วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

อุบาสิกาสำคัญในสมัยพุทธกาล

"ยอดอุปัฏฐายิกา"

       

      คำว่า  "อุบาสิกา" หมายถึง หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย , คนใกล้ชิดพระ ศาสนาที่เป็นหญิงที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ


         ปฐมอุบาสิกา หรืออุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนา คือภริยาเก่าของพระยส และนางสุชาดา เรื่องมีอยู่ว่าหลังจากที่ยสะกุลบุตร ได้ฟังธรรมและได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วท่านจึงทูลขอบวช  เช้าวันรุ่งขึ้นพระพุทธเจ้าและพระยสะได้เข้าไปรับภัตตาหารที่บ้านบิดาท่านยสะกุลบุตร มารดาท่านยสะ และภริยาเก่าของท่านยสะได้สดับพระธรรมเทศนาจนได้ดวงตาเห็นธรรมแสดงตนเป็นอุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนา
         
              อุบาสิกาสองผู้อัครอุปัฏฐายิกา (ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณรที่เป็นหญิง) คือนันทมารดา และอุตราอุบาสิกา





             อุตตรานันทมาตาอุบาสิกา เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณเป็นบุตรสาวของนายปุณณะ ผู้ไถนาเป็นทองคำ  พระบรมศาสดาอาศัยเหตุที่นางอุตตราเป็นผู้เชี่ยวชาญใน การเข้าฌาน จึงประกาศยกย่องให้นางเป็นอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้เพ่งด้วยฌาน หรือผู้เข้าฌาน

           นกุลมารดา เรื่องราวของนางกล่าวถึงใน "นกุลบิดา" ท่านนกุลมารดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดา อุบาสิกาผู้สนิทสนมคุ้นเคย

           นันทมารดา เป็นอุบาสิกาสองผู้อัครอุปัฏฐายิกา เป็นอนาคามีคือพระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอนาคามิผล (ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์คือ กามราคะ และปฏิฆะ ด้วยทางปฏิบัติ เพื่อบรรลุผลเป็นผู้ชำนาญในฌาน ๔ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะทางบำเพ็ญ         
     



            วิสาขา เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐีและนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะในแคว้นอังคะ ได้บรรลุโสดาปัตติผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามาอยู่ที่เมืองสาเกต แคว้นโกศล แล้วได้สมรสกับพุตรชายมิคารเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีและย้ายไปอยู่ในตระกูลฝ่ายสามี นางวิสาขาสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามีซึ่งนับถือพระพุทธศาสนามิคารเศรษฐี นับถือนางมากและเรียกนางวิสาขาเป็นแม่ นางจึงได้ชื่อใหม่อีกอย่างหนึ่งว่า "มิคารมารดา"
            นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมายและได้ให้ขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงานซึ่งมีแลค่าสูงยิ่ง นำเงินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพาราม ณ พระนครสาวัตถี อยู่ใกล้ชิดกับมหาวิหารเชตวันที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย
            นางวิสาขามีบุตรหลานมากมายล้วนมีสุขภาพดีแทบทั้งนั้น แม้นางจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี ก็ดูไม่แก่ และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม ได้รับการยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาทายิกาทั้งปวง (ทายิกา = ผู้ให้)




             สุชาดา เป็นธิดาของผู้มีทรัพย์ซึ่งเป็นนายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา นางได้ตั้งปณิธานบูชาเทพารักษ์ไว้ว่า ขอให้นางได้สามีที่มีตระกูลเสมอกัน และขอให้ได้บุตรคนแรกเป็นชาย ครั้นได้สามีและบุตรสมที่นึกปราถนา นางจึงหุงข้าวมธุปายาสนำไปบวงสรวง เทพารักษ์ที่ได้บนบานไว้ ในยามเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พระมหบุรุษประทับนั่ง ณ ควงไม้นิโครธพฤกษ์ ควงไม่ไทรต้นที่นางสุชาดาบนบานไว้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวปายาสแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่ตรัสรู้ ด้วยความเข้าใจว่าพระองค์เป็นรุขเทวดาโดยแท้
            บุตรชายของนางสุชาดาชื่อยสะ ซึ่งต่อมาออกบวชเป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๖ ในพระพุทธศาสนา นางสุชาดาได้เป็นปฐมอุบาสิกาพร้อมกับภรรยาเก่าของพระยสะ ส่วนสามีของนางได้เป็นอุบาสสกที่ถึงสรณะครบ ๓ คือ พระรัตนตรัยเป็นคนแรก นางสุชาดาได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาผู้ถึงสรณะเป็นปฐม

อ้างอิง http://www.dhammathai.org/buddha/g32.php




Related Posts

อุบาสิกาสำคัญในสมัยพุทธกาล
4/ 5
Oleh

Subscribe via email

Like the post above? Please subscribe to the latest posts directly via email.