เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์)
......................................
ถ้าหลวงพี่ได้นิสัยรักการอ่านมาจากโยมแม่แล้วหลวงพี่ถ่ายทอดอะไรมาจากโยมพ่อ? ต้องบอกว่ามากมายทีเดียว จะค่อยๆเล่าให้ฟังไปทีละอย่างสองอย่างนะ..
เวลาโยมพ่อขับรถออกต่างจังหวัดสมัยหลวงพี่ยังตัวเล็กๆ ท่านชอบเอาหลวงพี่นั่งตัก เวลาถนนว่างๆบางครั้งท่านจะเหยียบครัชแล้วให้หลวงพี่เปลี่ยนเกียร์ บางทีท่านก็ให้หลวงพี่บังคับพวงมาลัยโดยท่านคอยประคอง ท่านคงไม่ได้ตั้งใจสอนหลวงพี่หรอกเพราะหลวงพี่ยังเล็กมาก แต่ท่านก็มักจะพูดถึงเรื่องการขับรถอย่างถูกต้องและปลอดภัยเพราะท่านเรียนช่างยนต์มาโดยตรง หลวงพี่ได้ยินบ่อยๆก็ค่อยๆซึบซับ ครั้งหนึ่งท่านชมน้าเขยว่าขับรถดีนั่งสบาย เวลาเปลี่ยนเกียร์รถไม่มีกระตุกเลย หลวงพี่จึงจำฝังใจว่าการขับรถที่ดีคือต้องให้ผู้โดยสารสบาย อย่าขับกระชาก เปลี่ยนเกียร์ก็อย่าให้รถกระตุก ภายหลังเมื่อหลวงพี่หัดขับรถจึงพยายามฝึกให้ได้อย่างที่โยมพ่อสอน
.. ก็ฝากไว้กับคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายอย่าคิดว่าลูกยังเล็ก เราจะพูดจะทำอะไรก็ได้ ลูกไม่รู้เรื่องหรอก .. รู้
ครั้งหนึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะชีโวท่านเดินทางไปเยี่ยมญาติโยมที่ญี่ปุ่น ในขณะที่หลวงพี่ยังทำงานอยู่ที่นั่น พระอาจารย์ที่ศูนย์ฯมอบหมายให้หลวงพี่ทำหน้าที่สารถีให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่าน หลวงพี่รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ตอบรับไปด้วยความปลื้มใจ แต่ก่อนพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านจะเดินทางมาถึงไม่กี่วัน หลวงพี่ประสบอุบัติเหตุขณะขับรถสกูทเตอร์ถึงกับต้องเข้าเฝือก อดได้บุญใหญ่เลย
มีเหตุการณ์หนึ่งหลวงพี่จำได้ไม่ลืม ตอนยังอยู่เชียงใหม่คืนนั้นเราเดินทางจากอำเภอแม่แตงกลับเข้าแค้มป์กลางป่า โยมพ่อเป็นคนขับ หลวงพี่นั่งด้านหน้ากับท่านกับใครอีกก็จำไม่ได้แล้ว ที่กระบะด้านท้ายรถมีผู้โดยสารอีกหลายคน ขณะรถกำลังลงจากดอยสูงชัน ด้านหนึ่งติดเขาอีกด้านหนึ่งเป็นเหว หลวงพี่ได้ยินเสียงลมจากเบรคดังเป็นระยะๆ ซึ่งก็เป็นปกติของรถใหญ่ๆที่มีหม้อลมเบรค แต่แล้วก็รู้สึกว่ารถเพิ่มความเร็วขึ้น ทันใดนั้นโดยไม่ได้บอกกล่าวอะไรเลย โยมพ่อหักพวงมาลัยเข้าชนภูเขา ผู้โดยสารไม่รู้ตัวก็กระแทกเข้ากับตัวรถ มีหัวแตกหัวโนกันบ้างเล็กน้อย มารู้ตอนหลังว่าหม้อลมเบรคมีปัญหากระทันหัน โยมพ่อท่านรู้แล้วแต่ไม่ได้บอกให้ใครขวัญเสีย ท่านพยายามประคองจนสุดความสามารถ จนถึงจุดที่เหมาะสมท่านก็หักรถเข้าชนข้างทางให้รถหยุด ท่านบอกว่าถ้าเลยตรงนั้นไปก็เอาไม่อยู่แล้วอาจจะบาดเจ็บล้มตายกันทั้งหมด ... นี่คือการรวมเอาความรู้ ประสบการณ์ ความรับผิดชอบ และการตัดสินใจมาใช้ในนาทีคับขันของโยมพ่อ จนพวกเราปลอดภัยกันทั้งหมด
ด้วยความรู้ที่ได้จากโยมพ่อ และนิสัยรักความสะอาดที่เรียนรู้จากวัดพระธรรมกาย สมัยที่หลวงพี่ทำงานและขับรถเอง แม้จะซ่อมรถไม่เป็นเหมือนโยมพ่อ แต่หลวงพี่ก็รักและดูแลรักษารถยนต์ (จริงๆแล้วก็ข้าวของแทบทุกอย่างนั่นแหละ) อย่างดีที่สุด ตอนสายวันเสาร์คือเวลาของการทำความสะอาดรถครั้งใหญ่ประจำสัปดาห์ ล้างจนรถสะอาดเอี่ยมไม่ต้องพึ่งคาร์แคร์ ทำบ่อยๆจนคุ้นมันก็ไม่ได้ใช้เวลาอะไรมากมาย จำได้ถึงความสุขใจตอนล้างรถเสร็จ มันเป็นความรู้สึกที่คนไม่ชอบล้างรถเองจะอดได้สัมผัส ทุกวันเมื่อกลับถึงบ้าน ถ้าไม่ดึกหรือเหนื่อยเกินไป หลวงพี่จะปัดฝุ่นและเม็ดทรายออกแล้วเอาผ้าหมาดๆลูบรถ แค่ไม่กี่นาทีมันก็สะอาด จนเพื่อนที่ทำงานสงสัยว่าหลวงพี่ล้างรถทุกวันเลยหรือ และก่อนออกรถทุกเช้าหลวงพี่ต้องเปิดฝากระโปรงรถดูระดับสารพัดของเหลว ตรวจดูความเรียบร้อยของทุกอย่างด้วยสายตา และเข้าเช็คที่ศูนย์ตามระยะสม่ำเสมอ การเรียนสายช่างมาทำให้หลวงพี่มีเครื่องมือที่จำเป็นครบ และดูแลทำความสะอาดรักษาเครื่องมืออย่างดี การทำเช่นนี้นอกจากจะทำให้ใจสบายแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้เป็นอย่างมาก
ที่อุ้มผางชาวบ้านนิยมใช้รถไถแบบเดินตาม ใช้งานได้หลากหลาย ดัดแปลงหน่อยเดียวก็กลายเป็นเครื่องสูบน้ำ หรือเครื่องปั่นไฟ เป็นได้กระทั่งยานพาหนะ ใช้ขนปุ๋ยและผลิตผลการเกษตร ใช้ขนไม้ลากไม้ไผ่ ตามป่าตามเขาที่รถธรรมดาไปไม่ได้ แต่ “รถอีต๊อก” มักจะไปได้ เคยได้ยินว่าชาวบ้านคนหนึ่งอุตส่าห์ไปถอยอีต๊อกคันใหม่มาใช้งาน แต่ไม่นานเท่าไหร่รถก็พัง เมื่อเอาไปซ่อม ช่างถามว่าเคยเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ้างไหม เจ้าของรถตอบว่า อ้าวต้องเปลี่ยนด้วยหรือ? เงินก้อนพร้อมจะกระโดดออกจากกระเป๋าเสมอสำหรับคนที่ไม่รู้จักดูแลรักษาสมบัติ แต่ที่วัดนั้นคนหาและคนจ่ายมักจะเป็นคนเดียวกัน .. เจ้าอาวาส
ช่วงลงหลักปักฐานที่เขาวงพระจันทร์นี้ รถเช่าคันเดิมซึ่งเป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อไปรับงานที่อื่น น้องผู้ประสานงานเลยติดต่อหาเช่ารถพร้อมคนขับมาให้จากส่วนกลาง หลวงพี่พยายามจะให้ได้รถขับเคลื่อนสี่ล้อแต่หาไม่ได้ แต่ถึงแม้รถเช่าคันใหม่จะไม่ใช่ 4x4 แต่สิ่งที่ได้มาทดแทนก็คือสารถีแก้ว สารถีคนนี้เป็นคนอีสาน ขับรถเก่งมาก (ถ้าโยมพ่อยังมีชีวิตอยู่ก็คงชมว่า เออ.. ไอ้คนนี้ขับรถใช้ได้) และไม่มีข้ออ้างข้อแม้อะไรเลย ภารกิจของหลวงพี่นั้นไม่มีวันหยุด และไม่มีเวลาตายตัว เช้า สาย บ่าย ค่ำ กลางวันกลางคืน กลางดึกกลางดื่น บางครั้งต้องขับรวดอุ้มผางถึงวัดพระธรรมกาย บ่อยครั้งที่ไม่มีกำหนดการล่วงหน้า แต่สารถีคนนี้ก็ยิ้มรับทุกภารกิจอย่างเต็มใจ คนขับรถทั่วไปมักจะขับรถอย่างเดียว (อ้าวก็จ้างมาขับรถไม่ใช่เหรอ?) ถ้าดีขึ้นอีกหน่อยก็คือบำรุงรักษาดูแลความสะอาดของรถ แต่สารถีคนนี้ทำได้ดีกว่านั้นมาก เมื่อว่างจากขับรถเขาจะหางานอื่นทำเองเช่นตัดหญ้า ช่วยเป็นหูเป็นตาดูแลสมบัติพระศาสนา มีความซื่อสัตย์ ถ้าจะเอารถไปทำธุระส่วนตัวจะขออนุญาตก่อน และจะถวายค่าน้ำมันรถคืนเสมอ เวลาใครจะใช้ให้ขับรถไปไหน เขาจะถามทุกครั้งว่าขออนุญาตพระอาจารย์หรือยัง เพราะหลวงพี่สอนเขาว่าสตาร์ทรถยนต์เมื่อไหร่ก็เสียเงินเมื่อนั้นต้องช่วยกันประหยัด แถมมีมนุษยสัมพันธ์ดี วางตัวได้เหมาะสมกับทุกคน และทำหน้าที่เป็นอุปัฏฐากบางครั้งก็เป็นบอดี้การ์ดให้หลวงพี่ด้วย ทำให้เป็นที่รักของทุกคน แม้ค่าเช่าค่าจ้างทั้งรถและคนจะสูงกว่าคันแรก แต่ก็เป็นอัตรามาตรฐาน โดยภาพรวมแล้วต้องเรียกว่าเป็นสารถีแก้วคู่ใจหลวงพี่ทีเดียว .. ภายหลังแม้มีรถเองแล้วอยากจะจ้างแต่คนขับ แต่เขาต้องผ่อนรถ หลวงพี่ก็ยินดีจ่ายทั้งรถทั้งคนเหมือนเดิม
เป็นที่น่าเสียดาย ด้วยปัญหาส่วนตัวบางอย่างของเขา (และหลวงพี่คงทำบุญด้านบริวารสมบัติมาไม่ดีพอ) สารถีคนนี้ทำงานอยู่กับหลวงพี่แค่ประมาณปีเดียว หลวงพี่จึงต้องหาสารถีคนใหม่ จากที่ตั้งสเป็คไว้สูงมาก ก็ต้องค่อยๆลดสเป็คลง จนในที่สุด บางครั้งหาใครไม่ได้จริงๆ ต้องไหว้วานแม้กระทั่งเด็กอายุ 16-17 ปีที่ไม่มีใบขับขี่ให้ช่วยขับรถ
ครั้งหนึ่งมีคนใหม่มาสมัคร เห็นบอกว่าขับรถมานาน วันนั้นมีธุระลงแม่สอดพอดี ก็เลยให้ทดลองงาน พอเข้าโค้งแรกเท่านั้น หลวงพี่ก็รู้ว่าเขาขับรถประมาท ชอบจับพวงมาลัยมือเดียวอีกมือหนึ่งพาดขอบหน้าต่าง เขาจะตัดโค้งกินเลนโดยยังไม่ทันจะดูให้มั่นใจว่ามีรถสวนมาหรือไม่ โดยเฉพาะโค้งขวาซึ่งหลวงพี่นั่งด้านซ้ายจะอยู่ในมุมที่เห็นก่อนว่ามีรถสวนมาหรือเปล่า แต่เขาจะตัดโค้งกินเลนเข้าไปก่อนทุกครั้ง หลวงพี่ถามว่าเขารู้ได้อย่างไรว่าไม่มีรถสวน คำตอบคือมองลอดหน้าต่างไป ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากยังไม่รู้นิสัยใจคอกันหลวงพี่จึงไม่อยากเตือนขณะเดินทาง เดี๋ยวจะหงุดหงิดกันเปล่าๆ ก็คิดว่าไว้ถึงแม่สอดก่อนค่อยคุยกัน แต่วันนั้นไปได้แค่ครึ่งทางแถวๆอุ้มเปี้ยม เขาตัดเลนเข้าไปชนกับรถที่สวนมา โชคดีที่หลวงพี่เปลี่ยนกันชนเป็นแบบเหล็กหนายังกับรถหุ้มเกราะจึงไม่มีใครเป็นอะไรมาก ถ้าเป็นกันชนเดิมๆที่ติดรถมา ตัวคนขับจอมประมาทนั่นแหละที่อาจจะไม่รอด และหลวงพี่ยังจะได้มาเขียนเรื่องนี้ให้พวกเราได้อ่านกันหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่กระนั้นก็ต้องเอารถไปซ่อมอยู่ถึง 3 เดือน!
คนบางคนนี่หาตัวแทนไม่ได้จริงๆ .. ยกเว้นสารถีแก้วคนนั้นแล้ว ก็เจอที่คุณสมบัติใกล้เคียงกันอีกคนหนึ่ง แต่มาช่วยอยู่เป็นระยะเวลาสั้นๆ .. นอกนั้นเจอมาทุกรูปแบบ บางคนขับอย่างเดียว มีคติว่ารถล้างแป๊ปเดียวเดี๋ยวก็เลอะ อยู่ในป่าในเขาจะไปอวดใครที่ไหน (คิดอย่างนี้น่าให้อาบน้ำเดือนละครั้ง เพราะอาบเสร็จแป๊ปเดียวเหงื่อก็ออกอีกแล้ว)
บางคนสนุกกับการขับรถ เห็นผู้โดยสารเวียนหัวเมารถ ดันหัวเราะชอบใจเสียอีก บางคนเคยขับรถแต่ในป่า ไม่เคยขับในเมือง บางคนขับรถไม่เป็นเลย เข้าโค้งผิดจังหวะบ้าง ลงเขาเกียร์สูงบ้าง ใช้แป้นครัชเป็นที่พักเท้าซ้ายบ้าง บางคนแอบเอารถวัดไปใช้ส่วนตัว บางคนก็ขาซิ่ง เจอถนนขรุขระไม่มีเบา บางคนแม้ไม่มีหน้าที่ขับรถแต่แอบเอารถวัดไปหัดขับ รถขูดขีดตัวถังบุบไม่เคยบอก (คงคิดว่าหลวงพี่ไม่รู้หรอก) บางคนเจ้าชู้ บางคนปล่อยปละละเลยจนมดเข้าไปทำรังในรถ และเกือบทุกคนไม่เคยสนใจจะเช็คลมยางหรือเปิดฝากะโปรงรถดูเลย บางคนลืมไปว่ามากับพระ พอจอดตามปั๊มน้ำมันก็ไปหาของกินส่วนตัว (คงคิดว่าถ้าหิวเดี๋ยวพระอาจารย์ท่านก็ช่วยตัวเองเองแหละ) ที่แย่กว่านั้นให้สั่งอาหารให้ พออาหารมาส่งไม่ได้สนใจว่าของพระมาหรือยัง ลงมือก่อนเลย แถมไม่จำด้วยว่าใครสั่งอะไร กินของพระเข้าไปด้วย ปล่อยให้หลวงพี่นั่งรออาหาร(ชึ่งมันเข้าไปอยู่ในท้องคนขับเรียบร้อยแล้ว) อย่างนี้ก็เคยเจอ..
หลวงพี่จึงต้องคอยดูแลรถเอง ลมยางอ่อนแข็งไปไหม? ถึงเวลาเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหรือยัง? ผ้าเบรคใกล้หมดหรือยัง? ลุยทางฝุ่นมาเป่าไส้กรองอากาศบ้างหรือเปล่า? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหมือนทุกคนจะไม่เห็นว่ารถมันเลอะสมควรล้างได้(ตั้งนานแล้ว) ถ้าหลวงพี่ไม่เอ่ยปากเป็นไม่มีใครล้างรถ บางครั้งทนไม่ไหวต้องให้สามเณรล้างหรือลงมือเองทั้งๆที่มีภารกิจรอบด้าน แต่ดูเหมือนว่ายิ่งหลวงพี่เข้ามาช่วยดูแล ก็ยิ่งทำให้คนขับรถคิดว่าไม่ใช่งานของตัวเองอีกต่อไป ประมาณว่าฉันคือคนขับรถ ฉันจะขับรถเท่านั้น นอกจากนี้ใครเดือดร้อนก็ทำเองก็แล้วกัน (อาจคิดในใจด้วยว่า มาขับให้ก็บุญแล้ว ขาดฉันแล้วจะรู้สึก) แถมบางครั้งจะหาใช้เครื่องมือประจำรถก็หาไม่เจอเสียอีก ที่ว่ามานั้นสำหรับคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ และรักการดูแลรักษาข้าวของเครื่องใช้อย่างหลวงพี่แล้ว มันทำให้เหนื่อยยิ่งกว่าการเดินทางเสียอีก ในฐานะเป็นพระก็พูดก็สอนกันไป ที่ทำได้และต้องทำตลอดหลายๆปีที่ผ่านมาคือ .. ทำใจ
คนขับรถดีๆส่วนใหญ่ต้องมีอายุพอสมควร แต่ก็มักจะอยากอยู่ในเมืองกับครอบครัว คนหนุ่มๆส่วนใหญ่ก็ใจร้อน ประสบการณ์น้อยแถมติดเที่ยว ใครจะมาขับรถให้และอยู่ในป่าได้นานๆเหมือนหลวงพี่?
ยกเว้นปีแรกแล้ว ตลอดเวลาที่ทำงานพระศาสนาอยู่ที่อุ้มผาง เรื่องคนขับรถ รวมถึงเรื่องการดูแลรักษาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถและเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆที่ใช้ในวัดนั้น เป็นหนึ่งในเรื่องที่กินพลังงานสมองของหลวงพี่เป็นอย่างมาก หลวงพี่เคยปรารภเรื่องนี้ให้โยมท่านหนึ่งฟัง ท่านย้อนถามกลับว่า ก็หลวงพี่ไปอยู่ป่าทำใมล่ะ? อืมม.. จริงสินะ
เจอคนขับรถดีและรู้ทาง พอขึ้นรถก็ได้หลับตาพักผ่อนบ้าง แต่ถ้าเจอคนขับรถไม่ดีละก็นอกจากไม่ได้พักแล้วต้องลุ้นกันเหนื่อยตลอดทาง ใครมีสารถีดีๆละก็ถือว่าเป็นบุญอย่างยิ่ง
อ่านบทนำ - บทที่ 6ได้ที่
http://buddhisthotissue.blogsp ot.jp/2016/08/series_1.html
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์)
......................................
ถ้าหลวงพี่ได้นิสัยรักการอ่านมาจากโยมแม่แล้วหลวงพี่ถ่ายทอดอะไรมาจากโยมพ่อ? ต้องบอกว่ามากมายทีเดียว จะค่อยๆเล่าให้ฟังไปทีละอย่างสองอย่างนะ..
เวลาโยมพ่อขับรถออกต่างจังหวัดสมัยหลวงพี่ยังตัวเล็กๆ ท่านชอบเอาหลวงพี่นั่งตัก เวลาถนนว่างๆบางครั้งท่านจะเหยียบครัชแล้วให้หลวงพี่เปลี่ยนเกียร์ บางทีท่านก็ให้หลวงพี่บังคับพวงมาลัยโดยท่านคอยประคอง ท่านคงไม่ได้ตั้งใจสอนหลวงพี่หรอกเพราะหลวงพี่ยังเล็กมาก แต่ท่านก็มักจะพูดถึงเรื่องการขับรถอย่างถูกต้องและปลอดภัยเพราะท่านเรียนช่างยนต์มาโดยตรง หลวงพี่ได้ยินบ่อยๆก็ค่อยๆซึบซับ ครั้งหนึ่งท่านชมน้าเขยว่าขับรถดีนั่งสบาย เวลาเปลี่ยนเกียร์รถไม่มีกระตุกเลย หลวงพี่จึงจำฝังใจว่าการขับรถที่ดีคือต้องให้ผู้โดยสารสบาย อย่าขับกระชาก เปลี่ยนเกียร์ก็อย่าให้รถกระตุก ภายหลังเมื่อหลวงพี่หัดขับรถจึงพยายามฝึกให้ได้อย่างที่โยมพ่อสอน
.. ก็ฝากไว้กับคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายอย่าคิดว่าลูกยังเล็ก เราจะพูดจะทำอะไรก็ได้ ลูกไม่รู้เรื่องหรอก .. รู้
ครั้งหนึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะชีโวท่านเดินทางไปเยี่ยมญาติโยมที่ญี่ปุ่น ในขณะที่หลวงพี่ยังทำงานอยู่ที่นั่น พระอาจารย์ที่ศูนย์ฯมอบหมายให้หลวงพี่ทำหน้าที่สารถีให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่าน หลวงพี่รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ตอบรับไปด้วยความปลื้มใจ แต่ก่อนพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านจะเดินทางมาถึงไม่กี่วัน หลวงพี่ประสบอุบัติเหตุขณะขับรถสกูทเตอร์ถึงกับต้องเข้าเฝือก อดได้บุญใหญ่เลย
มีเหตุการณ์หนึ่งหลวงพี่จำได้ไม่ลืม ตอนยังอยู่เชียงใหม่คืนนั้นเราเดินทางจากอำเภอแม่แตงกลับเข้าแค้มป์กลางป่า โยมพ่อเป็นคนขับ หลวงพี่นั่งด้านหน้ากับท่านกับใครอีกก็จำไม่ได้แล้ว ที่กระบะด้านท้ายรถมีผู้โดยสารอีกหลายคน ขณะรถกำลังลงจากดอยสูงชัน ด้านหนึ่งติดเขาอีกด้านหนึ่งเป็นเหว หลวงพี่ได้ยินเสียงลมจากเบรคดังเป็นระยะๆ ซึ่งก็เป็นปกติของรถใหญ่ๆที่มีหม้อลมเบรค แต่แล้วก็รู้สึกว่ารถเพิ่มความเร็วขึ้น ทันใดนั้นโดยไม่ได้บอกกล่าวอะไรเลย โยมพ่อหักพวงมาลัยเข้าชนภูเขา ผู้โดยสารไม่รู้ตัวก็กระแทกเข้ากับตัวรถ มีหัวแตกหัวโนกันบ้างเล็กน้อย มารู้ตอนหลังว่าหม้อลมเบรคมีปัญหากระทันหัน โยมพ่อท่านรู้แล้วแต่ไม่ได้บอกให้ใครขวัญเสีย ท่านพยายามประคองจนสุดความสามารถ จนถึงจุดที่เหมาะสมท่านก็หักรถเข้าชนข้างทางให้รถหยุด ท่านบอกว่าถ้าเลยตรงนั้นไปก็เอาไม่อยู่แล้วอาจจะบาดเจ็บล้มตายกันทั้งหมด ... นี่คือการรวมเอาความรู้ ประสบการณ์ ความรับผิดชอบ และการตัดสินใจมาใช้ในนาทีคับขันของโยมพ่อ จนพวกเราปลอดภัยกันทั้งหมด
ด้วยความรู้ที่ได้จากโยมพ่อ และนิสัยรักความสะอาดที่เรียนรู้จากวัดพระธรรมกาย สมัยที่หลวงพี่ทำงานและขับรถเอง แม้จะซ่อมรถไม่เป็นเหมือนโยมพ่อ แต่หลวงพี่ก็รักและดูแลรักษารถยนต์ (จริงๆแล้วก็ข้าวของแทบทุกอย่างนั่นแหละ) อย่างดีที่สุด ตอนสายวันเสาร์คือเวลาของการทำความสะอาดรถครั้งใหญ่ประจำสัปดาห์ ล้างจนรถสะอาดเอี่ยมไม่ต้องพึ่งคาร์แคร์ ทำบ่อยๆจนคุ้นมันก็ไม่ได้ใช้เวลาอะไรมากมาย จำได้ถึงความสุขใจตอนล้างรถเสร็จ มันเป็นความรู้สึกที่คนไม่ชอบล้างรถเองจะอดได้สัมผัส ทุกวันเมื่อกลับถึงบ้าน ถ้าไม่ดึกหรือเหนื่อยเกินไป หลวงพี่จะปัดฝุ่นและเม็ดทรายออกแล้วเอาผ้าหมาดๆลูบรถ แค่ไม่กี่นาทีมันก็สะอาด จนเพื่อนที่ทำงานสงสัยว่าหลวงพี่ล้างรถทุกวันเลยหรือ และก่อนออกรถทุกเช้าหลวงพี่ต้องเปิดฝากระโปรงรถดูระดับสารพัดของเหลว ตรวจดูความเรียบร้อยของทุกอย่างด้วยสายตา และเข้าเช็คที่ศูนย์ตามระยะสม่ำเสมอ การเรียนสายช่างมาทำให้หลวงพี่มีเครื่องมือที่จำเป็นครบ และดูแลทำความสะอาดรักษาเครื่องมืออย่างดี การทำเช่นนี้นอกจากจะทำให้ใจสบายแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้เป็นอย่างมาก
รถอีต๊อก |
เ ข า ว ง พ ร ะ จั น ท ร์
ช่วงลงหลักปักฐานที่เขาวงพระจันทร์นี้ รถเช่าคันเดิมซึ่งเป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อไปรับงานที่อื่น น้องผู้ประสานงานเลยติดต่อหาเช่ารถพร้อมคนขับมาให้จากส่วนกลาง หลวงพี่พยายามจะให้ได้รถขับเคลื่อนสี่ล้อแต่หาไม่ได้ แต่ถึงแม้รถเช่าคันใหม่จะไม่ใช่ 4x4 แต่สิ่งที่ได้มาทดแทนก็คือสารถีแก้ว สารถีคนนี้เป็นคนอีสาน ขับรถเก่งมาก (ถ้าโยมพ่อยังมีชีวิตอยู่ก็คงชมว่า เออ.. ไอ้คนนี้ขับรถใช้ได้) และไม่มีข้ออ้างข้อแม้อะไรเลย ภารกิจของหลวงพี่นั้นไม่มีวันหยุด และไม่มีเวลาตายตัว เช้า สาย บ่าย ค่ำ กลางวันกลางคืน กลางดึกกลางดื่น บางครั้งต้องขับรวดอุ้มผางถึงวัดพระธรรมกาย บ่อยครั้งที่ไม่มีกำหนดการล่วงหน้า แต่สารถีคนนี้ก็ยิ้มรับทุกภารกิจอย่างเต็มใจ คนขับรถทั่วไปมักจะขับรถอย่างเดียว (อ้าวก็จ้างมาขับรถไม่ใช่เหรอ?) ถ้าดีขึ้นอีกหน่อยก็คือบำรุงรักษาดูแลความสะอาดของรถ แต่สารถีคนนี้ทำได้ดีกว่านั้นมาก เมื่อว่างจากขับรถเขาจะหางานอื่นทำเองเช่นตัดหญ้า ช่วยเป็นหูเป็นตาดูแลสมบัติพระศาสนา มีความซื่อสัตย์ ถ้าจะเอารถไปทำธุระส่วนตัวจะขออนุญาตก่อน และจะถวายค่าน้ำมันรถคืนเสมอ เวลาใครจะใช้ให้ขับรถไปไหน เขาจะถามทุกครั้งว่าขออนุญาตพระอาจารย์หรือยัง เพราะหลวงพี่สอนเขาว่าสตาร์ทรถยนต์เมื่อไหร่ก็เสียเงินเมื่อนั้นต้องช่วยกันประหยัด แถมมีมนุษยสัมพันธ์ดี วางตัวได้เหมาะสมกับทุกคน และทำหน้าที่เป็นอุปัฏฐากบางครั้งก็เป็นบอดี้การ์ดให้หลวงพี่ด้วย ทำให้เป็นที่รักของทุกคน แม้ค่าเช่าค่าจ้างทั้งรถและคนจะสูงกว่าคันแรก แต่ก็เป็นอัตรามาตรฐาน โดยภาพรวมแล้วต้องเรียกว่าเป็นสารถีแก้วคู่ใจหลวงพี่ทีเดียว .. ภายหลังแม้มีรถเองแล้วอยากจะจ้างแต่คนขับ แต่เขาต้องผ่อนรถ หลวงพี่ก็ยินดีจ่ายทั้งรถทั้งคนเหมือนเดิม
เป็นที่น่าเสียดาย ด้วยปัญหาส่วนตัวบางอย่างของเขา (และหลวงพี่คงทำบุญด้านบริวารสมบัติมาไม่ดีพอ) สารถีคนนี้ทำงานอยู่กับหลวงพี่แค่ประมาณปีเดียว หลวงพี่จึงต้องหาสารถีคนใหม่ จากที่ตั้งสเป็คไว้สูงมาก ก็ต้องค่อยๆลดสเป็คลง จนในที่สุด บางครั้งหาใครไม่ได้จริงๆ ต้องไหว้วานแม้กระทั่งเด็กอายุ 16-17 ปีที่ไม่มีใบขับขี่ให้ช่วยขับรถ
ครั้งหนึ่งมีคนใหม่มาสมัคร เห็นบอกว่าขับรถมานาน วันนั้นมีธุระลงแม่สอดพอดี ก็เลยให้ทดลองงาน พอเข้าโค้งแรกเท่านั้น หลวงพี่ก็รู้ว่าเขาขับรถประมาท ชอบจับพวงมาลัยมือเดียวอีกมือหนึ่งพาดขอบหน้าต่าง เขาจะตัดโค้งกินเลนโดยยังไม่ทันจะดูให้มั่นใจว่ามีรถสวนมาหรือไม่ โดยเฉพาะโค้งขวาซึ่งหลวงพี่นั่งด้านซ้ายจะอยู่ในมุมที่เห็นก่อนว่ามีรถสวนมาหรือเปล่า แต่เขาจะตัดโค้งกินเลนเข้าไปก่อนทุกครั้ง หลวงพี่ถามว่าเขารู้ได้อย่างไรว่าไม่มีรถสวน คำตอบคือมองลอดหน้าต่างไป ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากยังไม่รู้นิสัยใจคอกันหลวงพี่จึงไม่อยากเตือนขณะเดินทาง เดี๋ยวจะหงุดหงิดกันเปล่าๆ ก็คิดว่าไว้ถึงแม่สอดก่อนค่อยคุยกัน แต่วันนั้นไปได้แค่ครึ่งทางแถวๆอุ้มเปี้ยม เขาตัดเลนเข้าไปชนกับรถที่สวนมา โชคดีที่หลวงพี่เปลี่ยนกันชนเป็นแบบเหล็กหนายังกับรถหุ้มเกราะจึงไม่มีใครเป็นอะไรมาก ถ้าเป็นกันชนเดิมๆที่ติดรถมา ตัวคนขับจอมประมาทนั่นแหละที่อาจจะไม่รอด และหลวงพี่ยังจะได้มาเขียนเรื่องนี้ให้พวกเราได้อ่านกันหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่กระนั้นก็ต้องเอารถไปซ่อมอยู่ถึง 3 เดือน!
คนบางคนนี่หาตัวแทนไม่ได้จริงๆ .. ยกเว้นสารถีแก้วคนนั้นแล้ว ก็เจอที่คุณสมบัติใกล้เคียงกันอีกคนหนึ่ง แต่มาช่วยอยู่เป็นระยะเวลาสั้นๆ .. นอกนั้นเจอมาทุกรูปแบบ บางคนขับอย่างเดียว มีคติว่ารถล้างแป๊ปเดียวเดี๋ยวก็เลอะ อยู่ในป่าในเขาจะไปอวดใครที่ไหน (คิดอย่างนี้น่าให้อาบน้ำเดือนละครั้ง เพราะอาบเสร็จแป๊ปเดียวเหงื่อก็ออกอีกแล้ว)
บางคนสนุกกับการขับรถ เห็นผู้โดยสารเวียนหัวเมารถ ดันหัวเราะชอบใจเสียอีก บางคนเคยขับรถแต่ในป่า ไม่เคยขับในเมือง บางคนขับรถไม่เป็นเลย เข้าโค้งผิดจังหวะบ้าง ลงเขาเกียร์สูงบ้าง ใช้แป้นครัชเป็นที่พักเท้าซ้ายบ้าง บางคนแอบเอารถวัดไปใช้ส่วนตัว บางคนก็ขาซิ่ง เจอถนนขรุขระไม่มีเบา บางคนแม้ไม่มีหน้าที่ขับรถแต่แอบเอารถวัดไปหัดขับ รถขูดขีดตัวถังบุบไม่เคยบอก (คงคิดว่าหลวงพี่ไม่รู้หรอก) บางคนเจ้าชู้ บางคนปล่อยปละละเลยจนมดเข้าไปทำรังในรถ และเกือบทุกคนไม่เคยสนใจจะเช็คลมยางหรือเปิดฝากะโปรงรถดูเลย บางคนลืมไปว่ามากับพระ พอจอดตามปั๊มน้ำมันก็ไปหาของกินส่วนตัว (คงคิดว่าถ้าหิวเดี๋ยวพระอาจารย์ท่านก็ช่วยตัวเองเองแหละ) ที่แย่กว่านั้นให้สั่งอาหารให้ พออาหารมาส่งไม่ได้สนใจว่าของพระมาหรือยัง ลงมือก่อนเลย แถมไม่จำด้วยว่าใครสั่งอะไร กินของพระเข้าไปด้วย ปล่อยให้หลวงพี่นั่งรออาหาร(ชึ่งมันเข้าไปอยู่ในท้องคนขับเรียบร้อยแล้ว) อย่างนี้ก็เคยเจอ..
หลวงพี่จึงต้องคอยดูแลรถเอง ลมยางอ่อนแข็งไปไหม? ถึงเวลาเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหรือยัง? ผ้าเบรคใกล้หมดหรือยัง? ลุยทางฝุ่นมาเป่าไส้กรองอากาศบ้างหรือเปล่า? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหมือนทุกคนจะไม่เห็นว่ารถมันเลอะสมควรล้างได้(ตั้งนานแล้ว) ถ้าหลวงพี่ไม่เอ่ยปากเป็นไม่มีใครล้างรถ บางครั้งทนไม่ไหวต้องให้สามเณรล้างหรือลงมือเองทั้งๆที่มีภารกิจรอบด้าน แต่ดูเหมือนว่ายิ่งหลวงพี่เข้ามาช่วยดูแล ก็ยิ่งทำให้คนขับรถคิดว่าไม่ใช่งานของตัวเองอีกต่อไป ประมาณว่าฉันคือคนขับรถ ฉันจะขับรถเท่านั้น นอกจากนี้ใครเดือดร้อนก็ทำเองก็แล้วกัน (อาจคิดในใจด้วยว่า มาขับให้ก็บุญแล้ว ขาดฉันแล้วจะรู้สึก) แถมบางครั้งจะหาใช้เครื่องมือประจำรถก็หาไม่เจอเสียอีก ที่ว่ามานั้นสำหรับคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ และรักการดูแลรักษาข้าวของเครื่องใช้อย่างหลวงพี่แล้ว มันทำให้เหนื่อยยิ่งกว่าการเดินทางเสียอีก ในฐานะเป็นพระก็พูดก็สอนกันไป ที่ทำได้และต้องทำตลอดหลายๆปีที่ผ่านมาคือ .. ทำใจ
คนขับรถดีๆส่วนใหญ่ต้องมีอายุพอสมควร แต่ก็มักจะอยากอยู่ในเมืองกับครอบครัว คนหนุ่มๆส่วนใหญ่ก็ใจร้อน ประสบการณ์น้อยแถมติดเที่ยว ใครจะมาขับรถให้และอยู่ในป่าได้นานๆเหมือนหลวงพี่?
ยกเว้นปีแรกแล้ว ตลอดเวลาที่ทำงานพระศาสนาอยู่ที่อุ้มผาง เรื่องคนขับรถ รวมถึงเรื่องการดูแลรักษาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถและเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆที่ใช้ในวัดนั้น เป็นหนึ่งในเรื่องที่กินพลังงานสมองของหลวงพี่เป็นอย่างมาก หลวงพี่เคยปรารภเรื่องนี้ให้โยมท่านหนึ่งฟัง ท่านย้อนถามกลับว่า ก็หลวงพี่ไปอยู่ป่าทำใมล่ะ? อืมม.. จริงสินะ
เจอคนขับรถดีและรู้ทาง พอขึ้นรถก็ได้หลับตาพักผ่อนบ้าง แต่ถ้าเจอคนขับรถไม่ดีละก็นอกจากไม่ได้พักแล้วต้องลุ้นกันเหนื่อยตลอดทาง ใครมีสารถีดีๆละก็ถือว่าเป็นบุญอย่างยิ่ง
ไม่รู้จะโทษใครนอกจากคิดว่าเราสร้างบุญบารมีมาไม่ดีเอง ..
6 ก.ย. 2559 17:59
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
อ่านบทนำ - บทที่ 6ได้ที่
http://buddhisthotissue.blogsp ot.jp/2016/08/series_1.html
อ่านบทที่ 7 : ชีวิตคือการเดินทาง ได้ที่
อ่านบทที่ 8 : Been there .. Done that ..
http://buddhisthotissue.blogspot.sg/2016/08/8-been-there-done-that-series.html
อ่านบทที่ 9 : My way
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/9-my-way-series.html
อ่านบทที่ 10 : ซาโยนาระ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/10-series.html
อ่านบทที่ 11 : ชีวิตใหม่...ในเพศสมณะ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/11-series.html
อ่านบทที่ 12 : หนีเสือปะจระเข้
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/12-series.html
อ่านบทที่ 13 : จากเทือกเขาถนนธงชัยถึงสมุทรสงคราม
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/13-series.html
อ่านบทที่ 9 : My way
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/9-my-way-series.html
อ่านบทที่ 10 : ซาโยนาระ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/10-series.html
อ่านบทที่ 11 : ชีวิตใหม่...ในเพศสมณะ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/11-series.html
อ่านบทที่ 12 : หนีเสือปะจระเข้
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/12-series.html
อ่านบทที่ 13 : จากเทือกเขาถนนธงชัยถึงสมุทรสงคราม
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/13-series.html
อ่านบทที่ 14 : อุ้มหัวใจไป...อุ้มผาง
http://buddhisthotissue.blogspot.com/2016/09/14-series.html
อ่านบทที่ 15 : อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน รุ่นห้าแสน
http://myalphabet2016.blogspot.com/2016/09/14-series.html
อ่านบทที่ 16 : สำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/16-series.html
อ่านบทที่ 17 : กุฏิไฟไหม้กับตอไผ่
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/17-series.html
อ่านบทที่ 15 : อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน รุ่นห้าแสน
http://myalphabet2016.blogspot.com/2016/09/14-series.html
อ่านบทที่ 16 : สำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/16-series.html
อ่านบทที่ 17 : กุฏิไฟไหม้กับตอไผ่
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/17-series.html
บทที่ 18 สารถีในฝัน (เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล The series)
4/
5
Oleh
ICHICO
42 ความคิดเห็น
Tulis ความคิดเห็นทำดีต่อไป
Replyความจริงเป็นสิ่งไม่ตายค่ะ
Replyการบอนุโมทนา สาธุเจ้าค่ะ พวกเราเป็นกำลังใจให้พระอาจารย์ ไม่สู่ ไม่หนี ทำดีเรื่อยไป สู้ ๆๆ เจ้าค่ะ
Replyพระอาจารย์มีความรู้หลายด้าน ขอบพระคุณที่ถ่ายทอดสิ่งดื ๆ ค่ะ
Replyเอาใจช่วยให้พระอาจารย์มีคนขับดีๆ มาอยู่ช่วยงานในเร็ววันนะคะ
Replyจงทำดีตลอดไปนะค่ะ
Replyสาธุครับ
Replyท่านเล่าจนเห็นภาพเลยขอเป็นกำลังใจให้ได้พลขับที่ดีนะครับ
Replyท่านเล่าจนเห็นภาพเลยขอเป็นกำลังใจให้ได้พลขับที่ดีนะครับ
Replyใช่เลย สารถีดีคนนั่งก็หลับสบาย
Replyพระอาจารย์เล่าถึงสารถีได้ดีมากๆ คนใช้รถทราบซึ้งค่ะ
Replyอนุโมทนาบุญด้วยครับพระอาจารย์
Replyขอกราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ ท่านพระ
Replyและขอกราบขอบพระคุณสำหรับคำสอนที่ดีมากมากเจ้าค่ะ
ท่านถ่ายทอดได้ละเอียดมาก. อ่านเพลิน ภาพผุดทีละตอน ทีละตอน. กราบอนุโมทนาบุญคะ
Replyสาธุค่ะ พระอาจารย์มีประสพการณ์หลากหลาย และสามารถมาสอนตนเองได้ สุดยอดค่ะ
Replyถวายกำลังใจและอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ
Reply(ติดตามงานเขียนหลวงพี่นะเจ้าคะ)
สู้ต่อไปครับ
Replyท่านมาสร้างบารมี ท่านมีบุญมากๆค่ะขอเป็นกำลังใจให้ท่านได้คนดีๆ
Replyสู้ต่อไปค่ะ
Replyอธิษฐาน ขอให้หลวงพี่ ได้สารถีแก้วคู่ใจ คู่บุญของหลวงพี่ที่ตั้งใจทำงานพระพุทธศาสนาเสมอมาในเร็ววัน เจ้าค่ะ
Replyสาาธุๆๆ ขออนุโมทนาบุญพระอาจารย์ธาดาด้วยกับประสบการณ์และข้อคิดอันทรงคุณค่าที่ได้นำมาแบ่งปันกันครับ
Reply"วิสัยบัณฑิต ย่อมฝึกฝนอบรมตนเอง"
"ไม่สู้ ไม่หนี ทำความดีเรื่อยไป"
อนุโมทนาบญกับหลวงพี่ด้วยค่ะ ได้ข้อคิดดีมากเลยค่ะ
Replyติดตามความคิดและเอาไปใช้กับตัวเอง ได้ผลมากค่ะ
Replyขอขอบพระคุณพระอาจารย์ด้วยนะครับ..ที่ได้นำประสบการณ์ดีๆมาเผยแพร่ให้เป็นวิทยาทาน...
Reply"นักสร้างบารมีผู้ยิ่งใหญ่"กราบอนุโทนา สาธุครับ
ขอขอบพระคุณพระอาจารย์ด้วยนะครับ..ที่ได้นำประสบการณ์ดีๆมาเผยแพร่ให้เป็นวิทยาทาน...
Reply"นักสร้างบารมีผู้ยิ่งใหญ่"กราบอนุโทนา สาธุครับ
กราบอนุโมทนาบุญพระอาจารย์ ที่ท่านเมตตาหาเกล็ดความรู้ ด้านต่างๆมาให้พวกเราทราบ
Replyสาธุๆๆครับ
หลวงพี่เขียน ทำให้มองเห็นภาพ การที่จะทำงานสิ่งใดเราต้องรักและใส่ใจแต่ เพราะเขาไม่เห็นคุณค่าไม่ใส่ใจ กลายเป็นภาระ สาธุบทความประสบการ์ณดีดีที่นำไปใช้ปรับปรุงกับตัวเอง
Reply🙏❤🙏กราบนมัสการขอบคุณพระอาจารย์เป็นอย่างสูง🙏❤🙏
Replyกราบนมัสการและกราบอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ด้วยค่ะ...สาธุ ค่ะ
Replyยิ่งอ่านยิ่งซาบซึ้งในใจที่ยิ่งใหญ่ของพระอาจารย์มากขึ้นทุกๆครั้ง ขอกราบอนุโมทนาบุญในความมีเมตตาของท่านต่อมวลมนุษย์ทั้งหลาย มาด้วยความเคารพและศรัทธายิ่ง สาธุค่ะ
Replyขอกราบอนุโมทนาบุญค่ะ
ทำความดีและสร้างบุญกุศล จะมีอานุภาพให้เราชนะทุกทุกอย่างเอย.
Replyกราบถวายกำลังใจเจ้าค่ะ
Replyกราบถวายกำลังใจเจ้าค่ะ
Replyพ่อคือครูคนแรกของเรา
Replyสารถีมีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการทำงานพระศาสนา
Replyกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุครับ
Replyอานุภาพหลวงปู่วัดปากน้ำฯ ตอน
เด็กถูกรถทับ ไม่เป็นไร
https://youtu.be/fj5K9E9JTsQ
กราบอนุโมทนาบุญสาธุเจ้าค่ะ
Replyกราบอนุโมทนาบุญสาธุเจ้าค่ะ
Replyกราบสาธุคะ
Replyกราบสาธุคะ
Replyกราบสาธุๆคะ
Replyกราบอนุโมทนาบุญค่ะ
Reply