วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

พระนางปฏาจารา นางผู้กลับใจได้ !

 ...หากใครคิดว่าตัวเองทุกข์มากแล้ว 

โปรดฟังเรื่องนี้ !!!


____________________

       "พระปฏาจาราเถรี ภิกษุณีที่มีความทุกข์มากที่สุด”  สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักทั้งหมดของนางในเวลาใกล้เคียงกันจนทำให้นางเสียใจมาก ประหนึ่งดวงใจแตกสลาย เป็นบ้า เสียสติ เปือยกายซวนเซวิ่งไปตามท้องถนน จนมาเจอกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 



พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
พระองค์เพียงผู้เดียวที่ให้สตินาง 


จากที่เสียสติด้วยความเศร้าโศก ก็มีสติกลับคืนมา มีความละอายในสิ่งที่ทำลงไป หลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ ในกาลต่อมาก็ได้บรรลุธรรมพระอรหันตผล จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงพระวินัย 




"พระปฏาจาราเถรี" 
เรื่องมีอยู่ว่า


      “ปฏาจารา”  เป็นธิดาของเศรษฐีในกรุงสาวัตถีเป็นหญิงรูปร่างงดงามและได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ครั้นนางมีอายุได้ 16 ปีได้หลงรักชายคนใช้ในบ้านของตนเอง
       
       ต่อมาบิดามารดาได้จัดเตรียมหาชายหนุ่มในชนชั้นเดียวกันมาแต่งงานด้วยนางจึงได้นัดแนะให้ชายคนใช้พาหนี แล้วไปสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยในชนบทอันทุรกันดารแห่งหนึ่ง ชีวิตเริ่มแรกของนางปฏาจารามีความสุขมาก เพราะได้อยู่ใกล้ชิดกับชายคนรัก
       
       เวลาผ่านไปไม่นาน นางปฏาจาราตั้งครรภ์ ครั้นถึงเวลาใกล้คลอดนางมีความกังวลใจ เพราะไม่มีบิดามารดาและญาติอยู่ใกล้ชิด นางจึงขอร้องให้สามีพากลับไปหาบิดามารดา สามีปฏิเสธคำขอร้อง เพราะกลัวเกรงบิดามารดาของนางจะเอาโทษ
       
       นางจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านเพียงลำพัง นางได้คลอดบุตรคนแรกในระหว่างทางเมื่อสามีตามไปพบ เขาได้ชี้แจงเหตุผลต่างๆ จนพานางกลับบ้านสำเร็จ
       
       เวลาต่อมา นางได้ตั้งครรภ์อีกเป็นครั้งที่สองและได้ขอร้องสามีเหมือนครั้งก่อน แต่สามีปฏิเสธคำขอร้องเช่นนั้นอีกนางจึงพาบุตรน้อยผู้กำลังหัดเดินหนีออกจากบ้าน
       
       ในระหว่างทางนางปวดท้องอย่างรุนแรง เพราะกำลังจะคลอดบุตรฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก สามีตามไปพบนางดิ้นทุรนทุรายอยู่ท่ามกลางสายฝนจึงไปตัดไม้เพื่อนำมาทำที่กำบังฝนชั่วคราว แต่เขาถูกงูพิษกัดถึงแก่ความตาย
       
       นางปฏาจาราคลอดบุตรด้วยความยากลำบาก แล้วนางอุ้มทารกและจูงบุตรน้อยตามไปพบศพของสามีจึงมีความเศร้าโศกเสียใจมาก นางตัดสินใจจะพาบุตรไปหาบิดามารดาในเมือง
       
       เมื่อนางมาถึงลำธารใหญ่ที่น้ำกำลังไหลเชี่ยวนางไม่อาจจะพาบุตรข้ามน้ำพร้อมกันได้ จึงให้บุตรคนโตยืนรอที่ฝั่งข้างหนึ่งแล้วอุ้มทารกแรกเกิดเดินข้ามน้ำไปอีกฝั่งหนึ่ง และวางทารกน้อยไว้ที่อันเหมาะสม
       
       ขณะเดินข้ามน้ำมาถึงกลางน้ำ เพื่อรับบุตรคนโตนางเห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งกำลังบินโฉบลงเพื่อจิกทารก เพราะมันเข้าใจว่าเป็นก้อนเนื้อนางจึงยกมือขึ้นไล่เหยี่ยว แต่ไม่อาจช่วยชีวิตทารกน้อยได้ เพราะเหยี่ยวมองไม่เห็นอาการของนางที่ขับไล่จึงเฉี่ยวทารกน้อยของนางไป
       
       บุตรคนโตมองเห็นนางยกมือขึ้นทั้งสองข้าง ก็เข้าใจว่ามารดาเรียกตนจึงก้าวลงสู่แม่น้ำอันเชี่ยวและถูกน้ำพัดพาหายไป
       
       นางปฏาจาราได้สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างในเวลาใกล้กัน แต่นางยังตั้งสติได้นางเดินร้องไห้เข้าไปสู่เมืองสาวัตถีและได้ทราบข่าวจากชาวเมืองคนหนึ่งในระหว่างทางว่าลมและฝนได้พัดเรือนบิดามารดาของนางพังทลาย และเจ้าของบ้านก็ตายไปด้วย




      
       ครั้นเมื่อนางทราบช่าวเช่นนี้ ก็ไม่อาจตั้งสติได้ นางสลัดผ้านุ่งทิ้งแล้ววิ่งบ่นเพ้อด้วยร่างกายอันเปลือยเปล่า เข้าไปวัดพระเชตวันมหาวิหารขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัทประชาชนเห็นนางแล้วร้องบอกกันว่าคนบ้าๆ อย่าให้เข้ามา

       พระพุทธองค์ตรัสว่าปล่อยให้นางเข้ามาเถิด แล้วตรัสเรียกเตือนสตินางกลับได้สติ เกิดความละอายนั่งลง ใครคนหนึ่งในที่ประชุมนั้นโยนผ้าให้นางนุ่งห่มพระองค์ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดกับนางโดยย่อว่า ปิยชนมีบุตรเป็นต้น ไม่สามารถข้องกับคนที่ตายแล้วได้ ผู้รักษาศีลแล้วพึงชำระทางไปพระนิพพาน




       
       นางฟังพระธรรมเทศนา อันแสดงถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งพิจารณาไปตามพระธรรมเทศนานั้นแล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล และทูลขออุปสมบทพระองค์จึงทรงอนุญาตให้นางบวชในสำนักนางภิกษุณี
       
       ต่อมานางภิกษุณีปฏาจาราได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ว่า คนที่ไม่เห็นความเสื่อมสิ้นไปในเบญจขันธ์ แม้มีชีวิตอยู่ร้อยปีก็ไม่ประเสริฐเท่าคนที่มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวแต่มองเห็นความเสื่อมสิ้นไปในเบญจขันธ์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ภิกษุณีปฏาจาราก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
       
       พระปฏาจาราเถรีมีความชำนาญในพระวินัยมากจนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงพระวินัย และพระปฏาจาราเถรีได้เป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
       

       
พระปฏาจาราเถรีมีคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง ดังนี้
     
       1. เป็นผู้มีความตั้งใจจริง นิสัยตั้งใจจริง ต้องทำตามที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จนี้ ได้มีมาตั้งแต่พระปฏาจาราเถรียังเป็นเด็กสาวแต่เนื่องจากยังขาดประสบการณ์และขาดวิจารณญาณ จึงทำให้ผิดพลาดในชีวิตโดยสังเกตได้ว่า นางตั้งใจจะแต่งงานกับขายคนที่ตนรักไม่ต้องการแต่งงานกับคนที่บิดามารดาเลือกให้ ก็ต้องทำให้ได้
       
       แต่เมื่อได้บวชเป็นนางภิกษุณีแล้วนางได้สานต่อความตั้งใจนั้นในทางที่ถูกต้องนั่นคือความตั้งใจศึกษาพระวินัยปิฎกให้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ลดละความพยายามนางได้ใช้วิริยะอุตสาหะเป็นอย่างมาก จนกระทั่งสำเร็จตามปรารถนาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เลิศกว่านางภิกษุณีรูปอื่นในด้านผู้ทรงพระวินัย
       
        2. เป็นผู้แนะแนวชีวิตที่ดี ชีวิตของนางปฏาจาราเถรี เป็นชีวิตที่มากด้วยประสบการณ์ได้ผ่านมาทั้งความสุข ความสมหวัง และความทุกข์ความผิดหวังอย่างสาหัสจนเกือบกลายเป็นคนบ้าเสียสติถาวร
       

       เมื่อนางได้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตแห่งชีวิตเข้ามาสู่ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาแล้วประสบการณ์เหล่านั้นกลับเป็นประโยชน์แก่นางและคนอื่น คือสตรีอื่นๆที่มีปัญหาชีวิตพากันมาขอคำแนะนำ นางได้ให้คำแนะนำที่ดี และช่วยแก้ปัญหาให้พวกเขาเหล่านั้น จนกระทั่งได้รับยกย่องว่า “เป็นครูยิ่งใหญ่” ของพวกเขา


_______________________
เสริมสาระ
         ชีวิตของนางปฏาจารา เป็นชีวิตที่น่าศึกษา  ตรงที่เป็นกำลังใจสำหรับผู้ที่คิดว่าตนกำลังทุกข์จากการพลัดพลากจากคนรักแล้ว นางปฏาจารานี่ทุกข์มากที่สุด แต่นางกลับใจได้จากคนบ้า สู่การบรรลุอรหันตผล จากการได้เห็นสมณะ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
         
ดังนั้นการเห็นสมณะจึงเป็นมงคลและมีอานิสงส์มากดังนี้
           1  ทำให้ได้สติ ฉุกคิดถึงบุญกุศล
          2  ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดีตามท่าน
          3  ทำให้ตาแจ่มใสดุจแก้วมณี
          4  ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท
          5  ชื่อว่าได้บูชาพระรัตนตรัยอย่างยิ่ง
          6  ทำให้ได้สมบัติ ๓ คือมนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ โดยง่าย
          7  ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
                                    ฯลฯ



ขอขอบคุณข้อความ  / ภาพจาก  
www.kalyanamitra.org
www.pantip.com

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

คนพาล ภาพสะท้อนของตัวเรา


  ภาพสะท้อน (ของตัวเรา)  

การที่เราเห็น
แต่ความเลวร้าย
รอบๆ ตัวเรา 
เรารู้หรือไม่ว่า...แท้ที่จริงแล้ว 
สิ่งที่เราเห็นมันเกิดขึ้นจาก..
จิตใจของเราเอง
...............................

มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง อาศัยอยู่บ้านหลังหนึ่งทุกๆ เช้า ภรรยาจะแอบมองดูเพื่อนบ้านจากหน้าต่างชั้นบนบ้าน และวิ่งกลับมารายงานให้สามีฟัง

"เพื่อนบ้านเรานี่ซักผ้าไม่เป็นเลย เสื้อผ้าสกปรกเหลือเกิน ไม่รู้เขาใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร หรือใช้วิธีซักอย่างไร"
สามีก็ตอบว่า "อย่าไปสนใจคนอื่นเขาเลย เราซักผ้าของเราให้สะอาดก็แล้วกัน"

แต่ภรรยาก็ยังไปแอบดูเพื่อนบ้านอยู่ทุกเช้า จากหน้าต่างข้างบนบ้าน และวิ่งกลับมารายงานสามีทุกเช้า
"เสื้อผ้าของเขาสกปรกอีกแล้ว"

ต่อมาวันหนึ่ง ภรรยาวิ่งลงมารายงานสามีด้วยความแปลกประหลาดใจ
"ไม่เข้าใจจริงๆ ว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้น เสื้อผ้าของเขาขาวสะอาดอยากจะรู้เหลือเกินว่าเขาเปลี่ยนมาใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร หรือทำอย่างไร"

      สามีหัวเราะและกล่าวว่า

      "นี่...ฉันรำคาญเธอเหลือเกิน เมื่อเช้าฉันตื่นแต่เช้ามืด และไปเช็ดกระจกหน้าต่างให้ใสสะอาด ก่อนหน้านี้กระจกมันสกปรก เธอมองออกไปก็เห็นแต่ความสกปรกน่ะซี"


มนุษย์เราชอบมองคนอื่นโดยผ่านจิตใจของเราออกไป เมื่อจิตใจของเราสะอาด เราก็จะเห็นแต่ความดีงามรอบๆ ตัว แต่ถ้าจิตใจของเราสกปรก เราก็จะเห็นแต่ความสกปรกรอบตัว 



การที่เราเห็นแต่ความเลวร้ายรอบๆ ตัวเรา เราต้องเข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่เราเห็นมันเกิดขึ้นจากจิตใจของเรา และเราจะต้องหาทางฝึกจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ถ้าเราเห็นแต่สิ่งที่เลวร้ายจิตใจก็ไม่สงบ เราก็จะกลุ้มอกกลุ้มใจ มีความทุกข์ แต่ถ้าเราหัดมองในแง่ดีเราก็จะคิดแต่สิ่งที่ดี จิตใจก็จะเบิกบานและมีความสุข


Cr.N/a

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สักเต็มหน้า ดราม่า ไม่ได้บวช ตัดสินที่ผิดถูกหรือความเหมาะสม ?

เหตุผลที่ไม่ให้บวช

 อาจารย์ท่านไหน 
ศิษย์มาขอเรียนวิชาความรู้ด้วย 
ถ้าอาจารย์เห็นว่า 
จะสอนศิษย์ไม่ได้ 
สอนไม่ไหว 
หรือด้วยเหตุผลอะไร
ของอาจารย์ก็ดี
อาจารย์ก็มีสิทธิ์ที่จะไม่รับ
ลูกศิษย์คนนั้นได้  



สักเต็มหน้า ดราม่า ไม่ได้บวช 


ดังเช่นประเด็นดราม่า หนุ่มหล่อจิตใจงาม แต่รอยสักเต็มตัว รวมทั้งสักเต็มใบหน้า ที่เพิ่งออกจากคุกมาหมาดๆ มะม่วงยังไม่ลืมต้น จะมาขอบวชกับหลวงพ่อวัดใกล้บ้าน แถวปทุมธานี แต่หลวงพ่อท่านไม่ให้บวช !!



ถามว่าสักเต็มหน้า ผิดหรือ ?
           การสักเต็มหน้า หรือมีรอยสักเต็มตัว แท้จริงแล้วไม่ได้มีบัญญัติไว้ในพระวินัยว่า ห้ามบวช แต่วิธีการบวชปัจจุบัน คือ การบวชแบบญัตติจตุตถกรรม คือ พระพุทธเจ้าจึงทรงยกให้เป็นหน้าที่ของสงฆ์ให้รวมกันเป็นคณะ เพื่อบวชให้แก่นาคท่านนั้น คือ มีพระภิกษุอย่างน้อย 5 รูปสำหรับพื้นที่ที่หาพระได้ยาก หรือ 20 รูปสำหรับในเขตที่มีพระภิกษุจำนวนมาก แล้วให้มีพระอุปัชฌาย์  1  รูป และพระคู่สวด  2 รูป  ส่วนภิกษุที่เหลือให้เป็นพระอันดับ ซึ่งจะต้องได้รับเสียงอนุมัติเป็นเอกฉันท์จากคณะสงฆ์ หากมีพระรูปใดรูปหนึ่งค้านแม้เพียงรูปเดียว อุปัชฌาย์ก็ไม่สามารถบวชให้ได้     




        ซึ่งใครที่จะบวชพระ พระสงฆ์ท่านจึงต้องให้มาอยู่วัด มาท่องคำขอบวชหรือคำขานนาค หรือมารักษาศีล 8 ให้ได้ก่อน ดังเช่นโครงการบวชพระต่างๆ ก็มักจะให้นาคมาอยู่วัดก่อนประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อฝึกฝนรักษาศีล 8 ไม่ทานข้าวเย็น ไม่ดูการละเล่น ฟังเพลง หรือแม้แต่เรื่องทางกามอารมณ์ทั้งหลายก็ต้องงดให้เด็ดขาด รวมทั้งต้องอบรมมารยาทต่างๆ ให้เหมาะสมกับความเป็นพระภิกษุอีกด้วย

          เมื่อบวชแล้ว อุปัชฌาย์ก็ต้องดูแล หรือหากอุปัชฌาย์ไม่ดูแล ก็สามารถมอบหมายให้พระอาจารย์เป็นผู้ดูแลแทนได้  แต่ถ้าอุปัชฌาย์คิดว่า ดูแลไม่ไหว หรืออาจจะสร้างปัญหาต่อไปในอนาคต ดังเช่นเจ้าคณะอำเภอคลองหลวง ที่ไม่อนุญาตให้หนุ่มท่านนี้บวช ด้วยเหตุผลว่า “บวชแล้วอุปัชฌาย์ก็ต้องรับผิดชอบ” นั่นคือ หากพระบวชใหม่ไปทำอะไรไม่ดีตามฆราวาสวิสัยที่ตัวเองคุ้นเคย คนที่ต้องรับผิดชอบก็คือพระอุปัชฌาย์นั่นเอง 

วิดีโอประกอบ : https://www.youtube.com/watch?v=P8MvOCL58tA

 ดังนั้นอุปัชฌาย์ก็มีสิทธิ์ที่จะไม่รับบวช จึงไม่ใจเรื่องแปลก ว่าเมื่อคนมีศรัทธา มีคุณสมบัติพร้อมบวชทุกอย่าง จะมาขอบวชแล้ว อุปัชฌาย์จะต้องให้บวชทุกคนเสมอไป แม้มีศรัทธาพร้อม คุณสมบัติพร้อม แต่นิสัยไม่ได้ อุปัชฌาย์ไม่รับ หรือมีพระรูปใดรูปหนึ่งคัดค้าน ก็บวชไม่ได้เช่นกัน


ฉะนั้น จึงอยู่ในดุลพินิจของพระอุปัชฌาย์ หรือพระรูปใดรูปหนึ่งคัดค้านก็ไม่สามารถบวชได้


        ดังเรื่อง ราธพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล พราหมณ์นี้เป็นคนว่ายากสอนยาก  ดื้อรั้น ไม่มีใครสอนได้ ego สูงนั้นเอง แต่มีจิตใจงามอยากบวช จึงขอบวชตอนแก่ แต่ก็ไม่มีพระภิกษุสงฆ์รูปใดเลยรับเป็นอุปัฌชาย์ให้ สุดท้ายมีพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก มีความกตัญญูเป็นเลิศ เห็นคุณของราธพราหมรณ์ ได้เคยใส่บาตรด้วยข้าว 1 ทัพพีแก่พระสารีบุตร  ท่านจึงรับบวชให้ 

        แต่กระนั้นพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา เป็นพระอรหันต์ มีคุณธรรม มีปัญญามาก แตกฉานพระธรรมวินัย จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับพระในปัจจุบันได้ ซึ่งยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย อุปัชฌาย์จะรับบวชท่านต้องคิดให้ดี ว่าจะสอนได้ไหม จะอบรมได้ไหม จะดื้อไหม จะอดทนได้ไหม ถ้าบวชแล้วสอนไม่ได้ ท่านก็ไม่รับบวช แถมมีรอยสักเต็มหน้าด้วย ถ้าบวชแล้วไปออกบิณฑบาต เกรงว่าจะไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของญาติโยม



ขอบคุณ :
ภาพข่าว https://www.thairath.co.th/content/1053040
               www.google.com

วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ชาวเน็ตแห่วิจารณ์ เห็นด้วย สมาพันธ์ชาวพุทธฯจี้ปลด "พงศ์พร" พ้นตำแหน่ง




ได้ติดตามอ่านข่าวจากไทยรัฐว่า สมาพันธ์ชาวพุทธฯ จี้ ปลด “พงศ์พร” พ้นตำแหน่ง ผอ.พศ.

เมื่อวันที่ 7 ส.ค.60 นายกรณ์ มีดี เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามที่เกิดกระแสความไม่สบายใจของคณะสงฆ์ต่อการทำงานของพ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)นั้น

ทางสมาพันธ์ชาวพุทธฯได้หารือกัน และออกเป็นมติ เรียกร้องให้นายออมสิน  ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนากรัฐมนตรี เปลี่ยนตัวผอ.พศ. โดยด่วน

เนื่องจากนายพงศ์พรไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ที่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผอ.พศ. ทำหน้าที่คือ
...................................................
1. เป็นผู้บริหารสูงสุดของพศ.
2. เป็นเลขาธิการมหาเถรสมาค ซึ่งมีหน้าที่ดูแล ส่งเสริม สนับสนุน มหาเถรสมาคม (มส.)พระสังฆาธิการ และพระสงฆ์ต่างๆ ทั่วประเทศ 
...................................................

             แต่พ.ต.ท.พงศ์พร  เมื่อได้รับการแต่งตั้งเข้ามา มีการทำงานข้ามขั้นตอน เช่น 


             ออกประกาศพศ. เรื่อง มาตราฐานสำนักเรียน และสำนักศาสนาศึกษา พ.ศ.2560 ทั้งๆ ที่การออกกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาบาลี และนักธรรม ต้องออกจากแม่กองบาลีสนามหลวง และแม่กองธรรมสนามหลวง หรือควรปรึกษาจนผ่านความเห็นชอบเสียกอ่น จึงเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง หากผอ.พศ. จะออกประกาศดังกล่าวเองโดยทันที

             ส่วนการตรวจสอบเงินอุดหนุนร.ร.พระปริยัติ แผนกสามัญศึกษา ปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีการทุจริตจริงหรือไม่อย่างไร แต่ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อคณะสงฆ์ที่เกี่ยวข้องไปแล้ว


อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1030434


____________________

             จากข่าวที่ออกมาทำให้ชาวพุทธเข้าไปออกความคิดเห็น ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยและทนไม่ได้ที่จะมีผอ.สำนักพุทธที่ขาดคุณสมบัติหลายประการ อีกทั้งยังมีกระแสว่าเป็นพราหมณ์ ไม่นับถือพระในมหาเถรสมาคมและกำลังมีแผนจะเล่นงานมส. ให้รับความเสียหาย ทำให้ชาวพุทธเสื่อมศรัทธาในมหาเถร และคณะสงฆ์

ตย. ความคิดเห็น







         "....ทั้งนี้หลังจากมีข่าวจี้ปลดผอ.พศ. เมื่อนักข่าวไปขอสัมภาษณ์ยังได้บอกว่า ตนจะไม่ท้วงติงอะไร ใครอยากจะทำอะไรก็ทำ ผู้ร้องก็สามารถร้องได้ ดีเหมือนกันจะได้พักผ่อน ...."



วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ชาวพุทธตอกกลับไพศาล อย่าทำลายพุทธศาสนา ดึงฟ้าสูงให้ต่ำ

คณะสงฆ์ไทยปกครองด้วย 
พระธรรมวินัย กฎหมาย 
และกฎมหาเถรสมาคม


 "มส.มีมติแต่งตั้งพระราชปริยัติสุนทรเป็นคณะจังหวัดฉะเชิงเทราชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎมหาเถรสมาคม"
............................................

กรณีมหาเถรสมาคมมีมติแต่งตั้งพระราชปริยัติสุนทร เป็นเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา (ฝ่ายมหานิกาย) ดำเนินถูกต้องตามกฎมหาเถรสมคม แต่กลับถูกพ.ต.ท.พงศ์พร พราหมเสน่ห์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ในฐานะเลขาธิการมส. ทำหนังสือกราบทูล สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อให้ทรงวินิจฉัยและขอโปรดมีพระบัญชาทบทวนมติดังกล่าว โดย พศ.อ้างว่ามีผู้ยื่นหนังสือถึง พศ. ขอให้พิจารณาอธิกรณ์พระราชปริยัติสุนทร เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหลายประการ


.......................
---อธิกรณ์จบไปแล้ว---

" พระธรรมวินัยระบุว่าอธิกรณ์ของพระที่จบไปแล้วจะรื้อฟื้นอีกไม่ได้ พระรูปใดรื้อฟื้นต้องอาบัติ !!!! "
.......................


ต่อมาพระพรหมเมธี กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะโฆษกมหาเถรสมาคม (มส.) แถลงว่า กรณีอธิกรณ์ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามทั้ง 7 รูป (พระราชปริยัติสุนทร เป็น 1 ใน 7 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขณะนั้น)   จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ ยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) มรณภาพ ที่ประชุมมส. จึงตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ท่านจึงเสนอ มส. คืนตำแหน่งแก่พระที่ถูกสอบทั้งหมด พระทั้งหมดจึงพ้นอธิกรณ์ ถือว่าไม่มีความผิด

" พระธรรมวินัยระบุว่าอธิกรณ์ของพระที่จบไปแล้วจะรื้อฟื้นอีกไม่ได้ พระรูปใดรื้อฟื้นต้องอาบัติ !!!! "
       


ดังนั้นการที่ มส.มีมติแต่งตั้งพระราชปริยัติสุนทรเป็นคณะจังหวัดฉะเชิงเทราจึงชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎมหาเถรสมาคม




แต่วันที่ 29 ก.ค.60 กลับมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Paisal Puechmongkol โพสต์ข้อความลักษณะให้คนอ่านเข้าใจว่า มส.อาจใช้มติเสียงข้างมากกลับพระวินิจฉัย โดยอ้างหน้าตาเฉยว่าเรื่องแบบนี้เคยเกิดกับสมเด็จพระญานสังวรณ์มาแล้วจากกรณีพระลิขิตกรณีพระธัมมชโย  แถมยังขู่ว่าพี่น้องทุกหมู่เหล่าต้องไม่ยอมให้ใครยึดอำนาจเหมือนคราวก่อน

ตาม พรบ.สงฆ์ฉบับปัจจุบัน มาตรา 8 ระบุว่า 

             “สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายก  ทรงบัญชาการคณะสงฆ์  และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช  โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย  พระธรรมวินัย  และกฎมหาเถรสมาคม”



"มส.มีมติแล้วว่าพระธัมมชโยไม่ผิด"
............................................

           ส่วนเรื่องพระลิขิตกรณีพระธัมมชโย มส.มีมติแล้วว่าพระธัมมชโยไม่ผิด ซึ่ง พศ.และ มส.ยืนยันว่า ใส่ใจในพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชมาตลอด แต่ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย  พระธรรมวินัย  และกฎมหาเถรสมาคม



หากผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Paisal Puechmongkol  ดื้อดึงไม่สนพระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎมหาเถรสมคม อาจสุ่มเสี่ยงให้พระสังฆราชทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง อันจะเป็นการดึงฟ้าสูงให้ต่ำ

         โปรดอย่าเอาพฤติกรรมแบบพวกคลั่งการเมือง เอากฎหมู่มาเหนือกฎหมาย ไม่ยึดหลักการแต่ยึดหลักกู มาทำลายพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของพวกพ้องตนเองอีกเลย


      ช่วยนำข้อความนี้ส่งต่อยังชาวพุทธให้เข้าใจหลักการ และอย่าหลงเชื่อข้อความในเฟจบุคของ Paisal Puechmongkol ซึ่งอาจนำมาให้เกิดการแตกแยกของคณะสงฆ์และชาวพุทธ !!!!!!!!!!!

ที่มา https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/1363302433768425

อ่านเพิ่มเติมข้อมูลมีประโยชน์


ตื่นเถิดชาวพุทธ กรณีพระลิขิต

มติ มส.พระธัมมชโย ไม่ปาราชิก ไม่ขัดต่อพระลิขิต 


มติ มส. ปิดมหากาพย์พระลิขิต


วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อ่านบทความนี้ จะกระจ่าง เงินทอนวัด กับ บาตรพระพุทธ

เป็นประเด็นมาร่วมเดือนแล้ว สำหรับศัพท์ใหม่อย่าง “เงินทอนวัด” ที่คนสมัยก่อนอาจไม่รู้จัก แต่ยุคนี้กลายเป็นคำฮิตติดหูขึ้นมา ทำเอาคนได้ยินคิดว่า เจ้าอาวาสวัดบางแห่งรวย แถมอาจติดเครดิตเป็นมาเฟียอีกต่างหาก

 แล้วยังอาจจะมีเอี่ยวแบ่งกันกินกันใช้กับเจ้าหน้าที่สำนักที่ได้ชื่อว่าเป็นเด็กวัดของพระพุทธศาสนาอีกด้วย ก็ไม่ทราบว่า ผู้ที่จุดไฟเรื่องนี้จนลุกพรึบขึ้นมามีจุดประสงค์อะไร ?

แต่สิ่งที่เกิดตามมาจากวาทกรรมดังกล่าวก็คือ วิกฤติศรัทธาที่อาจทำให้ชาวพุทธและไม่ใช่ชาวพุทธเสียโอกาสในการที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อดับทุกข์ทางใจในชีวิต!

จะว่าไป “เงินทอนวัด” ที่เป็นประเด็นขึ้นมา อาจสืบเนื่องมาจากเงินอุดหนุนวัดจากสำนักพระพุทธศาสนา บวกกับการแก้พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่ให้สำนักพระพุทธฯ 

มีอำนาจตรวจสอบบัญชีวัดและแจ้งความเอาผิดได้ จึงทำให้หน่วยงานของรัฐที่ใหญ่กว่า สำนักพุทธฯ ต้องการกางบัญชีวัดออกดูว่าวัดใดมีเงินมากน้อยเพียงใด ที่มาของเงินจากไหนบ้าง นำไปใช้อะไร

หากมองวิกฤติให้เป็นโอกาส นี่ก็เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ทำให้วัดตื่นตัวในเรื่องกิจการของสงฆ์ให้เปิดเผย ซึ่งปกติก็เปิดเผยอยู่แล้วมากมายหลายวัดและพระไม่ได้มีเงินไว้กับตัวหรือติดวัด 

แต่ท่านเป็นเพียงสะพานที่นำญาติโยมไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยอาศัยปัจจัยที่ญาติโยมทำบุญมาคนละเล็กละน้อยแปรเปลี่ยนเป็นอาสนะ กุฏิ ที่พักอาศัย ห้องน้ำ ศาลาฟังธรรม ค่าน้ำ ค่าไฟ และการซ่อมบำรุงวัดที่ต้องมีการรักษาดูแลเป็นปกติวิสัย

หากมองภาพรวมของวัดประมาณ ๔๐,๐๐๐ กว่าวัดทั่วประเทศ กับตัวเลขที่วัดได้รับงบประมาณจากสำนักพระพุทธฯ ปีหนึ่งๆ ประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งตัวเลขกลมๆ ที่นำมาอุดหนุนวัดประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งอาจมีเพียงประมาณ ๔,๐๐๐ วัด ที่จะได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักพระพุทธฯ

ยิ่งเมื่อมีการเฉลี่ยลงไปในสำนักพระพุทธฯ ระดับจังหวัด วัดที่ได้รับเงินอุดหนุนก็จะถูกเฉลี่ยไปโดยจำนวนเงินที่ทอนลงมาเรื่อยๆ ก็จะเหลือเงินอุดหนุนประมาณวัดละ ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทเท่านั้น แล้ววัดที่อยู่ได้โดยไม่ต้องมีเงินอุดหนุนจากอีกประมาณ ๓๕,๐๐๐ วัด มาจากไหน

“ศรัทธาชาวบ้าน” คือ คำตอบ!

ไม่ว่าจะเป็นวันนี้ หรือกี่ร้อยปีก่อน แม้ถอยไปไกลกว่านั้นกว่าสองพันปี ก็ยังคงเป็นคำตอบเดียวกัน ที่ทำให้คนรุ่นเราได้อานิสงส์ความร่มเย็นจากบวรพระพุทธศาสนาอย่างครบถ้วน ไม่แตกต่างจากสมัยพุทธกาลเลยแม้แต่น้อย

และโดยอาศัยศรัทธาชาวบ้านนี่เองที่บำรุงหล่อเลี้ยงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปได้อีกยืนยาว

การหล่อเลี้ยงพระเณรในพระพุทธศาสนาจากศรัทธาชาวบ้านมีกุศโลบายมากมาย หากย้อนกลับไปดูวัดในต่างจังหวัด วันพระจะเห็นที่ศาลาโรงฉัน จะมีบาตรหนึ่งใบเรียกว่า “บาตรพระพุทธ” เป็นบาตรเปล่าที่ตั้งไว้เพื่อให้ญาติโยมใส่ปัจจัยคือ “เงิน” 

ลงไปเพื่อให้วัด พระ ใช้จ่ายในเรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในวัด อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซ่อมบำรุงเสนาสนะ เป็นต้น ซึ่งคนมาทำบุญที่วัดในวันพระก็จะทำบุญคนละบาท สิบบาท 

รวบรวมได้ในวันพระร้อยสองร้อยบาทก็เพียงพอที่จะใช้จ่ายในส่วนดังกล่าว ซึ่งไม่เคยเป็นภาระของรัฐในการที่จะต้องมาดูแลรายละเอียดของวัด แต่กลับเป็นฐานที่สร้างความมั่นคงให้พระพุทธศาสนาเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้มีทุกข์ให้หลายทุกข์ได้สืบต่อมา 

และยังเกื้อกูลให้พระเณรได้บวชเรียนอย่างไม่ขาดสายมาจนถึงทุกวันนี้ จะเรียกว่า นี่คือความอัศจรรย์ในภูมิปัญญาของคนโบราณยิ่งนัก

วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ธรรมิกสูตร ภัยพิบัติ เกิดจากผู้นำไม่มีศีลธรรม

ธรรมิกสูตร ภัยพิบัติ เกิดจากผู้นำไม่มีศีลธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย..

สมัยใดพระราชา
เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้น ....
แม้พวกข้าราชการ 
ก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม 


เมื่อพวกข้าราชการ
ไม่ตั้งอยู่ในธรรม 
สมัยนั้น...
แม้พราหมณ์และคฤหบดี 
ก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม


เมื่อพราหมณ์และคฤหบดี
ไม่ตั้งอยู่ในธรรม 
สมัยนั้น...
แม้ชาวนิคมและชาวชนบท 
ก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม


เมื่อชาวนิคมและชาวชนบท
ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
พระจันทร์ และพระอาทิตย์
ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ 


เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์
หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ 
หมู่ดาวนักษัตร
ก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ 


เมื่อคืนและวันหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ 
เดือนหนึ่งและกึ่งเดือน
ก็หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ 


เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือน
หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ 
ฤดูและปีก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ


เมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ 
ลมย่อมพัดไม่สม่ำเสมอ 


เมื่อลมพัดไม่สม่ำเสมอ 
ลมก็เดินผิดทางไม่สม่ำเสมอ ย่อมพัดเวียนไป 


เมื่อลมเดินผิดทางไม่สม่ำเสมอพัดเวียนไป 
เทวดาย่อมกำเริบ 


เมื่อเทวดากำเริบ
ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล


เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล 
ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่เสมอกัน 


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มนุษย์ผู้บริโภคข้าวที่สุกไม่เสมอกัน 
ย่อมเป็นผู้มีอายุน้อย 
มีผิวพรรณเศร้าหมอง
มีกำลังน้อย มีอาพาธมาก



ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
สมัยใด พระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้น แม้ข้าราชการก็ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม 


เมื่อข้าราชการตั้งอยู่ในธรรม
สมัยนั้น แม้พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม 


เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีตั้งอยู่ในธรรม 
สมัยนั้น 
แม้ชาวนิคมและชาวชนบท ก็ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม 


เมื่อชาวนิคมและชาวชนบทเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม 
พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ 


เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์หมุนเวียนสม่ำ
เสมอกัน หมู่ดาวนักษัตรก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ 


เมื่อหมู่ดาวนักษัตรหมุนเวียนสม่ำเสมอ 
คืนและวันก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ 


เมื่อคืนและวันย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ 
เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอกัน 


เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหมุนเวียนสม่ำเสมอ 
ฤดูและปีก็ย่อมหมุนเวียนไปสม่ำเสมอ 


เมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไปสม่ำเสมอกัน 
ลมย่อมพัดสม่ำเสมอ


เมื่อลมพัดสม่ำเสมอ 
ลมย่อมพัดไปถูกทาง 


เมื่อลมพัดไปถูกทาง 
เทวดาย่อมไม่กำเริบ


เมื่อเทวดาไม่กำเริบ
ฝนย่อมตกต้องตามฤดูกาล 


เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล 
ข้าวกล้าก็สุกเสมอกัน 


ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
มนุษย์ผู้บริโภคข้าวกล้าที่สุกเสมอกัน 
ย่อมมีอายุยืน 
มีผิวพรรณดี มีกำลัง 
และมีอาพาธน้อย ฯ


                          
เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่
ถ้าโคผู้นำฝูงไปคด 
โคเหล่านั้นย่อมไปคดทั้งหมด 
ในเมื่อโคผู้นำไปคด 


ในมนุษย์ก็เหมือนกัน
ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ 
ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรม  
ประชาชนนอกนี้
ก็จะประพฤติอธรรมเหมือนกัน 
แว่นแคว้นทั้งหมด
จะได้ประสบความทุกข์ 


ถ้าพระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม 
เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ 
ถ้าโคผู้นำฝูงไปตรง 
โคเหล่านั้นย่อมไปตรงทั้งหมด 
ในเมื่อโคผู้นำไปตรง 


ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน 
ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ 
ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม 
ประชาชนนอกนี้
ย่อมประพฤติธรรมเหมือนกัน 


แว่นแคว้นทั้งหมด
ย่อมได้ประสบความสุข 
ถ้าพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ฯ


วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

แฉธรรมกาย !!! สอนให้ทำบุญจนหมดตัวจริงหรือ .. ถือว่าสอนผิดหรือไม่ ?



วัดพระธรรมกายสอนให้ทำบุญจนหมดตัว
จริงหรือ ?????

.......................
อยู่ในกระแส ที่มีแต่คนพูดถึงว่าวัดพระธรรมกายสอนให้คนทำบุญจนหมดตัวบ้างล่ะ ปิดบัญชีทำบุญบ้างล่ะ อยากให้อ่านอีกหนึ่งความคิดนะ แล้วลองพิจารณาตัดสินเอง
.......................


ในอรรถกถา... มหาเวสสันดรชาดก 
ว่าด้วย 
พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี


ได้พูดไว้ชัดถึงเรื่องการทำทานในชาติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเกิดเป็นพระเวสสันดร ที่พระองค์ทำบุญบริจาคแม้กระทั่งบุตรและภรรยา ตรงนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ท่านทำบุญ ยิ่งกว่าหมดเนื้อหมดตัวเสียอีก 

      "เพราะพระองค์ให้ความสำคัญกับการสร้างมหาทานบารมีอย่างยิ่งยวด เพื่อให้มีบุญมากพอที่จะหมดกิเลสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว ก็จะได้กลับมาโปรดบุตรภรรยา และสรรพสัตว์จำนวนมากให้หมดกิเลส พ้นทุกข์ตามพระองค์ไปด้วย" 


ดังนั้น การทำบุญที่ทุ่มเทเอาชีวิตเป็นเดิมพัน สละสิ่งที่สละได้ยากขนาดนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแต่ประการใด

อีกทั้งใครจะทำบุญน้อย ..
ทำบุญมาก ..
ทำบุญตามกำลังศรัทธา ..
เต็มกำลังศรัทธา ..
ก็ไม่มีใครผิดทั้งนั้น ..


แต่ขึ้นกับการตั้งความปรารถนาในการสร้างบารมี หรือการออกแบบชีวิตในชาติหน้าของแต่ละคนว่าจะเลือกระดับไหน อยากมีชีวิตเป็นอย่างไรก็เท่านั้นเอง... 


          เช่น... บางคนอยากรวยมาก เพราะคิดว่าเมื่อมีทรัพย์แล้วจะได้สะดวกสบาย ไม่ต้องกังวลเรื่องการทำมาหากิน เพื่อเอาเวลามาสร้างบุญบารมีอย่างเดียว กลุ่มคนพวกนี้เขาก็จะเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำบุญ 
          แต่ถ้าบางคนอยากมีแค่พอมีพอกิน เขาก็ทำแค่พอประมาณหรือ
... บางคนไม่คิดว่าความรวยสำคัญ เขาก็ทำทานน้อย ซึ่งตรงนี้จะไปบังคับใครไม่ได้ แล้วแต่การวางแผน ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์เลือกไม่เหมือนกัน


ฉะนั้น.... ก่อนจะเชื่อตามข่าวที่หาว่าวัดพระธรรมกายสอนผิด ก็อยากให้เปิดพระไตรปิฎกศึกษาอย่างจริงจังกันก่อน จะได้ไม่พลาดก้าวล่วงสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนโดยไม่รู้ตัว


........................
ขอขอบคุณภาพจาก Nation photo

วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

73 ปี 73 เรื่องราวดีๆ ของหลวงพ่อธัมมชโย


1. หลวงพ่อธัมมชโยอายุ 73 ปีแล้ว ท่านตั้งใจบวชตลอดชีวิต ปัจจุบันท่านบวชได้ 47 พรรษา 

2. วัดพระธรรมกาย มี ผู้สอบผ่าน บาลี ปธ.9 จำนวน 71 รูป มาเป็นอันดับต้นๆของประเทศ 


3. วัดพระธรรมกาย เป็นแชมป์สอบผ่านบาลีมากที่สุดในประเทศไทยติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี


4. วัดพระธรรมกาย มีพระภิกษุและสามเณร ประจำกว่า 2,000 รูป มากที่สุดในประเทศไทย


5. วัดพระธรรมกาย มีพระภิกษุที่เป็นสัทธิวิหาริก กว่า 5,000 รูป ทั่วโลก 


6. วัดพระธรรมกาย มีพระภิกษุ จบปริญญาเอก กว่า 12 รูป


7. วัดพระธรรมกาย จัดสอบตอบแข่งขันปัญหาธรรมะให้กับเยาวชน ปีละ 3-5 ล้านคน 


8. วัดพระธรรมกาย จัดบวชพระ มาแล้วกว่า 150,000 รูป 


9. วัดพระธรรมกาย จัดตักบาตรมาแล้วกว่า 1,200,000 รูป 


10. วัดพระธรรมกาย จัดบวชอุบาสิกาแก้ว อบรมศีลธรรมให้ประชาชนหญิง กว่า 1 ล้านคน 


11. วัดพระธรรมกาย จัดบวชอุบาสกแก้ว ให้กับประชาชนชน กว่า 100,000 คน 


12. วัดพระธรรมกาย มีอุบาสกอุบาสิกา ถือศีล 8 อุทิศตนช่วยงานพระพุทธศาสนาประจำที่วัด กว่า 800 คน 


13. วัดพระธรรมกาย จัดกิจกรรมส่งเสริมศีลธรรมเยาวชน (เด็กดีวีสตาร์) กว่า 1 ล้านคน 


14. วัดพระธรรมกาย มีวัดสาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนาและสมาธิ ในต่างประเทศ กว่า 80 แห่ง ทุกภูมิภาคทั่วโลก 


15. วัดพระธรรมกาย มีบุคลากรทั้งพระภิกษุ อุบาสกอุบาสิกา ที่จบปริญญาตรี กว่า 1,000 รูป/คน 


16. วัดพระธรรมกาย มีสาธุชน เข้าวัดมาฟังธรรม ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ ในวันธรรมดา กว่า 3,000 คน 


17. วัดพระธรรมกาย มีสาธุชน เข้าวัดมาฟังธรรม ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ ในวันพระ กว่า 5,000 คน 


18. วัดพระธรรมกาย มีสาธุชน เข้าวัดมาฟังธรรม ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ ในวันอาทิตย์ กว่า 10,000 คน 


19. วัดพระธรรมกาย มีสาธุชน เข้าวัดมาฟังธรรม ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือวันงานบุญใหญ่ของวัด กว่า 100,000 -300,000 คน 


20. หลวงพ่อธัมมชโย นำธรรมะจากพระไตรปิฎก มาบรรยายทางสถานีวิทยุ ผ่านรายการ "ธรรมะเพื่อประชาชน" กว่า 1,000 เรื่อง


21. สร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์ เพื่อประดิษฐานองค์พระตัวแทนพระสัมมาพุทธเจ้า 1 ล้านองค์


22. สร้างลานธรรมและวิหารคด เพื่อรองรับคนนั่งสมาธิจากทั่วโลกได้พร้อมกันทีเดียวถึง 1 ล้านคน


23. สร้างสภาธรรมกายสากล (ศาลาวัด) รองรับคนนั่งสมาธิพร้อมกันทีเดียวได้ 300,000 คน


24. หล่อรูปเหมือนหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ขนาด 1 เท่าครึ่ง ด้วยทองคำบริสุทธิ์ เพื่อบูชาครูบาอาจารย์ ถึง 8 องค์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หลวงปู่วัดปากน้ำ ได้แก่ 1.บ้านเกิด 2.วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี


3.วัดโบสถ์ (บน) ต.บางคูเวียง จ.นนทบุรี 4.วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม 5.คลองบางนางแท่น 6.วัดปากน้ำ 7.วัดพระธรรมกาย และ 8.เพื่อนำขบวนพระธุดงค์ธรรมชัย


25. สถาปนาอนุสรณ์สถานหลวงปู่วัดปากน้ำ แห่งที่ 1 (บ้านเกิดหลวงปู่) เพื่อระลึกถึงและบูชาคุณงามความดีของหลวงปู่วัดปากน้ำ ณ มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 


26. สถาปนาอนุสรณ์สถานหลวงปู่วัดปากน้ำ แห่งที่ 2 (วัดที่หลวงปู่บวช) ณ วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 


27. สถาปนาอนุสรณ์สถานหลวงปู่วัดปากน้ำ แห่งที่ 3 (วัดที่บรรลุธรรม) ณ วัดโบสถ์ (บน) ต.บางคูเวียง จ.นนทบุรี


28. สถาปนาอนุสรณ์สถานหลวงปู่วัดปากน้ำ แห่งที่ 4 (วัดที่สอนสมาธิครั้งแรก) ณ วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม 


29. สถาปนาอนุสรณ์สถานหลวงปู่วัดปากน้ำ แห่งที่ 5 (สถานที่ตัดสินใจบวชตลอดชีวิต) ณ คลองบางนางแท่น


30. อนุสรณ์สถานหลวงปู่วัดปากน้ำ แห่งที่ 6 ณ วัดปากน้ำ ประดิษฐานรูปหล่อทองคำ ณ พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล 


31. สถาปนาอนุสรณ์สถานหลวงปู่วัดปากน้ำ แห่งที่ 7 วัดพระธรรมกาย ณ มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี 


32. สร้างรูปเหมือนคุณยายอาจารย์ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ด้วยทองคำบริสุทธิ์ 3 องค์ ประดิษฐาน ณ มหาวิหารคุณยายอาจารย์ฯ, อาคารหนึ่งไม่มีสอง, อาคาร 100ปีคุณยายอาจารย์ฯ 


33. สร้าง “มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง” เพื่อบูชาธรรมผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย


34. สร้าง “หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง” เพื่อบูชาธรรมคุณยายอาจารย์ฯ


35. สร้าง “อาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง” เพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก 


36. สร้าง “อาคารหนึ่งไม่มีสอง” เพื่อบูชาธรรมคุณยายอาจารย์ฯ


37. ส่งเสริมโครงการวิสาขบูชานานาชาติ เช่น มองโกเลีย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย,เยอรมนี เป็นต้น


38. ตั้งโครงการ 323 วัด ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อช่วยคณะสงฆ์และผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ปีที่ 13 ครั้งที่ 125 แล้ว 


39. มอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ 10 จำนวน 30,000 กว่ากองทุน เป็นเงินกว่า 60 ล้านบาท 


40. ให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของเจ้าหน้าที่ของวัด กว่า 100 ทุน/ปี


41. ให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนผู้สนใจศึกษาธรรมะตามพุทธวิธีในโครงการเด็กดีวีสตาร์ กว่า 10,000 ทุน/ปี


42. ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม เพื่อส่งเสริมการศึกษาบาลี


43. ตั้งโรงเรียนพระปริยัติสามัญ เพื่อส่งเสริมการศึกษาบาลี


44. ตั้งสำนักเรียนพระอภิธรรม วัดพระธรรมกาย 


45. จัดโครงการอบรมธรรมทายาทระดับอุดมศึกษา


46. จัดโครงการอบรมมัชฌิมธรรมทายาทชาย


47. จัดโครงการอบรมยุวธรรมทายาท


48. จัดโครงการอบรมธรรมทายาทหญิงระดับอุดมศึกษา


49. จัดโครงการอบรมมัชฌิมธรรมทายาทหญิง


50. จัดโครงการอบรมยุวกัลยาณมิตร


51. จัดโครงการบวชบูชาธรรมหลวงปู่วัดปากน้ำ


52. อนุญาตโครงการบวชบูชาธรรมหลวงพ่อธัมมชโย


53. จัดโครงการบวชบูชาธรรมหลวงพ่อทัตตชีโว


54. จัดโครงการบวชบูชาธรรมคุณยายอาจารย์


55. ดำริโครงการบวชแสนรูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย 


56. ดำริโครงการบวชสามเณร 1 ล้านรูปทั่วไทย 


57. จัดโครงการอบรมสัมมนาพระกัลยาณมิตร อบรมไปแล้วกว่า 5,000 รูป


58. ตั้งโครงการบ้านกัลยาณมิตร เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนสวดมนต์ นั่งสมาธิ ถือศีล 5 พร้อมกันที่บ้านทั้งครอบครัว กว่า 100,000 ครอบครัว


59. ตั้งโครงการบ้านแสงสว่าง เพื่อเชิญชวนให้เยาวชนสวดมนต์ นั่งสมาธิ ถือศีล 5 ที่บ้านพร้อมผู้ปกครอง กว่า 10,000 ครอบครัว


60. จัดโครงการทำบุญปุพพเปตพลี (อุทิศส่วนกุศลให้หมู่ญาติ) ทุกวันพระ


61. จัดโครงการบูชาพระมหาธรรมกายเจดีย์ทุกวัน


62. จัดโครงการถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน แด่พระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติธรรม ณ หอฉันคุณยายอาจารย์ฯ ทุกวัน


63. จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติทั่วประเทศ


64. จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติต่างประเทศ เช่น เมียนมาร์, เนปาล เป็นต้น


65. จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ในจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ 


66. จัดโครงการธุดงค์ธรรมชัย ฟื้นฟูวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง


67. จัดโครงการธุดงค์ธรรมชัย สถาปนาเส้นทางพระผู้ปราบมาร


68. จัดโครงการปฏิบัติธรรมธุดงค์แก้ว ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ 


69. จัดโครงการนั่งสมาธิ 24 น.


70. จัดโครงการปฏิบัติธรรม สำหรับสาธุชน ทุกวันอาทิตย์


71. จัดโครงการปฏิบัติธรรม สำหรับชาวต่างประเทศ ทุกปี 


72. จัดโครงการผลิตสื่อธรรมะเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์, วิทยุ, ดาวเทียม, เว็บไซท์ ฯลฯ 24 น. 


73. วัดพระธรรมกาย จัดสวดบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นแม่บทของทางพระพุทธศาสนา 46,464,646 จบ ในวันคุ้มครองโลก 22 เมษา 2560


Cr. สำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกาย