วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ชาวพุทธตอกกลับไพศาล อย่าทำลายพุทธศาสนา ดึงฟ้าสูงให้ต่ำ

คณะสงฆ์ไทยปกครองด้วย 
พระธรรมวินัย กฎหมาย 
และกฎมหาเถรสมาคม


 "มส.มีมติแต่งตั้งพระราชปริยัติสุนทรเป็นคณะจังหวัดฉะเชิงเทราชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎมหาเถรสมาคม"
............................................

กรณีมหาเถรสมาคมมีมติแต่งตั้งพระราชปริยัติสุนทร เป็นเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา (ฝ่ายมหานิกาย) ดำเนินถูกต้องตามกฎมหาเถรสมคม แต่กลับถูกพ.ต.ท.พงศ์พร พราหมเสน่ห์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ในฐานะเลขาธิการมส. ทำหนังสือกราบทูล สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อให้ทรงวินิจฉัยและขอโปรดมีพระบัญชาทบทวนมติดังกล่าว โดย พศ.อ้างว่ามีผู้ยื่นหนังสือถึง พศ. ขอให้พิจารณาอธิกรณ์พระราชปริยัติสุนทร เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหลายประการ


.......................
---อธิกรณ์จบไปแล้ว---

" พระธรรมวินัยระบุว่าอธิกรณ์ของพระที่จบไปแล้วจะรื้อฟื้นอีกไม่ได้ พระรูปใดรื้อฟื้นต้องอาบัติ !!!! "
.......................


ต่อมาพระพรหมเมธี กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะโฆษกมหาเถรสมาคม (มส.) แถลงว่า กรณีอธิกรณ์ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามทั้ง 7 รูป (พระราชปริยัติสุนทร เป็น 1 ใน 7 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขณะนั้น)   จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ ยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) มรณภาพ ที่ประชุมมส. จึงตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ท่านจึงเสนอ มส. คืนตำแหน่งแก่พระที่ถูกสอบทั้งหมด พระทั้งหมดจึงพ้นอธิกรณ์ ถือว่าไม่มีความผิด

" พระธรรมวินัยระบุว่าอธิกรณ์ของพระที่จบไปแล้วจะรื้อฟื้นอีกไม่ได้ พระรูปใดรื้อฟื้นต้องอาบัติ !!!! "
       


ดังนั้นการที่ มส.มีมติแต่งตั้งพระราชปริยัติสุนทรเป็นคณะจังหวัดฉะเชิงเทราจึงชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎมหาเถรสมาคม




แต่วันที่ 29 ก.ค.60 กลับมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Paisal Puechmongkol โพสต์ข้อความลักษณะให้คนอ่านเข้าใจว่า มส.อาจใช้มติเสียงข้างมากกลับพระวินิจฉัย โดยอ้างหน้าตาเฉยว่าเรื่องแบบนี้เคยเกิดกับสมเด็จพระญานสังวรณ์มาแล้วจากกรณีพระลิขิตกรณีพระธัมมชโย  แถมยังขู่ว่าพี่น้องทุกหมู่เหล่าต้องไม่ยอมให้ใครยึดอำนาจเหมือนคราวก่อน

ตาม พรบ.สงฆ์ฉบับปัจจุบัน มาตรา 8 ระบุว่า 

             “สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายก  ทรงบัญชาการคณะสงฆ์  และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช  โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย  พระธรรมวินัย  และกฎมหาเถรสมาคม”



"มส.มีมติแล้วว่าพระธัมมชโยไม่ผิด"
............................................

           ส่วนเรื่องพระลิขิตกรณีพระธัมมชโย มส.มีมติแล้วว่าพระธัมมชโยไม่ผิด ซึ่ง พศ.และ มส.ยืนยันว่า ใส่ใจในพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชมาตลอด แต่ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย  พระธรรมวินัย  และกฎมหาเถรสมาคม



หากผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Paisal Puechmongkol  ดื้อดึงไม่สนพระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎมหาเถรสมคม อาจสุ่มเสี่ยงให้พระสังฆราชทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง อันจะเป็นการดึงฟ้าสูงให้ต่ำ

         โปรดอย่าเอาพฤติกรรมแบบพวกคลั่งการเมือง เอากฎหมู่มาเหนือกฎหมาย ไม่ยึดหลักการแต่ยึดหลักกู มาทำลายพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของพวกพ้องตนเองอีกเลย


      ช่วยนำข้อความนี้ส่งต่อยังชาวพุทธให้เข้าใจหลักการ และอย่าหลงเชื่อข้อความในเฟจบุคของ Paisal Puechmongkol ซึ่งอาจนำมาให้เกิดการแตกแยกของคณะสงฆ์และชาวพุทธ !!!!!!!!!!!

ที่มา https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/1363302433768425

อ่านเพิ่มเติมข้อมูลมีประโยชน์


ตื่นเถิดชาวพุทธ กรณีพระลิขิต

มติ มส.พระธัมมชโย ไม่ปาราชิก ไม่ขัดต่อพระลิขิต 


มติ มส. ปิดมหากาพย์พระลิขิต


วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อ่านบทความนี้ จะกระจ่าง เงินทอนวัด กับ บาตรพระพุทธ

เป็นประเด็นมาร่วมเดือนแล้ว สำหรับศัพท์ใหม่อย่าง “เงินทอนวัด” ที่คนสมัยก่อนอาจไม่รู้จัก แต่ยุคนี้กลายเป็นคำฮิตติดหูขึ้นมา ทำเอาคนได้ยินคิดว่า เจ้าอาวาสวัดบางแห่งรวย แถมอาจติดเครดิตเป็นมาเฟียอีกต่างหาก

 แล้วยังอาจจะมีเอี่ยวแบ่งกันกินกันใช้กับเจ้าหน้าที่สำนักที่ได้ชื่อว่าเป็นเด็กวัดของพระพุทธศาสนาอีกด้วย ก็ไม่ทราบว่า ผู้ที่จุดไฟเรื่องนี้จนลุกพรึบขึ้นมามีจุดประสงค์อะไร ?

แต่สิ่งที่เกิดตามมาจากวาทกรรมดังกล่าวก็คือ วิกฤติศรัทธาที่อาจทำให้ชาวพุทธและไม่ใช่ชาวพุทธเสียโอกาสในการที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อดับทุกข์ทางใจในชีวิต!

จะว่าไป “เงินทอนวัด” ที่เป็นประเด็นขึ้นมา อาจสืบเนื่องมาจากเงินอุดหนุนวัดจากสำนักพระพุทธศาสนา บวกกับการแก้พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่ให้สำนักพระพุทธฯ 

มีอำนาจตรวจสอบบัญชีวัดและแจ้งความเอาผิดได้ จึงทำให้หน่วยงานของรัฐที่ใหญ่กว่า สำนักพุทธฯ ต้องการกางบัญชีวัดออกดูว่าวัดใดมีเงินมากน้อยเพียงใด ที่มาของเงินจากไหนบ้าง นำไปใช้อะไร

หากมองวิกฤติให้เป็นโอกาส นี่ก็เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ทำให้วัดตื่นตัวในเรื่องกิจการของสงฆ์ให้เปิดเผย ซึ่งปกติก็เปิดเผยอยู่แล้วมากมายหลายวัดและพระไม่ได้มีเงินไว้กับตัวหรือติดวัด 

แต่ท่านเป็นเพียงสะพานที่นำญาติโยมไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยอาศัยปัจจัยที่ญาติโยมทำบุญมาคนละเล็กละน้อยแปรเปลี่ยนเป็นอาสนะ กุฏิ ที่พักอาศัย ห้องน้ำ ศาลาฟังธรรม ค่าน้ำ ค่าไฟ และการซ่อมบำรุงวัดที่ต้องมีการรักษาดูแลเป็นปกติวิสัย

หากมองภาพรวมของวัดประมาณ ๔๐,๐๐๐ กว่าวัดทั่วประเทศ กับตัวเลขที่วัดได้รับงบประมาณจากสำนักพระพุทธฯ ปีหนึ่งๆ ประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งตัวเลขกลมๆ ที่นำมาอุดหนุนวัดประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งอาจมีเพียงประมาณ ๔,๐๐๐ วัด ที่จะได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักพระพุทธฯ

ยิ่งเมื่อมีการเฉลี่ยลงไปในสำนักพระพุทธฯ ระดับจังหวัด วัดที่ได้รับเงินอุดหนุนก็จะถูกเฉลี่ยไปโดยจำนวนเงินที่ทอนลงมาเรื่อยๆ ก็จะเหลือเงินอุดหนุนประมาณวัดละ ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทเท่านั้น แล้ววัดที่อยู่ได้โดยไม่ต้องมีเงินอุดหนุนจากอีกประมาณ ๓๕,๐๐๐ วัด มาจากไหน

“ศรัทธาชาวบ้าน” คือ คำตอบ!

ไม่ว่าจะเป็นวันนี้ หรือกี่ร้อยปีก่อน แม้ถอยไปไกลกว่านั้นกว่าสองพันปี ก็ยังคงเป็นคำตอบเดียวกัน ที่ทำให้คนรุ่นเราได้อานิสงส์ความร่มเย็นจากบวรพระพุทธศาสนาอย่างครบถ้วน ไม่แตกต่างจากสมัยพุทธกาลเลยแม้แต่น้อย

และโดยอาศัยศรัทธาชาวบ้านนี่เองที่บำรุงหล่อเลี้ยงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปได้อีกยืนยาว

การหล่อเลี้ยงพระเณรในพระพุทธศาสนาจากศรัทธาชาวบ้านมีกุศโลบายมากมาย หากย้อนกลับไปดูวัดในต่างจังหวัด วันพระจะเห็นที่ศาลาโรงฉัน จะมีบาตรหนึ่งใบเรียกว่า “บาตรพระพุทธ” เป็นบาตรเปล่าที่ตั้งไว้เพื่อให้ญาติโยมใส่ปัจจัยคือ “เงิน” 

ลงไปเพื่อให้วัด พระ ใช้จ่ายในเรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในวัด อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซ่อมบำรุงเสนาสนะ เป็นต้น ซึ่งคนมาทำบุญที่วัดในวันพระก็จะทำบุญคนละบาท สิบบาท 

รวบรวมได้ในวันพระร้อยสองร้อยบาทก็เพียงพอที่จะใช้จ่ายในส่วนดังกล่าว ซึ่งไม่เคยเป็นภาระของรัฐในการที่จะต้องมาดูแลรายละเอียดของวัด แต่กลับเป็นฐานที่สร้างความมั่นคงให้พระพุทธศาสนาเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้มีทุกข์ให้หลายทุกข์ได้สืบต่อมา 

และยังเกื้อกูลให้พระเณรได้บวชเรียนอย่างไม่ขาดสายมาจนถึงทุกวันนี้ จะเรียกว่า นี่คือความอัศจรรย์ในภูมิปัญญาของคนโบราณยิ่งนัก