับปรุงอาหาร แล้วยังมีหญิงสาวอีก ๑๖,๐๐๐ คน แต่งตัวสวยงามราว กับนางฟ้ายืนถือทัพพีคอยตักอาหาร ให้คนที่มาขอด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ฝ่ายอังกุระได้มายืนมอบสิ่งของต่างๆ ด้วยมือของตนเอง ทำไปก็ปีติเบิกบาน





              เราจะเห็นได้ว่า บางครั้งแม้เรามีกุศลศรัทธาอยากจะให้ทาน ทรัพย์ก็พร้อม ศรัทธาก็เต็มเปี่ยม แต่ถ้าไม่มีทักขิไณยบุคคล ผลบุญที่เกิดขึ้นก็เหมือนหว่านพืชลงในนาดอน ผลที่เกิดขึ้นได้ผลไม่เต็มที่สมกับที่ได้ทุ่มเทลงไป

              ดังนั้น การที่ได้มีโอกาสถวายทานกับทักขิไณยบุคคลนับเป็นมหากุศลที่ ยิ่งใหญ่ บุญที่เกิดขึ้นจะไปปรับปรุงกาย วาจา ใจของเราให้มีความบริสุทธิ์ผ่องใส ทำให้ถึงพร้อมด้วยสมบัติทั้ง ๓ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ

             หากมีโอกาสให้เลือกว่า ทำบุญกับใคร และต้องทำอย่างไรถึงจะได้บุญมาก ก็ต้องฉลาดในการเลือก เหมือนการลงทุนที่ได้กำไรมากเพราะฉลาดในการลงทุน

             ท่านผู้มีบุญทั้งหลาย... ขอให้ปลื้มปีติใจเถิดว่า เราคือ ผู้มีโชคที่สุด โอกาสแห่งการสร้างมหาทานบารมีมาถึงแล้วคือการทอดกฐินทั่วไทย..ช่วงออกพรรษา อย่าให้มีกฐินตกค้าง เราจะได้สร้างมหาทานบารมีที่ไม่ใช่จะบังเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ขอให้มั่นใจเถิดว่า...




              ***ผู้ให้ ไม่มีคำว่าอดอยากยากจน คนตระหนี่ที่ไม่ให้ทานต่างหาก ที่ยังต้องยากจนอยู่ มีแต่คนตระหนี่เท่านั้น ที่กลัวทรัพย์จะหมดเปลืองไป จึงไม่กล้าที่จะให้เพราะความกลัวจน เสียดายทรัพย์ จึงไม่ให้แก่ผู้ใด เมื่อไม่ให้ก็ยิ่งจน เพราะกิเลส คือ ความโลภ และความตระหนี่มาปิดกั้นสายสมบัติ เอาวิบัติมาตัดรอน ช่วงชิงเอาสมบัติไป อย่าให้ความตระหนี่...มาขวางสมบัติเราในภพนี้และทุกภพชาติเบื้องหน้า

เราจะต้องออกแบบชีวิตตัวเราเอง ...

ทอดกฐินทั่วไทย..
ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าบุญมากมายขนาดไหน




................................................
อ้างอิง
พระไตรปิฎก ทักขิณาวิภังคสูตร 
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html



Cr. Pinrat Nut Kansaard

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ที่มาของวัดต่างๆ บนเหรียญกษาปณ์ไทย


           รู้หรือไม่ว่าเหรียญแต่ละเหรียญของประเทศไทยนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนานเพียงใด ? คุณค่าในความงดงามที่หลายๆคนอาจมองข้ามไป ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวแค่นี้เอง



ประวัติความเป็นมาของเหรียญ

            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีการใช้หอยเบี้ยและพดด้วง ในการชำระเงิน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)  การค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศก็ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อค้าชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายมากขึ้น เงินพดด้วงทำด้วยมือจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในปี พ.ศ. 2399 ได้ทดลองทำเหรียญรูปกลมแบนอย่างสากล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ปรับระบบเงินตราเป็นระบบโดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 อันเป็นมาตราเงินตราไทยมาจนถึงปัจจุบัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยประทับลงบนเหรียญกษาปณ์

           ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ เริ่มจากเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกตราพระบรมรูป – ตราแผ่นดิน ใน พ.ศ. 2493 ผลิตเหรียญราคา 5 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2515 ผลิตเหรียญราคา 10 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2531 และได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก รวมทั้งมีการพัฒนาจัดทำเหรียญที่ระลึก ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน คือ

             1.เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 9 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ แต่ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี 6 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น

           2.เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญตทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา โดยข้อแตกต่างระหว่างเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกก็คือการวางลวดลายด้านหน้าและด้านหลัง โดนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนจะวางลวดลายแบบ American Turning ซึ่งจะต้องพลิกดูลวดลายด้านหลังในแนวดิ่ง สำหรับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกได้จัดวางลวดลายแบบ European Turning ซึ่งจะต้องพลิกในแนวนอนเพื่อดูลวดลายด้านหลัง

          3.เหรียญที่ระลึก (Medal) เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะ ไม่มีราคาหน้าเหรียญ เนื่องจากมิใช่เงินตราจึงไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย



           เป็นรูป “พระธาตุ วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน” อีกหนึ่งวัดสำคัญของล้านนา ภายในวัดมีการบรรจุพระบรมอัฐิของพระพุทธเจ้า (พระเกศาธาตุ) ซึ่งเดิมนั้นพื้นที่บริเวณนี้เป็นพระราชวังที่ประทับของกษัตริย์ราชวงศ์จามเทวี เมื่อได้เกิดนิมิตว่าบริเวณนี้มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ จึงมีการสร้างพระเจดีย์ทรงปราสาทครอบไว้ และได้ถวายเป็นพระอารามในภายหลัง พระธาตุหริภุญไชย เป็นหนึ่งในเจ็ดของพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในแถบภาคเหนือตอนบนเช่นกัน และเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีระกา (ไก่)


           เป็นรูป “องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม” ที่นับว่าเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยมีการสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อครั้งที่ได้ส่งสมณทูตเข้ามาเผยแผ่พระศาสนา
       
          สำหรับการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์นั้น เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ขณะที่ยังทรงผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ภายหลังจากที่ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว จึงโปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่หุ้มองค์เดิมไว้ พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ และมาแล้วเสร็จเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 โดยในรัชกาลต่อๆ มา ก็ยังมีการบูรณะในบริเวณต่างๆ เรื่อยมา 


            เป็นรูป “พระเจดีย์ วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร” เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปทรงสี่เหลี่ยม มีซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ส่วนที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ครอบองค์เดิมไว้ โดยทางด้านตะวันออกของเจดีย์ จะมีประตูทางเข้าสู่สถูปองค์เก่าที่อยู่ภายใน 


            เป็นรูป พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและชาวพุทธทั่วไป ตัวเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำหรือทรงโอคว่ำ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา มีความโดดเด่นอยู่ที่ยอดเจดีย์ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ พิธีที่นิยมปฏิบัติกันในช่วงวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชาของทุกปีก็คือ การแห่ผ้าขึ้นธาตุ ซึ่งจัดเป็นงานบุญประจำปี ที่มีผู้คนทั่วทุกสารทิศมาร่วมสร้างกุศลกัน โดยมีความเชื่อว่า หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุแล้วนั้น ไม่ว่าจะขอพรเรื่องใดก็จะสำเร็จได้ดังหวัง และความมหัศจรรย์ที่เป็นหนึ่งในอันซีนไทยแลนด์ด้วยก็คือ องค์พระบรมธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด


           เป็นรูป “พระบรมธาตุ วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่และดินแดนล้านนาของไทย และถือเป็นหนึ่งในเจ็ดของพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในแถบภาคเหนือตอนบนและเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีมะแม โดยพระบรมธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมมิกราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในภายหลังได้มีการบูรณะ และสร้างฉัตรไว้ทั้งสี่มุมของพระบรมธาตุ อันหมายถึงสัญลักษณ์ของความร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปในทั้ง 4 ทิศ


            เป็นรูป พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือพระศรีรัตนเจดีย์ ภายในวัดพระแก้ว ตั้งอยู่บนฐานไพที ทางทิศตะวันตก รูปแบบจำลองมาจากเจดีย์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ณ พระราชวังกรุงศรีอยุธยา มีความสูงประมาณ 40 เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากลังกา



            เป็นรูป พระบรมบรรพต วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร หรือที่รู้จักกันดีในนาม ภูเขาทอง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แต่มาแล้วเสร็จลงในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีรูปแบบเป็นพระเจดีย์แบบกลม (ทรงลังกา) บนยอดเขา เพื่อให้เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ของพระนคร ในภายหลังมีการบูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ.2509 โดยบุกระเบื้องโมเสกสีทองที่องค์พระเจดีย์ พร้อมกับมีการสร้างพระเจดีย์องค์เล็กๆ รายรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ทั้ง 4 ทิศ และภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สำหรับงานประเพณีที่สำคัญของวัดสระเกศฯ ก็คือ งานวัดภูเขาทอง ที่จะจัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี โดยจะมีการห่มผ้าแดง งานสมโภชน์องค์พระบรมสารีริกธาตุ และเทศกาลงานวัดในคราวเดียวกัน


             เป็นรูป พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามที่นับว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีเอกลักษณ์ ตรงที่ใช้วัสดุแบบตะวันตก มาสร้างสถาปัตยกรรมแบบไทย จนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย สร้างขึ้นจากหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์จากประเทศอิตาลี โดยสร้างเป็นทรงจตุรมุข หลังคาซ้อน 4 ชั้น บริเวณหน้าต่างของพระอุโบสถมีการใช้กระจกและมีการเขียนสีลงบนกระจก ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างลงตัว ภายในประดิษฐานพระพุทธชินราช (จำลอง) เป็นพระประธาน อยู่ภายใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารของรัชกาลที่ 5

  
           เป็นรูป พระปรางค์ วัดอรุณราชวรารามโดยวัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา สำหรับองค์พระปรางค์นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระปรางค์ที่มีอยู่เดิม จนมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปรางค์ และให้มีการจัดงานฉลองขึ้น โดยทรงสถาปนาวัดอรุณฯ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกอันดับหนึ่ง และเสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นครั้งแรก


ขอบคุณที่มา Pantip, Facebook, Manager 

Timeline..รัชกาลที่9 ตั้งแต่ประสูติ และเหตุการณ์สำคัญในยุคนั้น ๆ

  สุดยอด...ไทม์ไลน์  
  7 รอบ 84 ปี ของในหลวงรัชกาลที่9  

          หรือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร  

           ทำได้ครบถ้วนทุกปีควบคู่ไปกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดในโลกยุคนั้นๆ 

           เก็บเป็นตำราได้เลยค่ะ 


รอบที่ 1 พ.ศ. 2470 - 2482


รอบที่ 2 พ.ศ. 2483 - 2494


รอบที่ 3 พ.ศ. 2495 - 2506


รอบที่ 4 พ.ศ. 2507 - 2518


รอบที่ 5 พ.ศ. 2519 - 2530


รอบที่ 6 พ.ศ. 2531 - 2542


รอบที่ 7 พ.ศ. 2543 - 2554

คลิ๊กอ่านได้ แยกเป็นรอบ และสามารถกดรายละเอียดแต่ละปี และดูรูปขนาดใหญ่ขึ้น

ขอขอบคุณผู้จัดทำ 

http://www.supremeartist.org/timeline/timeline/index.php

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วันนี้ในอดีต คือวันที่ในหลวง ร.9 เสด็จออกทรงพระผนวช

วันนี้เมื่อ 60 ปีที่แล้ว ในหลวง รัชกาลที่ 9 
เสด็จออกทรงพระผนวช




สำนักราชเลขาธิการ เผยพระบรมฉายาลักษณ์ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช เมื่อ 22 ต.ค. 2499 หรือ 60 ปีที่แล้ว ...

เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 59 เฟซบุ๊ก Information Division of OHM ซึ่งเป็นแฟนเพจทางการของสำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมมหาราชวัง ได้เผยพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช เมื่อปี พ.ศ.2499 โดยมีข้อความทั้งหมดว่า

"วันนี้ในอดีต ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทรงพระผนวช

ทรงประกอบพระราชพิธีตามขัตติยราชประเพณี ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง

ในพระบรมราชจักรีวงศ์ มีพระมหากษัตริย์เพียง ๒ พระองค์เท่านั้น ที่ทรงพระผนวชเมื่อเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติแล้ว นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

มาแล้ว!! หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับร.9 ทั้งฉบับ

           จากเหตุการณ์การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ถือเป็นความสูญเสีย และความเศร้าโศกเสียใจของปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ยากที่จะหากษัตริย์ในโลกพระองค์ใด ทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรอย่างเช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 


หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับ ร.9  ทั้งฉบับ
จัดพิมพ์ 27 หน้า

พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
อันหาที่สุดมิได้

หน้าที่ 1

หน้าที่ 2

หน้าที่ 3

หน้าที่ 4

หน้าที่ 5

หน้าที่ 6

หน้าที่ 7

หน้าที่ 8

หน้าที่ 9

หน้าที่ 10

หน้าที่ 11

หน้าที่ 12

หน้าที่ 13

หน้าที่ 14

หน้าที่ 15

หน้าที่ 16

หน้าที่ 17

หน้าที่ 18

หน้าที่ 19

หน้าที่ 20

หน้าที่ 21

หน้าที่ 22

หน้าที่ 23

หน้าที่ 24

หน้าที่ 25

หน้าที่ 26

หน้าที่ 27