วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

กรณีธรรมกาย : กำเนิดวัดพระธรรมกาย ตอนที่ 1


คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์  ขนนกยูง
ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย



      ตลอดระยะเวลายาวนาน ร่วม 46 ปี มาแล้ว (ตั้งแต่พ.ศ.2513- ปัจจุบัน)
ที่เราได้ยินได้ฟังเรื่องราวของวัดพระธรรมกายเคียงคู่ไปกับนามของคุณยาย

      วัดที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการ "ปฏิบัติธรรม"สถานที่สะอาด สงบ
ร่มรื่น ผู้คนมีระเบียบวินัยและเหนือสิ่งอื่นใด เป็นวัดที่มีพุทธศาสนิกชน
มาปฏิบัติธรรมมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อย่างเช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา หรือวันทอดกฐิน มีผู้มาปฏิบัติธรรมร่วมกันนับแสนคน โดยที่ไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน ณ ที่ใดๆ ในโลกยุคปัจจุบัน
          
      ในเดือนตุลาคมพ.ศ.2506  พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย (พระเทพญาณมหามุนี)  ขณะนั้นเรียนอยู่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1ช่วงเวลาปิดภาคการศึกษา ไปตามหาคุณยาย และขอเรียนธรรมะกับท่าน ที่ “บ้านธรรมประสิทธิ์”  (คุณยายจันทร์ หรือลูกจันทร์ ศิษย์เอกของหลวงพ่อวัดปากน้ำ มีณานทัศนะแม่นยำ  ที่ทำวิชชา 
จนได้รับการชื่นชมจากหลวงพ่อวัดปากน้ำว่า  "ลูกจันทร์  เป็นหนึ่งไม่มีสอง" )

      เมื่อไปปฏิบัติธรรมครั้งแรก คุณยายให้หลวงพ่อนั่งหลับตา ทำใจให้สงบ
และภาวนาคำว่า “สัมมา อะระหัง”  จากนั้นหลวงพ่อก็ไปนั่งสมาธิกับคุณยายไม่เคยขาด และชวนรุ่นพี่ คือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโว (พระราชภาวนาจารย์) และเพื่อนๆ ที่มหาวิทยาลัยไปปฏิบัติธรรมกับคุณยาย
     พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย หลังจากนั่งสมาธิกับคุณยายได้ไม่นาน
ท่านก็ได้คำตอบที่เฝ้าค้นหามาตลอดว่า "คนเราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต"  ซึ่งการปฏิบัติธรรมกับคุณยายทำให้ท่านพบคำตอบ แล้วว่า "คนเราเกิดมาเพื่อสร้างบารมีและพระนิพพานคือเป้าหมายชีวิตอันสูงสุดของทุกชีวิต" 

     ท่านฝึกปฎิบัติ วิชชาธรรมกาย จนชำนาญ  กระทั่งได้บรรลุธรรมชั้นสูง  จึงตัดสินใจออกบวชที่วัดปากน้ำหลังจากจบการศึกษาปริญญาตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ณ อุโบสถวัดปากน้ำภาษีเจริญ
      หลังจากนั้นก็ได้เริ่มอบรมธรรมปฏิบัติแก่สาธุชนที่มาปฏิบัติธรรมที่ “บ้านธรรมประสิทธิ์”



       มีสาธุชนสนใจหลั่งไหลมาปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้บ้านหลังนี้คับแคบลงอย่างถนัดใจ เป็นเหตุให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย
มองหาพื้นที่ขึ้นสักแห่งหนึ่ง จึงปรึกษากับคุณยาย และพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะ
      วัดที่จะสร้างนั้น ...อย่างน้อยที่สุดต้องมีพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ เป็นสถานที่ไปมาสะดวก ไม่ห่างไกลตัวเมืองมากนัก และต้องวิเวก สงบ ร่มรื่น จะเผยแผ่วิชชาธรรมกาย ที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จันทโร)
มอบหมายภารกิจ ให้สานต่อมโนปณิธานของ ที่จะเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก ก็ต้องหาวัดที่กว้างพอประมาณเนื่องจากวัดปากน้ำคับแคบไป
       ในที่สุดวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 80 ปีของคุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี ผู้มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ถวายที่ดิน 196 ไร่สำหรับสร้างวัด คณะผู้ปฏิบัติธรรมต่างอนุโมทนาสาธุการในกุศลเจตนาอันยิ่งใหญ่ของคุณหญิง



       ที่ดินแปลงนี้เป็นท้องนาฟ้าโล่ง พื้นดินแตกระแหง ไม่ว่าจะเหลียวมองไปทางใดก็เจอแต่พื้นดินว่างเปล่าสุดสายตา


       คนแรกที่เข้ามาบุกเบิกคือ...พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโว (ยังไม่ได้อุปสมบท)  ในการสร้างวัดครั้งนี้ เริ่มต้นจากคุณยาย พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย ที่บวชได้เพียง 1 พรรษา และลูกศิษย์ลูกหาเพียงไม่กี่คน คุณยายมีเงินอยู่เพียง 3,200 บาท หลวงพ่อทัตตะทักขึ้นว่า .. "เงิน 3,200 บาทจะพอสร้างวัดหรือ ? " แต่คำตอบที่ได้จากคุณยาย ทำให้หลวงพ่อทัตตะมั่นใจว่าจะสร้างวัดสำเร็จนั้นคือ ลูกศิษย์ที่คุณยายฝึกมากับมือ ให้รักการปฏิบัติธรรม ทุกคนเป็นนักปฏิบัติธรรม ซึ่งบุคคลเช่นนี้มีคุณค่ามากกว่าเงิน 100 ล้าน และในที่สุด คุณยายก็ทำสร้างวัดสำเร็จ


      ขณะที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะได้ไปดูแลการปรับพื้นที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยกับคุณยายอาจารย์ ทำหน้าที่บอกบุญสร้างวัดอยู่ที่บ้านธรรมประสิทธิ์

      การสร้างวัดระยะแรก  มีอุปสรรคมากมาย หลวงพ่อทัตตะและหมู่คณะไม่หวั่นไหวต่อเปลวแดดที่แผดจ้า หรือฝนที่กระหน่ำลงมา ต่างได้ทุ่มเทอุทิศชีวิตทำงานหนัก เพื่อร่วมกันสร้างวัด  ต้องฝ่าฟันอุปสรรคภัยพาล 
ทั้งอุปสรรคจากดินฟัาอากาศ  รวมทั้งอุปสรรคจากทุนทรัพย์อันจำกัด 

    เพียงมุ่งหวังที่จะ...สร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ  สร้างคนให้เป็นคนดีที่มีคุณธรรม

     รวมทั้งสร้างสันติสุขภายในด้วยการปฎิบัติธรรมเจริญภาวนา  ตามแนวทางวิชชาธรรมกาย ของพระเดชพระคุณหลวงปู่สด วัดปากน้ำภาษีเจริญ



      ด้วยความวิริยะอุตสาหะของหมู่คณะ รวมทั้งสาธุชนที่มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ต่างได้ร่วมมือกันพลิกผืนนา 196 ไร่ให้กลายเป็นที่ดินเขียวชะอุ่ม
ด้วยการปลูกสวนป่าให้เกิดความร่มรื่นขุดคูคลองให้เกิดความร่มเย็น
      ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากหน่อยงานราชการต่างๆ
กรมชลประทาน ส่งเรือมาช่วยขุดคลอง
กองพันทหารช่าง กองทัพบก และกรมช่างโยธาทหารอากาศ่
  ช่วยกันสร้างถนนบริเวณวัด
กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย  ช่วยออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆ
นอกจากนี้ก็มีบริษัท ห้างร้านต่างๆ นิสิตนักศึกษา
ประชาชน ทุกสาขาอาชีพ มีจิตเลื่อมใสศรัทธา
ทุ่มเทกำลังกาย กำลังทรัพย์ เพื่อสร้างศาสนสถาน
ให้เป็นที่กราบไหว้เคารพบูชาในกาลต่อไปเบื้องหน้า

ช่วงต้นปี 2513  พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโว
ตั้งสัจจะประพฤติพรหมจรรย์
แต่ท่านยังคร่ำเคร่งอยู่กับการสร้างวัด
โดยไม่คำนึงถึงเรื่องบวชแต่อย่างใด คุณยายเป็นห่วง
กลัวจะสร้างบารมีไม่ตลอดรอดฝั่ง 

ดังนั้นในวันที่ 19 ธันวาคม  พ.ศ.2514
จึงเป็นวันที่หลวงพ่อทัตตะบวชอุทิศชีวิต


      และเวลาต่อมา บัณฑิตรุ่นน้องจาก ม.เกษตรศาสตร์ ก็บวชตามมาอีกหลายคน  วมทั้งจากมหาวิทยาอื่นๆอีกมาก จบจากคณะต่างๆ อาทิ แพทย์ศาสตร์  รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ วิศวกรรม สถาปัตย์ บัญชี เศรษฐศาสตร์  บริหารธุกิจ และอื่นๆ
      เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น จากท้องนาฟ้าโล่งก็กลายมาเป็น "ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม" มีพื้นหญ้าอ่อนนุ่มเขียวขจี มีธารน้ำใสสะอาดช่ำเย็น ปกคลุมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ และไม้หอม  สร้างบรรยากาศสุขสงบทางใจ สมเป็นดินแดนแห่งพุทธรรม



      ต่อมาคุณยายจึงได้ สร้างโรงครัว ขึ้น  โดยยึดหลักความสะอาดและความมีระเบียบ คุณยายย้ำกับพระเดชพระหลวงพ่อทัตตชีโว ทำให้หลวงพ่อหวนนึกถึงคำที่คุณยายบอกไว้เมื่อครั้งที่ท่านเพิ่งบวช ว่า “ใครมาวัดเราร้อยให้เลี้ยงได้ทั้งร้อย มาวัดล้าน ให้เลี้ยงได้ทั้งล้าน”
     คุณยายรักความสะอาดมากฝากให้หลวงพ่อช่วยสอนคนมาวัดให้ดูแลวัด
เสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลวัด กว่าหลวงพ่อ จะเข้าใจลึกซึ้งถึงคำสอนของคุณยายทั้งหมด ก็ผ่านไป 40 พรรษา จึงได้ใช้ความดีสากล 5 ประการ (UG5) นั้นคือ สะอาด ะเบียบ สุภาพ ตรงเวลา และสมาธิ เป็นบทฝึกคน ตามที่คุณยายได้ฝากวัดไว้


ด้วยมโนปณิธานอันแน่วแน่ของหลวงพ่อทั้งสอง จะสร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ และสร้างคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม" รวมทั้งสร้างสันติสุขภายในด้วยการปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิภาวนา ตามแนววิชชาธรรมกายของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ
“สันติภายนอก เกิดจากสันติสุขภายใน”
      ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อ จากศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมเป็น วัดพระธรรมกาย คำว่า"ธรรมกาย" คือ กายตรัสรู้ธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กายของพุทธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตรงกับพระสัมพุทธเจ้าตรัสไว้
ในอัคคัญญสูตรว่า "ธรรมกายเป็นชื่อของตถาคต" และในวักกลิสูตร ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"
      มีในหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกาบาลี และมีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์เก่าแก่ของพระพุทธศาสนาในภาษาอื่นๆ ด้วย




      การสร้างเป็นวัดนั้นได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคมอนุญาต ให้สร้างเป็นวัดตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2520     
      วัดพระธรรมกายจึงเป็นวัดในพระพุทธศาสนา โดยสมบูรณ์ตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ
เป็นวัดอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน  พ.ศ.2520

      ได้รับวิสุงคามสีมา วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2522 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 96 ตอนที่ 15 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522

     พระอธิการไชยบูลย์  ธัมมชโย เป็นเจ้าอาวาส
    พระเผด็จ  ทัตตชีโว เป็นรองเจ้าอาวาส

                                                                                               Cr. Ora แสงตะวัน

Related Posts

กรณีธรรมกาย : กำเนิดวัดพระธรรมกาย ตอนที่ 1
4/ 5
Oleh

Subscribe via email

Like the post above? Please subscribe to the latest posts directly via email.

1 ความคิดเห็น:

Tulis ความคิดเห็น
avatar
24 มิถุนายน 2559 เวลา 23:15

ออกบวช 27 สิงหาคม 2512 นะครับ (วันธรรมชัย) ไม่ใช่ 27 เมษายน 2512

Reply