เป็นประเด็นมาร่วมเดือนแล้ว สำหรับศัพท์ใหม่อย่าง “เงินทอนวัด” ที่คนสมัยก่อนอาจไม่รู้จัก แต่ยุคนี้กลายเป็นคำฮิตติดหูขึ้นมา ทำเอาคนได้ยินคิดว่า เจ้าอาวาสวัดบางแห่งรวย แถมอาจติดเครดิตเป็นมาเฟียอีกต่างหาก
แล้วยังอาจจะมีเอี่ยวแบ่งกันกินกันใช้กับเจ้าหน้าที่สำนักที่ได้ชื่อว่าเป็นเด็กวัดของพระพุทธศาสนาอีกด้วย ก็ไม่ทราบว่า ผู้ที่จุดไฟเรื่องนี้จนลุกพรึบขึ้นมามีจุดประสงค์อะไร ?
แต่สิ่งที่เกิดตามมาจากวาทกรรมดังกล่าวก็คือ วิกฤติศรัทธาที่อาจทำให้ชาวพุทธและไม่ใช่ชาวพุทธเสียโอกาสในการที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อดับทุกข์ทางใจในชีวิต!
จะว่าไป “เงินทอนวัด” ที่เป็นประเด็นขึ้นมา อาจสืบเนื่องมาจากเงินอุดหนุนวัดจากสำนักพระพุทธศาสนา บวกกับการแก้พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่ให้สำนักพระพุทธฯ
มีอำนาจตรวจสอบบัญชีวัดและแจ้งความเอาผิดได้ จึงทำให้หน่วยงานของรัฐที่ใหญ่กว่า สำนักพุทธฯ ต้องการกางบัญชีวัดออกดูว่าวัดใดมีเงินมากน้อยเพียงใด ที่มาของเงินจากไหนบ้าง นำไปใช้อะไร
หากมองวิกฤติให้เป็นโอกาส นี่ก็เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ทำให้วัดตื่นตัวในเรื่องกิจการของสงฆ์ให้เปิดเผย ซึ่งปกติก็เปิดเผยอยู่แล้วมากมายหลายวัดและพระไม่ได้มีเงินไว้กับตัวหรือติดวัด
แต่ท่านเป็นเพียงสะพานที่นำญาติโยมไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยอาศัยปัจจัยที่ญาติโยมทำบุญมาคนละเล็กละน้อยแปรเปลี่ยนเป็นอาสนะ กุฏิ ที่พักอาศัย ห้องน้ำ ศาลาฟังธรรม ค่าน้ำ ค่าไฟ และการซ่อมบำรุงวัดที่ต้องมีการรักษาดูแลเป็นปกติวิสัย
หากมองภาพรวมของวัดประมาณ ๔๐,๐๐๐ กว่าวัดทั่วประเทศ กับตัวเลขที่วัดได้รับงบประมาณจากสำนักพระพุทธฯ ปีหนึ่งๆ ประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งตัวเลขกลมๆ ที่นำมาอุดหนุนวัดประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งอาจมีเพียงประมาณ ๔,๐๐๐ วัด ที่จะได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักพระพุทธฯ
ยิ่งเมื่อมีการเฉลี่ยลงไปในสำนักพระพุทธฯ ระดับจังหวัด วัดที่ได้รับเงินอุดหนุนก็จะถูกเฉลี่ยไปโดยจำนวนเงินที่ทอนลงมาเรื่อยๆ ก็จะเหลือเงินอุดหนุนประมาณวัดละ ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทเท่านั้น แล้ววัดที่อยู่ได้โดยไม่ต้องมีเงินอุดหนุนจากอีกประมาณ ๓๕,๐๐๐ วัด มาจากไหน
“ศรัทธาชาวบ้าน” คือ คำตอบ!
ไม่ว่าจะเป็นวันนี้ หรือกี่ร้อยปีก่อน แม้ถอยไปไกลกว่านั้นกว่าสองพันปี ก็ยังคงเป็นคำตอบเดียวกัน ที่ทำให้คนรุ่นเราได้อานิสงส์ความร่มเย็นจากบวรพระพุทธศาสนาอย่างครบถ้วน ไม่แตกต่างจากสมัยพุทธกาลเลยแม้แต่น้อย
และโดยอาศัยศรัทธาชาวบ้านนี่เองที่บำรุงหล่อเลี้ยงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปได้อีกยืนยาว
การหล่อเลี้ยงพระเณรในพระพุทธศาสนาจากศรัทธาชาวบ้านมีกุศโลบายมากมาย หากย้อนกลับไปดูวัดในต่างจังหวัด วันพระจะเห็นที่ศาลาโรงฉัน จะมีบาตรหนึ่งใบเรียกว่า “บาตรพระพุทธ” เป็นบาตรเปล่าที่ตั้งไว้เพื่อให้ญาติโยมใส่ปัจจัยคือ “เงิน”
ลงไปเพื่อให้วัด พระ ใช้จ่ายในเรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในวัด อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซ่อมบำรุงเสนาสนะ เป็นต้น ซึ่งคนมาทำบุญที่วัดในวันพระก็จะทำบุญคนละบาท สิบบาท
รวบรวมได้ในวันพระร้อยสองร้อยบาทก็เพียงพอที่จะใช้จ่ายในส่วนดังกล่าว ซึ่งไม่เคยเป็นภาระของรัฐในการที่จะต้องมาดูแลรายละเอียดของวัด แต่กลับเป็นฐานที่สร้างความมั่นคงให้พระพุทธศาสนาเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้มีทุกข์ให้หลายทุกข์ได้สืบต่อมา
และยังเกื้อกูลให้พระเณรได้บวชเรียนอย่างไม่ขาดสายมาจนถึงทุกวันนี้ จะเรียกว่า นี่คือความอัศจรรย์ในภูมิปัญญาของคนโบราณยิ่งนัก
แล้วยังอาจจะมีเอี่ยวแบ่งกันกินกันใช้กับเจ้าหน้าที่สำนักที่ได้ชื่อว่าเป็นเด็กวัดของพระพุทธศาสนาอีกด้วย ก็ไม่ทราบว่า ผู้ที่จุดไฟเรื่องนี้จนลุกพรึบขึ้นมามีจุดประสงค์อะไร ?
แต่สิ่งที่เกิดตามมาจากวาทกรรมดังกล่าวก็คือ วิกฤติศรัทธาที่อาจทำให้ชาวพุทธและไม่ใช่ชาวพุทธเสียโอกาสในการที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อดับทุกข์ทางใจในชีวิต!
จะว่าไป “เงินทอนวัด” ที่เป็นประเด็นขึ้นมา อาจสืบเนื่องมาจากเงินอุดหนุนวัดจากสำนักพระพุทธศาสนา บวกกับการแก้พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่ให้สำนักพระพุทธฯ
มีอำนาจตรวจสอบบัญชีวัดและแจ้งความเอาผิดได้ จึงทำให้หน่วยงานของรัฐที่ใหญ่กว่า สำนักพุทธฯ ต้องการกางบัญชีวัดออกดูว่าวัดใดมีเงินมากน้อยเพียงใด ที่มาของเงินจากไหนบ้าง นำไปใช้อะไร
หากมองวิกฤติให้เป็นโอกาส นี่ก็เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ทำให้วัดตื่นตัวในเรื่องกิจการของสงฆ์ให้เปิดเผย ซึ่งปกติก็เปิดเผยอยู่แล้วมากมายหลายวัดและพระไม่ได้มีเงินไว้กับตัวหรือติดวัด
แต่ท่านเป็นเพียงสะพานที่นำญาติโยมไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยอาศัยปัจจัยที่ญาติโยมทำบุญมาคนละเล็กละน้อยแปรเปลี่ยนเป็นอาสนะ กุฏิ ที่พักอาศัย ห้องน้ำ ศาลาฟังธรรม ค่าน้ำ ค่าไฟ และการซ่อมบำรุงวัดที่ต้องมีการรักษาดูแลเป็นปกติวิสัย
หากมองภาพรวมของวัดประมาณ ๔๐,๐๐๐ กว่าวัดทั่วประเทศ กับตัวเลขที่วัดได้รับงบประมาณจากสำนักพระพุทธฯ ปีหนึ่งๆ ประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งตัวเลขกลมๆ ที่นำมาอุดหนุนวัดประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งอาจมีเพียงประมาณ ๔,๐๐๐ วัด ที่จะได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักพระพุทธฯ
ยิ่งเมื่อมีการเฉลี่ยลงไปในสำนักพระพุทธฯ ระดับจังหวัด วัดที่ได้รับเงินอุดหนุนก็จะถูกเฉลี่ยไปโดยจำนวนเงินที่ทอนลงมาเรื่อยๆ ก็จะเหลือเงินอุดหนุนประมาณวัดละ ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทเท่านั้น แล้ววัดที่อยู่ได้โดยไม่ต้องมีเงินอุดหนุนจากอีกประมาณ ๓๕,๐๐๐ วัด มาจากไหน
“ศรัทธาชาวบ้าน” คือ คำตอบ!
ไม่ว่าจะเป็นวันนี้ หรือกี่ร้อยปีก่อน แม้ถอยไปไกลกว่านั้นกว่าสองพันปี ก็ยังคงเป็นคำตอบเดียวกัน ที่ทำให้คนรุ่นเราได้อานิสงส์ความร่มเย็นจากบวรพระพุทธศาสนาอย่างครบถ้วน ไม่แตกต่างจากสมัยพุทธกาลเลยแม้แต่น้อย
และโดยอาศัยศรัทธาชาวบ้านนี่เองที่บำรุงหล่อเลี้ยงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปได้อีกยืนยาว
การหล่อเลี้ยงพระเณรในพระพุทธศาสนาจากศรัทธาชาวบ้านมีกุศโลบายมากมาย หากย้อนกลับไปดูวัดในต่างจังหวัด วันพระจะเห็นที่ศาลาโรงฉัน จะมีบาตรหนึ่งใบเรียกว่า “บาตรพระพุทธ” เป็นบาตรเปล่าที่ตั้งไว้เพื่อให้ญาติโยมใส่ปัจจัยคือ “เงิน”
ลงไปเพื่อให้วัด พระ ใช้จ่ายในเรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในวัด อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซ่อมบำรุงเสนาสนะ เป็นต้น ซึ่งคนมาทำบุญที่วัดในวันพระก็จะทำบุญคนละบาท สิบบาท
รวบรวมได้ในวันพระร้อยสองร้อยบาทก็เพียงพอที่จะใช้จ่ายในส่วนดังกล่าว ซึ่งไม่เคยเป็นภาระของรัฐในการที่จะต้องมาดูแลรายละเอียดของวัด แต่กลับเป็นฐานที่สร้างความมั่นคงให้พระพุทธศาสนาเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้มีทุกข์ให้หลายทุกข์ได้สืบต่อมา
และยังเกื้อกูลให้พระเณรได้บวชเรียนอย่างไม่ขาดสายมาจนถึงทุกวันนี้ จะเรียกว่า นี่คือความอัศจรรย์ในภูมิปัญญาของคนโบราณยิ่งนัก
อ่านบทความนี้ จะกระจ่าง เงินทอนวัด กับ บาตรพระพุทธ
4/
5
Oleh
ICHICO