เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์)
......................................
ภารกิจหลักของหลวงพี่ในช่วงแรกนี้ก็คือการจัดเตรียมสถานที่เพื่อรองรับการบวช และการออกชวนผู้มีบุญมาบวช
เนื่องจากหลวงพี่ไม่มีความรู้เรื่องการก่อสร้างเลย แถมงบประมาณก็จำกัด อาคารโรงนอนธรรมทายาทที่สร้างขึ้นจึงไม่มีแบบ มันมีขนาดประมาณ 5x30 เมตร มีที่นอนสองด้าน เอาเท้าหันเข้าหากัน ฝาผนังทำจากผ้าพลาสติกกรองแสงหรือที่เรียกว่าซาแลน (ไม่รู้ที่มาของคำนี้จริงๆว่ามาจากภาษาอังกฤษหรือเปล่า) ตรงกลางเว้นไว้เป็นทางเดิน ดูคล้ายๆที่พักคนงานตามไซท์ก่อสร้าง แต่ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันทำจนเสร็จ อยู่ในสภาพที่ ”พักได้” พื้นก็เอาไม้กระดานวางไว้บนตงเฉยๆไม่ได้ตอกตะปู ถ้าใครเดินลงเท้าหนักๆหน่อยจะสะเทือนไปทั้งหลัง หลังคามุงใบตองตึงและเตี้ยมาก เวลาคนสูงๆเดินต้องก้มหัวหลบคาน ส่วนห้องน้ำนั้นมีชาวบ้านคนหนึ่งทักว่ามันเป็นหน้าวัดไม่ควรมี หลวงพี่จึงไม่ได้สร้างตรงใกล้ๆโรงนอนนั้น แต่มาสร้างบริเวณห้องน้ำเดิมท้ายศาลาใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 6 ห้อง และสร้างบ่อปูนขนาดประมาณ 2.5 x 4 เมตรไว้ยืนอาบน้ำกัน ถ้าจำไม่ผิดใช้ใต้ศาลาใหญ่เป็นที่ตากจีวรในร่มถ้ามีฝนตก การเตรียมสถานที่ไว้รองรับธรรมทายาทก็ถือว่าเรียบร้อยในระดับหนึ่ง
เนื่องจากการอบรมพระจำนวนมากต้องใช้พี่เลี้ยงหลายรูป ทางวัดจึงมีนโยบายให้จัดบวชพระที่จะมาทำหน้าที่พี่เลี้ยงเป็นการเฉพาะ หลวงพี่จึงให้ปรับกุฏิไฟไหม้มาใช้ วิธีการก็ง่ายมาก รื้อชั้นสองที่โดนไฟไหม้ออก ส่วนด้านล่างเป็นโครงสร้างก่ออิฐฉาบปูนก็ให้คงไว้ แล้วสร้างหลังคามุงด้วยใบตองตึง ก็เป็นอันว่ามีที่พักให้ทีมพระพี่เลี้ยงแล้ว ส่วนอาคารเอนกประสงค์นั้นปรับเป็นสำนักงาน และหลวงพี่ก็พักอยู่ในนั้นด้วย กลางคืนจะจำวัตรก็เอาเบาะ หมอน ผ้าห่มออกมาจากตู้ กางมุ้งครอบเข้าที่หน้าโต๊ะทำงาน ตื่นตีสี่ครึ่งก็เก็บเครื่องนอนเข้าตู้ ทำอย่างนี้อยู่ห้าปี ไม่มีงบและเวลาสร้างที่พักส่วนตัว
เนื่องจากโยมพ่อเก่งเรื่องเครื่องยนต์กลไกอยู่แล้ว เมื่อท่านย้ายกลับมาจากทองผาภูมิ ท่านจึงให้หลวงพี่เรียนในสิ่งที่ท่านไม่ชำนาญ ท่านส่งให้หลวงพี่เรียนซ่อมวิทยุโทรทัศน์ช่วงวันเสาร์อาทิตย์ตอนเรียนมัธยม และเรียนไฟฟ้ากำลังตอนเข้าเรียนช่างกล
ความรู้เรื่องไฟฟ้าและอีเลคทรอนิคส์ที่ .. พ่อให้มา .. นี่แหละ หลวงพี่ได้เอามาใช้ตลอดชีวิต และนึกไม่ถึงเลย ยิ่งบวชเป็นพระไปอยู่อุ้มผางแล้วได้ใช้คุ้มเลย ..
พร้อมๆกันไปกับภารกิจอื่นๆนั้นหลวงพี่ก็ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมากกับเรื่อง ไฟฟ้า ประปาและโทรศัพท์
แรกๆที่ไปอยู่เขาวงพระจันทร์นั้น เวลาจะใช้อินเตอร์เน็ตต้องให้สารถีขับรถจากแม่จันย้อนกลับไปทางอุ้มผาง 10 กิโลเมตร จะถึงจุดที่สามารถรับคลื่นโทรศัพท์ได้ หรือไม่ก็ต้องเดินขึ้นดอยพระบาทแต่ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงเพราะตอนนั้นไม่มีทางรถขึ้นไป แม้ส่วนหนึ่งก็ชอบที่ไม่มีโทรศัพท์เพราะไม่ค่อยมีเรื่องกวนใจ แต่เพราะต้องติดต่อประสานงาน ดาวน์โหลดข้อมูลและส่งรายงานบ่อยๆ หลวงพี่จึงไปติดต่อองค์การโทรศัพท์ขอติดตั้งระบบโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม นอกจากค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ต้องวางมัดจำไว้แล้ว หลวงพี่ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละสามพันบาท แถมชุดโทรศัพท์ดาวเทียมนี้ก็ต้องมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง จึงมาถึงโจทย์ข้อต่อไปคือเรื่องของไฟฟ้า
ชาวบ้านเขามีโซล่าเซลล์กันบ้านละแผงจากโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกระทรวงพลังงาน ว่ากันว่าวันไหนแดดดีๆจะมีไฟพอดูละครหลังข่าวได้ และมีชุดแผงโซล่าเซลล์พร้อมแบตเตอรี่อย่างดีประจำหมู่บ้านตรงข้ามกับสำนักสงฆ์เป็นของสาธารณะ เพื่อชาวบ้านจะได้เอาแบตมาชาร์จ แต่เนื่องจากเป็นของส่วนกลางขาดคนรับผิดชอบและขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง ตอนหลวงพี่ไปถึงชุดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ประจำหมู่บ้านราคาแพงนี้ก็อยู่ในสภาพที่ใช้งานแทบไม่ได้แล้ว เพราะไม่มีน้ำกลั่นในแบตเตอรี่เลยสักลูกเดียว น่าเสียดายแบตเตอรี่อย่างดีที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ
หลวงพี่ลองคำนวณความต้องการการใช้ไฟฟ้าภายในวัด แล้วติดต่อบริษัทขายโซล่าเซลล์ให้ทำใบเสนอราคามา ได้เห็นราคาแล้วหลวงพี่พับโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในวัดทันที
.................................
หลวงพี่เริ่มด้วยการขอยืมเครื่องปั่นไฟจากสาธารณสุขตำบล ใช้ปั่นไฟตอนทำวัตรเช้าและเย็นซึ่งหลวงพี่กระจายเสียงจากลำโพงบนภูเขาไปทั่วหมู่บ้านด้วย ตอนขึ้นไปติดตั้งลำโพงบนยอดเขา หลวงพี่ต้องขึ้นไปเองเพื่อเลือกตำแหน่งติดตั้งและต่อสายลำโพง การขึ้นไปบนนั้นน่าหวาดเสียวมากทีเดียว เพราะมันเป็นหน้าผาชันดิ่ง 90 องศา ต้องอาศัยเกาะต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นไป มีอยู่จุดหนึ่งเมื่อจะข้ามจากต้นไม้ไปที่ภูเขา ต้องปล่อยมือจากกิ่งไม้ก่อน แล้วก้าวข้ามอากาศไปถึงก้อนหินจึงจะขึ้นไปยอดภูเขาได้ แต่เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว จะเห็นวิวหมู่บ้านท้องนาป่าเขาสวยงามทีเดียว ข้างบนนี้ชาวบ้านไม่ยอมให้ผู้หญิงขึ้นไปเด็ดขาด
ระบบกระจายเสียงบนยอดเขาที่หลวงพี่ติดตั้งไว้นี้ ยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ทางการมีเรื่องราวอะไรที่จะประกาศถึงชาวบ้านก็อาศัยเครื่องเสียงของเขาวงพระจันทร์นี่แหละเป็นหลัก หลวงพี่พยายามปลูกฝังนิสัยตรงต่อเวลาให้ทุกคนในวัด การตีระฆังต้องตรงเวลาเป๊ะ ระฆังปลุกตอนเช้าคือตีสี่ครึ่ง ซึ่งในฤดูหนาวอุณหภูมิบางเช้าต่ำกว่าสิบองศาก็ไม่เคยว่างเว้น หลวงพี่ให้นโยบายคนในวัดว่า ต้องให้ชาวบ้านได้ยินเสียงสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นทุกวันและตรงเวลา คือได้ยินเสียงพระสวดมนต์ทำวัตรเช้าก็มั่นใจได้เลยว่าตีห้าพอดี ทำวัตรเย็นก็หกโมงครึ่งพอดีเหมือนกัน
หลวงพี่เปิดเครื่องปั่นไฟจนจบช่วงที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยท่านลงสอน แต่เสียงเครื่องปั่นไฟมันดังมาก เลยต้องเอามันลงไปไว้ในถ้ำเล็กๆใต้บันใดที่เดินขึ้นหอระฆัง มันเป็นเครื่องแบบมือหมุนสตาร์ท จำไม่ได้แล้วว่าตอนนั้นใครเป็นคนติดเครื่องแต่ตอนสามทุ่มให้น้องอาสาสมัครผู้หญิงเป็นคนไปดับ .. น้องก็ใจเด็ดเหมือนกันไปดับเครื่องในถ้ำมืดๆคนเดียว แน่นอนที่สุด ของที่ขอยืมนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่นานนักสาธารณสุขก็ขอเครื่องปั่นไฟคืน
เพราะปัจจัยมีจำกัดแต่รายจ่ายสารพัด หลวงพี่จึงซื้อเครื่องปั่นไฟขนาดเล็กใช้เครื่องยนต์สองจังหวะทำในประเทศจีนมาเพราะราคาถูกดี แต่ปรากฎว่าเสียงมันดังแสบแก้วหูและควันเหม็นมาก ทันทีที่สตาร์ทเจ้าเครื่องนี้ต้องถามตัวเองทุกครั้งว่าเรามาอยู่ป่าเขาทำใม ในเมืองก็มีเสียงหนวกหูและควันเหม็นๆแบบนี้! แถมอัตราซดน้ำมันก็เกินตัว ประมาณชั่วโมงละลิตร ตอนนั้นในเมืองเบนซินลิตรละประมาณสี่สิบบาท ที่อุ้มผางน้ำมันแพงกว่าที่แม่สอดลิตรละสามบาท แน่นอนถ้าซื้อน้ำมันที่แม่จันก็แพงกว่าที่อุ้มผางอีก ก็พยายามปั่นไฟให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่จะทำอย่างไรดีให้ระบบโทรศัพท์ใช้งานได้ทั้งวันโดยไม่ต้องปั่นไฟตลอดเวลา? หลวงพี่แก้ปัญหาด้วยการชาร์จไฟเก็บไว้ในแบตเตอรี่ตอนปั่นไฟ พอดับเครื่องปั่นไฟอินเวอร์เตอร์จะเปลี่ยนไฟแบตเป็นไฟ 220 โวลท์โดยอัตโนมัติเพื่อเลี้ยงระบบโทรศัพท์ หลักการเดียวกับ UPS ที่เราใช้กับคอมพิวเตอร์นั่นแหละ เพียงแต่มีแบตอยู่ภายนอก และหลวงพี่ยังลงทุนติดตั้งกังหันลมบนยอดเขา ใช้ไฟฟ้าฟรีจากพลังงานลมมาชาร์จแบตอีกทางหนึ่ง ด้วยวิธีนี้ก็สามารถประหยัดค่าน้ำมันไปได้พอสมควร ที่สำคัญคือไม่ต้องทนฟังเสียงและดมควันเจ้าเครื่องปั่นไฟบ่อยเกินไป ตอนลำเลียงชุดกังหันลมขึ้นไปบนยอดเขาก็อาศัยเยาวชนชายและชาวบ้านมาช่วยกัน แม้จะพยายามลดเวลาการปั่นไฟแบบสุดๆแล้ว หลวงพี่ต้องจ่ายเฉพาะค่าน้ำมันเพื่อผลิตไฟฟ้าประมาณเดือนละห้าพันบาท
แล้วก็ปรากฎว่าระบบน้ำที่ว่าเทศบาลยินดีมาเติมให้นั้น มันไม่เป็นไปอย่างที่คาด เพราะเทศบาลก็มีงานสารพัด ไม่ได้ว่างมาเติมน้ำให้ทุกครั้งที่แจ้งไป บางครั้งก็ต้องรอหลายวัน อย่างนี้แย่แน่ ต้องหาวิธีแก้ไข ในที่สุดก็พบว่ามีบ่อน้ำอยู่ริมนาข้าวในหมู่บ้าน ห่างลงไปประมาณสองสามร้อยเมตร และมีระดับต่ำกว่าสำนักสงฆ์อยู่สิบกว่าเมตร หลวงพี่จึงให้วางท่อน้ำเดินสายไฟและติดปั๊มน้ำเพื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้ที่สำนักสงฆ์ เครื่องปั่นไฟเครื่องแรกจ่ายไฟให้ปั๊มน้ำไม่ไหว คราวนี้ต้องลงทุนซื้อเครื่องปั่นไฟดีเซลขนาด 5 กิโลวัตต์ เพื่อให้ใช้งานทุกอย่างได้พร้อมๆกัน แต่แม้กระนั้นเจ้าเครื่องนี้ก็ใช้งานอยู่ได้ปีเศษๆเท่านั้นก็ต้องเริ่มซ่อม ยกไปซ่อมแต่ละทีใช้เวลาเป็นเดือน ท้ายสุดจึงต้องเอาเครื่องยนต์แบบที่ใช้กับรถไถแบบเดินตามมาฉุดไดนาโม แต่ก็มีปัญหาเพราะวิธีนี้ไม่มีระบบควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ ปรับจนได้แรงดันไฟ 220 แล้วพอเปิดปั๊มน้ำปั๊บไฟตกวูบ พาลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆมีอายุการใช้งานลดลงตามไปด้วย
.................................
ในการออกไปชวนคนบวชในหมู่บ้านลึกๆตามป่าตามเขา และภายหลังในการออกไปจัดเทศน์สอนนอกสถานที่ บ่อยครั้งต้องเอาเครื่องขยายเสียง โปรเจคเตอร์ และเครื่องปั่นไฟไปด้วย เจ้าเครื่องแรกก็เริ่มรวนจึงต้องซื้อเครื่องปั่นไฟเบนซินอีกหนึ่งเครื่อง คราวนี้ใช้เครื่องยนต์สี่จังหวะก็ดีขึ้นหน่อย มันเป็นเครื่องสำรองด้วยเวลาเครื่องดีเซลมีปัญหา เครื่องนี้มีคนชอบมายืมใช้ หลายไม้หลายมือเข้าไม่นานก็พังอีก .. เฮ้อ
โชคดีที่แม่จันมีอากาศเย็นตลอดปี ตู้เย็นจึงไม่มีความจำเป็น บางอย่างที่จำเป็นจริงๆก็แช่ไว้ในถังใส่น้ำแข็ง ถ้าต้องมีตู้เย็นซึ่งต้องใช้ไฟตลอดเวลา การใช้ไฟจากแบตเตอรี่ที่ชาร์จเก็บไว้จากพลังลมและตอนปั่นไฟคงไม่พอแน่นอน
ส่วนแสงสว่างตอนกลางคืนช่วงที่ไม่ได้ปั่นไฟนั้น หลวงพี่ย้อนนึกไปถึงสมัยเด็กๆที่อาศัยอยู่กับคุณตาคุณยายซึ่งมีอาชีพขายขนมตอนกลางคืนที่ป้ายรถเมล์โดยใช้แสงสว่างจากตะเกียงเจ้าพายุ พวกเราหลายคนอาจไม่เคยเห็น มันเป็นตะเกียงมีหลอดแก้วทรงกระบอก ภายในคือไส้หลอดมีลักษณะคล้ายๆถุงผ้า ด้านล่างเป็นที่ใส่น้ำมันก๊าด ก่อนใช้ต้องปั๊มความดันให้ถังน้ำมันก๊าด เมื่อติดไฟแล้วสว่างจ้าทีเดียว แต่ต้องคอยปั๊มลมอยู่เสมอ จากนั้นก็ไม่เคยใช้ตะเกียงเจ้าพายุอีกเลยนับหลายสิบปี แต่หลวงพี่ก็ไปหามาจนได้จากร้านอุปกรณ์แค้มปิ้ง
มันเป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออก จังหวัดตากมีเขื่อนภูมิพลซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้าเหลือขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน แถมค่ายผู้อพยพที่อุ้มเปี้ยมก็มีไฟฟ้าใช้ แต่คนไทยในอุ้มผางซึ่งอยู่ในจังหวัดตากนั้นต้องรอใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนภูมิพลกันนานแสนนาน
กว่าการไฟฟ้าภูมิภาคจะเดินไฟมาถึงแม่จัน หลวงพี่ก็มีเครื่องปั่นไฟสี่เครื่อง แถมกังหันลมบนยอดเขาอีกหนึ่งตัว แบตเตอรี่หลายลูก อินเวอร์เตอร์และเครื่องชาร์จแบตอีกหลายเครื่อง
เรื่องมันจำเป็นทั้งนั้น .. กว่าจะจัดการระบบน้ำไฟโทรศัพท์ให้ใช้งานได้ลงตัวก็หืดขึ้นคอ ไม่ต้องพูดถึงปัจจัยในย่าม ที่ล้วงแล้วล้วงอีก และการบำรุงรักษาซ่อมแซมที่ตามมา
อ่านบทนำ - บทที่ 6ได้ที่
http://buddhisthotissue.blogsp ot.jp/2016/08/series_1.html
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์)
......................................
ภารกิจหลักของหลวงพี่ในช่วงแรกนี้ก็คือการจัดเตรียมสถานที่เพื่อรองรับการบวช และการออกชวนผู้มีบุญมาบวช
เนื่องจากหลวงพี่ไม่มีความรู้เรื่องการก่อสร้างเลย แถมงบประมาณก็จำกัด อาคารโรงนอนธรรมทายาทที่สร้างขึ้นจึงไม่มีแบบ มันมีขนาดประมาณ 5x30 เมตร มีที่นอนสองด้าน เอาเท้าหันเข้าหากัน ฝาผนังทำจากผ้าพลาสติกกรองแสงหรือที่เรียกว่าซาแลน (ไม่รู้ที่มาของคำนี้จริงๆว่ามาจากภาษาอังกฤษหรือเปล่า) ตรงกลางเว้นไว้เป็นทางเดิน ดูคล้ายๆที่พักคนงานตามไซท์ก่อสร้าง แต่ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันทำจนเสร็จ อยู่ในสภาพที่ ”พักได้” พื้นก็เอาไม้กระดานวางไว้บนตงเฉยๆไม่ได้ตอกตะปู ถ้าใครเดินลงเท้าหนักๆหน่อยจะสะเทือนไปทั้งหลัง หลังคามุงใบตองตึงและเตี้ยมาก เวลาคนสูงๆเดินต้องก้มหัวหลบคาน ส่วนห้องน้ำนั้นมีชาวบ้านคนหนึ่งทักว่ามันเป็นหน้าวัดไม่ควรมี หลวงพี่จึงไม่ได้สร้างตรงใกล้ๆโรงนอนนั้น แต่มาสร้างบริเวณห้องน้ำเดิมท้ายศาลาใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 6 ห้อง และสร้างบ่อปูนขนาดประมาณ 2.5 x 4 เมตรไว้ยืนอาบน้ำกัน ถ้าจำไม่ผิดใช้ใต้ศาลาใหญ่เป็นที่ตากจีวรในร่มถ้ามีฝนตก การเตรียมสถานที่ไว้รองรับธรรมทายาทก็ถือว่าเรียบร้อยในระดับหนึ่ง
เนื่องจากการอบรมพระจำนวนมากต้องใช้พี่เลี้ยงหลายรูป ทางวัดจึงมีนโยบายให้จัดบวชพระที่จะมาทำหน้าที่พี่เลี้ยงเป็นการเฉพาะ หลวงพี่จึงให้ปรับกุฏิไฟไหม้มาใช้ วิธีการก็ง่ายมาก รื้อชั้นสองที่โดนไฟไหม้ออก ส่วนด้านล่างเป็นโครงสร้างก่ออิฐฉาบปูนก็ให้คงไว้ แล้วสร้างหลังคามุงด้วยใบตองตึง ก็เป็นอันว่ามีที่พักให้ทีมพระพี่เลี้ยงแล้ว ส่วนอาคารเอนกประสงค์นั้นปรับเป็นสำนักงาน และหลวงพี่ก็พักอยู่ในนั้นด้วย กลางคืนจะจำวัตรก็เอาเบาะ หมอน ผ้าห่มออกมาจากตู้ กางมุ้งครอบเข้าที่หน้าโต๊ะทำงาน ตื่นตีสี่ครึ่งก็เก็บเครื่องนอนเข้าตู้ ทำอย่างนี้อยู่ห้าปี ไม่มีงบและเวลาสร้างที่พักส่วนตัว
กุฏิไฟไหม้ ก่อนปรับปรุงเป็นที่พักพระพี่เลี้ยง |
เนื่องจากโยมพ่อเก่งเรื่องเครื่องยนต์กลไกอยู่แล้ว เมื่อท่านย้ายกลับมาจากทองผาภูมิ ท่านจึงให้หลวงพี่เรียนในสิ่งที่ท่านไม่ชำนาญ ท่านส่งให้หลวงพี่เรียนซ่อมวิทยุโทรทัศน์ช่วงวันเสาร์อาทิตย์ตอนเรียนมัธยม และเรียนไฟฟ้ากำลังตอนเข้าเรียนช่างกล
ความรู้เรื่องไฟฟ้าและอีเลคทรอนิคส์ที่ .. พ่อให้มา .. นี่แหละ หลวงพี่ได้เอามาใช้ตลอดชีวิต และนึกไม่ถึงเลย ยิ่งบวชเป็นพระไปอยู่อุ้มผางแล้วได้ใช้คุ้มเลย ..
พร้อมๆกันไปกับภารกิจอื่นๆนั้นหลวงพี่ก็ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมากกับเรื่อง ไฟฟ้า ประปาและโทรศัพท์
แรกๆที่ไปอยู่เขาวงพระจันทร์นั้น เวลาจะใช้อินเตอร์เน็ตต้องให้สารถีขับรถจากแม่จันย้อนกลับไปทางอุ้มผาง 10 กิโลเมตร จะถึงจุดที่สามารถรับคลื่นโทรศัพท์ได้ หรือไม่ก็ต้องเดินขึ้นดอยพระบาทแต่ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงเพราะตอนนั้นไม่มีทางรถขึ้นไป แม้ส่วนหนึ่งก็ชอบที่ไม่มีโทรศัพท์เพราะไม่ค่อยมีเรื่องกวนใจ แต่เพราะต้องติดต่อประสานงาน ดาวน์โหลดข้อมูลและส่งรายงานบ่อยๆ หลวงพี่จึงไปติดต่อองค์การโทรศัพท์ขอติดตั้งระบบโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม นอกจากค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ต้องวางมัดจำไว้แล้ว หลวงพี่ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละสามพันบาท แถมชุดโทรศัพท์ดาวเทียมนี้ก็ต้องมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง จึงมาถึงโจทย์ข้อต่อไปคือเรื่องของไฟฟ้า
ชาวบ้านเขามีโซล่าเซลล์กันบ้านละแผงจากโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกระทรวงพลังงาน ว่ากันว่าวันไหนแดดดีๆจะมีไฟพอดูละครหลังข่าวได้ และมีชุดแผงโซล่าเซลล์พร้อมแบตเตอรี่อย่างดีประจำหมู่บ้านตรงข้ามกับสำนักสงฆ์เป็นของสาธารณะ เพื่อชาวบ้านจะได้เอาแบตมาชาร์จ แต่เนื่องจากเป็นของส่วนกลางขาดคนรับผิดชอบและขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง ตอนหลวงพี่ไปถึงชุดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ประจำหมู่บ้านราคาแพงนี้ก็อยู่ในสภาพที่ใช้งานแทบไม่ได้แล้ว เพราะไม่มีน้ำกลั่นในแบตเตอรี่เลยสักลูกเดียว น่าเสียดายแบตเตอรี่อย่างดีที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ
หลวงพี่ลองคำนวณความต้องการการใช้ไฟฟ้าภายในวัด แล้วติดต่อบริษัทขายโซล่าเซลล์ให้ทำใบเสนอราคามา ได้เห็นราคาแล้วหลวงพี่พับโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในวัดทันที
.................................
หลวงพี่เริ่มด้วยการขอยืมเครื่องปั่นไฟจากสาธารณสุขตำบล ใช้ปั่นไฟตอนทำวัตรเช้าและเย็นซึ่งหลวงพี่กระจายเสียงจากลำโพงบนภูเขาไปทั่วหมู่บ้านด้วย ตอนขึ้นไปติดตั้งลำโพงบนยอดเขา หลวงพี่ต้องขึ้นไปเองเพื่อเลือกตำแหน่งติดตั้งและต่อสายลำโพง การขึ้นไปบนนั้นน่าหวาดเสียวมากทีเดียว เพราะมันเป็นหน้าผาชันดิ่ง 90 องศา ต้องอาศัยเกาะต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นไป มีอยู่จุดหนึ่งเมื่อจะข้ามจากต้นไม้ไปที่ภูเขา ต้องปล่อยมือจากกิ่งไม้ก่อน แล้วก้าวข้ามอากาศไปถึงก้อนหินจึงจะขึ้นไปยอดภูเขาได้ แต่เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว จะเห็นวิวหมู่บ้านท้องนาป่าเขาสวยงามทีเดียว ข้างบนนี้ชาวบ้านไม่ยอมให้ผู้หญิงขึ้นไปเด็ดขาด
ระบบกระจายเสียงบนยอดเขาที่หลวงพี่ติดตั้งไว้นี้ ยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ทางการมีเรื่องราวอะไรที่จะประกาศถึงชาวบ้านก็อาศัยเครื่องเสียงของเขาวงพระจันทร์นี่แหละเป็นหลัก หลวงพี่พยายามปลูกฝังนิสัยตรงต่อเวลาให้ทุกคนในวัด การตีระฆังต้องตรงเวลาเป๊ะ ระฆังปลุกตอนเช้าคือตีสี่ครึ่ง ซึ่งในฤดูหนาวอุณหภูมิบางเช้าต่ำกว่าสิบองศาก็ไม่เคยว่างเว้น หลวงพี่ให้นโยบายคนในวัดว่า ต้องให้ชาวบ้านได้ยินเสียงสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นทุกวันและตรงเวลา คือได้ยินเสียงพระสวดมนต์ทำวัตรเช้าก็มั่นใจได้เลยว่าตีห้าพอดี ทำวัตรเย็นก็หกโมงครึ่งพอดีเหมือนกัน
หลวงพี่เปิดเครื่องปั่นไฟจนจบช่วงที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยท่านลงสอน แต่เสียงเครื่องปั่นไฟมันดังมาก เลยต้องเอามันลงไปไว้ในถ้ำเล็กๆใต้บันใดที่เดินขึ้นหอระฆัง มันเป็นเครื่องแบบมือหมุนสตาร์ท จำไม่ได้แล้วว่าตอนนั้นใครเป็นคนติดเครื่องแต่ตอนสามทุ่มให้น้องอาสาสมัครผู้หญิงเป็นคนไปดับ .. น้องก็ใจเด็ดเหมือนกันไปดับเครื่องในถ้ำมืดๆคนเดียว แน่นอนที่สุด ของที่ขอยืมนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่นานนักสาธารณสุขก็ขอเครื่องปั่นไฟคืน
เพราะปัจจัยมีจำกัดแต่รายจ่ายสารพัด หลวงพี่จึงซื้อเครื่องปั่นไฟขนาดเล็กใช้เครื่องยนต์สองจังหวะทำในประเทศจีนมาเพราะราคาถูกดี แต่ปรากฎว่าเสียงมันดังแสบแก้วหูและควันเหม็นมาก ทันทีที่สตาร์ทเจ้าเครื่องนี้ต้องถามตัวเองทุกครั้งว่าเรามาอยู่ป่าเขาทำใม ในเมืองก็มีเสียงหนวกหูและควันเหม็นๆแบบนี้! แถมอัตราซดน้ำมันก็เกินตัว ประมาณชั่วโมงละลิตร ตอนนั้นในเมืองเบนซินลิตรละประมาณสี่สิบบาท ที่อุ้มผางน้ำมันแพงกว่าที่แม่สอดลิตรละสามบาท แน่นอนถ้าซื้อน้ำมันที่แม่จันก็แพงกว่าที่อุ้มผางอีก ก็พยายามปั่นไฟให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่จะทำอย่างไรดีให้ระบบโทรศัพท์ใช้งานได้ทั้งวันโดยไม่ต้องปั่นไฟตลอดเวลา? หลวงพี่แก้ปัญหาด้วยการชาร์จไฟเก็บไว้ในแบตเตอรี่ตอนปั่นไฟ พอดับเครื่องปั่นไฟอินเวอร์เตอร์จะเปลี่ยนไฟแบตเป็นไฟ 220 โวลท์โดยอัตโนมัติเพื่อเลี้ยงระบบโทรศัพท์ หลักการเดียวกับ UPS ที่เราใช้กับคอมพิวเตอร์นั่นแหละ เพียงแต่มีแบตอยู่ภายนอก และหลวงพี่ยังลงทุนติดตั้งกังหันลมบนยอดเขา ใช้ไฟฟ้าฟรีจากพลังงานลมมาชาร์จแบตอีกทางหนึ่ง ด้วยวิธีนี้ก็สามารถประหยัดค่าน้ำมันไปได้พอสมควร ที่สำคัญคือไม่ต้องทนฟังเสียงและดมควันเจ้าเครื่องปั่นไฟบ่อยเกินไป ตอนลำเลียงชุดกังหันลมขึ้นไปบนยอดเขาก็อาศัยเยาวชนชายและชาวบ้านมาช่วยกัน แม้จะพยายามลดเวลาการปั่นไฟแบบสุดๆแล้ว หลวงพี่ต้องจ่ายเฉพาะค่าน้ำมันเพื่อผลิตไฟฟ้าประมาณเดือนละห้าพันบาท
เครื่องปั่นไฟดีเซลขนาด 5 กิโลวัตต์ |
แล้วก็ปรากฎว่าระบบน้ำที่ว่าเทศบาลยินดีมาเติมให้นั้น มันไม่เป็นไปอย่างที่คาด เพราะเทศบาลก็มีงานสารพัด ไม่ได้ว่างมาเติมน้ำให้ทุกครั้งที่แจ้งไป บางครั้งก็ต้องรอหลายวัน อย่างนี้แย่แน่ ต้องหาวิธีแก้ไข ในที่สุดก็พบว่ามีบ่อน้ำอยู่ริมนาข้าวในหมู่บ้าน ห่างลงไปประมาณสองสามร้อยเมตร และมีระดับต่ำกว่าสำนักสงฆ์อยู่สิบกว่าเมตร หลวงพี่จึงให้วางท่อน้ำเดินสายไฟและติดปั๊มน้ำเพื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้ที่สำนักสงฆ์ เครื่องปั่นไฟเครื่องแรกจ่ายไฟให้ปั๊มน้ำไม่ไหว คราวนี้ต้องลงทุนซื้อเครื่องปั่นไฟดีเซลขนาด 5 กิโลวัตต์ เพื่อให้ใช้งานทุกอย่างได้พร้อมๆกัน แต่แม้กระนั้นเจ้าเครื่องนี้ก็ใช้งานอยู่ได้ปีเศษๆเท่านั้นก็ต้องเริ่มซ่อม ยกไปซ่อมแต่ละทีใช้เวลาเป็นเดือน ท้ายสุดจึงต้องเอาเครื่องยนต์แบบที่ใช้กับรถไถแบบเดินตามมาฉุดไดนาโม แต่ก็มีปัญหาเพราะวิธีนี้ไม่มีระบบควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ ปรับจนได้แรงดันไฟ 220 แล้วพอเปิดปั๊มน้ำปั๊บไฟตกวูบ พาลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆมีอายุการใช้งานลดลงตามไปด้วย
.................................
ในการออกไปชวนคนบวชในหมู่บ้านลึกๆตามป่าตามเขา และภายหลังในการออกไปจัดเทศน์สอนนอกสถานที่ บ่อยครั้งต้องเอาเครื่องขยายเสียง โปรเจคเตอร์ และเครื่องปั่นไฟไปด้วย เจ้าเครื่องแรกก็เริ่มรวนจึงต้องซื้อเครื่องปั่นไฟเบนซินอีกหนึ่งเครื่อง คราวนี้ใช้เครื่องยนต์สี่จังหวะก็ดีขึ้นหน่อย มันเป็นเครื่องสำรองด้วยเวลาเครื่องดีเซลมีปัญหา เครื่องนี้มีคนชอบมายืมใช้ หลายไม้หลายมือเข้าไม่นานก็พังอีก .. เฮ้อ
โชคดีที่แม่จันมีอากาศเย็นตลอดปี ตู้เย็นจึงไม่มีความจำเป็น บางอย่างที่จำเป็นจริงๆก็แช่ไว้ในถังใส่น้ำแข็ง ถ้าต้องมีตู้เย็นซึ่งต้องใช้ไฟตลอดเวลา การใช้ไฟจากแบตเตอรี่ที่ชาร์จเก็บไว้จากพลังลมและตอนปั่นไฟคงไม่พอแน่นอน
ส่วนแสงสว่างตอนกลางคืนช่วงที่ไม่ได้ปั่นไฟนั้น หลวงพี่ย้อนนึกไปถึงสมัยเด็กๆที่อาศัยอยู่กับคุณตาคุณยายซึ่งมีอาชีพขายขนมตอนกลางคืนที่ป้ายรถเมล์โดยใช้แสงสว่างจากตะเกียงเจ้าพายุ พวกเราหลายคนอาจไม่เคยเห็น มันเป็นตะเกียงมีหลอดแก้วทรงกระบอก ภายในคือไส้หลอดมีลักษณะคล้ายๆถุงผ้า ด้านล่างเป็นที่ใส่น้ำมันก๊าด ก่อนใช้ต้องปั๊มความดันให้ถังน้ำมันก๊าด เมื่อติดไฟแล้วสว่างจ้าทีเดียว แต่ต้องคอยปั๊มลมอยู่เสมอ จากนั้นก็ไม่เคยใช้ตะเกียงเจ้าพายุอีกเลยนับหลายสิบปี แต่หลวงพี่ก็ไปหามาจนได้จากร้านอุปกรณ์แค้มปิ้ง
ตะเกียงเจ้าพายุ |
มันเป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออก จังหวัดตากมีเขื่อนภูมิพลซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้าเหลือขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน แถมค่ายผู้อพยพที่อุ้มเปี้ยมก็มีไฟฟ้าใช้ แต่คนไทยในอุ้มผางซึ่งอยู่ในจังหวัดตากนั้นต้องรอใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนภูมิพลกันนานแสนนาน
กว่าการไฟฟ้าภูมิภาคจะเดินไฟมาถึงแม่จัน หลวงพี่ก็มีเครื่องปั่นไฟสี่เครื่อง แถมกังหันลมบนยอดเขาอีกหนึ่งตัว แบตเตอรี่หลายลูก อินเวอร์เตอร์และเครื่องชาร์จแบตอีกหลายเครื่อง
เรื่องมันจำเป็นทั้งนั้น .. กว่าจะจัดการระบบน้ำไฟโทรศัพท์ให้ใช้งานได้ลงตัวก็หืดขึ้นคอ ไม่ต้องพูดถึงปัจจัยในย่าม ที่ล้วงแล้วล้วงอีก และการบำรุงรักษาซ่อมแซมที่ตามมา
หลวงพี่เริ่มเข้าใจความรู้สึกของการเป็นเจ้าอาวาสแล้ว ..
7 ก.ย. 2559 19:36
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
อ่านบทนำ - บทที่ 6ได้ที่
http://buddhisthotissue.blogsp ot.jp/2016/08/series_1.html
อ่านบทที่ 7 : ชีวิตคือการเดินทาง ได้ที่
อ่านบทที่ 8 : Been there .. Done that ..
http://buddhisthotissue.blogspot.sg/2016/08/8-been-there-done-that-series.html
อ่านบทที่ 9 : My way
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/9-my-way-series.html
อ่านบทที่ 10 : ซาโยนาระ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/10-series.html
อ่านบทที่ 11 : ชีวิตใหม่...ในเพศสมณะ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/11-series.html
อ่านบทที่ 12 : หนีเสือปะจระเข้
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/12-series.html
อ่านบทที่ 13 : จากเทือกเขาถนนธงชัยถึงสมุทรสงคราม
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/13-series.html
อ่านบทที่ 9 : My way
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/9-my-way-series.html
อ่านบทที่ 10 : ซาโยนาระ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/10-series.html
อ่านบทที่ 11 : ชีวิตใหม่...ในเพศสมณะ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/11-series.html
อ่านบทที่ 12 : หนีเสือปะจระเข้
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/12-series.html
อ่านบทที่ 13 : จากเทือกเขาถนนธงชัยถึงสมุทรสงคราม
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/13-series.html
อ่านบทที่ 14 : อุ้มหัวใจไป...อุ้มผาง
http://buddhisthotissue.blogspot.com/2016/09/14-series.html
อ่านบทที่ 15 : อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน รุ่นห้าแสน
http://myalphabet2016.blogspot.com/2016/09/14-series.html
อ่านบทที่ 16 : สำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/16-series.html
อ่านบทที่ 17 : กุฏิไฟไหม้กับตอไผ่
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/17-series.html
อ่านบทที่ 18 : สารถีในฝัน
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/18-series.html
อ่านบทที่ 15 : อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน รุ่นห้าแสน
http://myalphabet2016.blogspot.com/2016/09/14-series.html
อ่านบทที่ 16 : สำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/16-series.html
อ่านบทที่ 17 : กุฏิไฟไหม้กับตอไผ่
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/17-series.html
อ่านบทที่ 18 : สารถีในฝัน
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/18-series.html
บทที่ 19 เรื่องมันจำเป็น (เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล The series)
4/
5
Oleh
ICHICO
57 ความคิดเห็น
Tulis ความคิดเห็นกราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ธาดาค่ะและต้องขอบคุณคนที่กล่าวหาหลวงพี่ไม่งั้นเราก็คงไม่ได้อ่านเรื่องราวดีๆแบบนี้กัน
Replyกราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ธาดาค่ะและต้องขอบคุณคนที่กล่าวหาหลวงพี่ไม่งั้นเราก็คงไม่ได้อ่านเรื่องราวดีๆแบบนี้กัน
Replyสาธุค่ะ
Replyอ่านแล้วต้องยกย่อใจพระคุณเจ้าจริงๆค่ะมีปัจจัยต้องไปช่วยงานให้สำเร็จแน่นอค่ะ
Replyอ่านแล้วต้องยกย่อใจพระคุณเจ้าจริงๆค่ะมีปัจจัยต้องไปช่วยงานให้สำเร็จแน่นอค่ะ
Replyใจท่านแกร่งดุจเพชร สมเป็นพุทธบุตร ขออนุโมทนาเจ้าค่ะ
Replyใจท่านแกร่งดุจเพชร สมเป็นพุทธบุตร ขออนุโมทนาเจ้าค่ะ
Replyท่านเป็นแบบอย่างที่ดีให้พระให้เณรทำตามได้เลย อนุโมทนาบุญดว้ยครับ
Replyท่านเป็นแบบอย่างที่ดีให้พระให้เณรทำตามได้เลย อนุโมทนาบุญดว้ยครับ
Replyชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ผู้ต้องการนำ คุณธรรมศีลธรรมหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ไปสู่ชนบทนั้นน่าสรรเสริญยิ่ง
Replyใกล้จะถึงเวลาฟ้าหลังฝน
Replyใกล้จะพ้นพาลภัยใส่ความให้
ใกล้ถึงคราว่าความเป็นเช่นไร
ใกล้คงได้พิสูจน์พูดความจริง
ใกล้จะถึงเวลาที่ฟ้าเปิด
ใกล้จะเกิดเปิดเผยเรื่องทุกสิ่ง
ใกล้จะถึงเวลาพวกพาดพิง
ใกล้จะยิ่งมั่นใจได้รู้กัน
ใกล้จะถึงเวลาฟ้าสดใส
ใกล้จะได้รวมใจที่สานฝัน
ใกล้จะหมดเวลาที่ฝ่าฟัน
ใกล้สุขสันต์ทั่วหน้าทั้งปฐพี...
Anumodhana boon, sadhu sadhu sadhu.
Replyใกล้สว่างแล้ว
Replyกราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ
Replyอนุโมทนาบุญค่ะ
ReplyThe best defense is a good offense "การเผยแผ่ คือการปกป้องพระพุทธศาสนาที่ดีที่สุด"ขอเป็นส่วนหนึ่ง ร่วมกันเผยแผ่พระพุทธศาสนากัน
Replyสุดยอดเลย
Replyเป็นผมคงบ่ไหวแน่
ถึงไฟฟ้าจะไม่ค่อยสว่าง แต่ธรรมะได้สว่างในใจชาวดอยแล้วค่ะ กราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ด้วยค่ะ
Replyกราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุๆๆๆ
Replyกราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุๆๆๆ
Replyกราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุๆๆๆ
Replyกราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุๆๆๆ
Replyกราบบูชาหัวใจเพชรกล้าแห่งกองทัพธรรมด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ
Replyสู้ๆครับ ขอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
Replyสุดยอดหัวใจพระนักสร้างบารมีค่ะ ชอบอ่านทุกตอน รู้สึกถึงความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวและผังความสำเร็จที่ไม่ทิ้งละทิ้งแม้มีอุปสรรค
Replyสุดยอดหัวใจพระนักสร้างบารมีค่ะ ชอบอ่านทุกตอน รู้สึกถึงความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวและผังความสำเร็จที่ไม่ทิ้งละทิ้งแม้มีอุปสรรค
Replyสาธุ
Replyยอดเยี่ยมมากๆ
Replyกราบอนุโมทนาแด่หัวใจที่เด็ดเดี่ยว และกล้าแกร่งของพระอาจารยฺ์ สุดยอดนักสร้างบารมี ที่พระพุทธศาสนาต้องการนะครับ...สาธุครับ
Replyกราบอนุโมทนาแด่หัวใจที่เด็ดเดี่ยว และกล้าแกร่งของพระอาจารยฺ์ สุดยอดนักสร้างบารมี ที่พระพุทธศาสนาต้องการนะครับ...สาธุครับ
Replyซาบซึ้งใจจังเลยครับ
Replyกราบขอบพระคุณหลวงพี่อย่างสูง ที่ทำนุบำรุง สืบทอดให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองต่อไป กราบอนุโมทนาบุญด้วย สาธุ
Replyสาธุค่ะ
Replyสาธุๆๆ ขออนุโมทนาบุญด้วย
Replyบุญบารมีที่เราได้ทำทุ่มเททำมาโดยตลอดนั้น มิได้สูญหายไปไหน รอวันส่งผลอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราตรึกนึกถึงบุญคราใด ก็จะปลื้มปีติใจ มีความสุขตลอดไป
สาธุ สาธุ สาธุ
Replyสาธุๆๆเจ้า
Replyเป็นพระต้นบุญต้นเเบบ ที่สมควรเอาเยี่ยงอย่าง ท่านเปี่ยมด้วยความเมตตา เเละมีความอดทนสูง กราบอนุโมทนาบุญพระอาจารย์ สาธุๆๆครับ
Replyสาธุ
Replyอนุโมทนาสาธุค่ะ
Replyอนุโมทนาสาธุค่ะ
Replyสาธุ
Replyอนุโมทนาบุญค่ะ
Replyสาธุๆ
Replyสาธุ
Replyสาธุ
Replyชีวิตการสร้างบารมีของหลวงพี่มีเรื่องราวประสบการณ์ที่ได้ข้อคิดมากมายเลยค่ะ
Replyสาธุ เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ
Replyสาธุ เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ
Replyขอถวายกำลังใจแด่พระอาจารย์เจ้าค่ะ พุทธบุตรผู้ยิ่งใหญ่อย่างท่านเป็นเนื้อนาบุญอย่างแท้จริงของชาวบ้านระแวกนั้นนะคะ ขอกราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ สาธุ
Replyอนุโมทนาบุญสาธุค่ะ
Replyอนุโมทนาบุญสาธุค่ะ
Replyอนุโมทนาบุญสาธุค่ะ
Replyอนุโมทนาบุญสาธุค่ะ
Replyสาธุ
Replyแม้จะลำบาก แต่ก็ไม่เคยคิดว่า อุปสรรคจะบั่นทอนหัวใจของนักสร้างบารมีได้ กราบอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ด้วยค่ะ
Replyคงจะลำมากๆแต่น่าสนุกนะครับชีวิตแบบนี้หาไม่ได้จากเมืองที่เจริญแล้ว
Replyสุดยอดนักสร้างบารมี สาธุค่ะ
Reply