วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

โมเมนต์น่ารัก "เณรน้อยวัดพระธรรมกาย" แจกลูกอม "พี่ทหาร" รักกันนะครับ อดทนนะครับ


   บรรยากาศในวันพระธรรมกายหลังจากถูกรัฐบาล คสช. ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ ตามอำนาจ ม.44  วันนี้ (อาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2560) เป็นวันที่ 18 แล้ว เป็นภาพที่เจนตาที่เราจะเห็นพี่ๆ ตำรวจและทหารกำลังปฏิบัติหน้าที่ตามประตูต่างๆ  เราก็ร้อน พี่ทหารเค้าก็คงร้อนเหมือนเรา โมเมนท์หนึ่งที่อยากนำเสนอ คือความน่ารักใสๆ ของน้องสามเณรที่ตลาดกลางคลองหลวง ตรงข้ามกับวัดพระธรรมกาย เมื่อเข้าพื้นที่วัดไม่ได้ สามเณรจึงทำแบบนี้




 #เด็กก็คือเด็ก แต่ความเป็นเด็ก ที่ทำให้เกิดโมเมนท์น่ารักๆ น่าชื่นชม นั่นคือนำลูกอมฮาร์ทบีท พร้อมข้อความขอคืนดี ที่น้องสามเณรเขียนด้วยรายมือตัวเอง


 "โยมพี่ครับ อดทนนะครับ 
ดีกันนะครับ   รักกันนะครับ 
สู้ๆ ครับ" 
ป.ล. จากเณรน้อย





ทำให้นึกถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องสังคหวัตถุ 4 หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อันประกอบด้วย ทาน  ปิยวาจา  อัตถจริยา  และ สมานัตตตา

       1.ทาน คือการให้ เราจะเห็นว่าหลักธรรมหลายข้อของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะขึ้นต้นด้วย “ทาน” เพราะเราทุกคนล้วนมีกิเลส ซึ่งกิเลสตัวแรกที่มักจะเจอคือ ความอยากได้ เมื่ออยากได้ก็เกิดความไม่อยากให้ ดังนั้น ทานจึงมักอยู่เป็นข้อเบื้องต้นในหลักธรรมต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่ร่วมกัน

    
       2. ปิยวาจา การพูดวาจาที่ไพเราะ ฟังแล้วเกิดความชื่นใจ เบิกบานใจ เช่นเราศึกษาธรรมะได้ข้อคิดดีๆ ก็นำสิ่งเหล่านี้ไปบอกคนที่เรารัก คนที่เรารู้จัก เป็นต้น สิ่งที่เราจะพูดนั้นต้องเป็นเรื่องจริง เป็นคำสุภาพ ไพเราะนิ่มนวล พูดออกไปแล้วเกิดประโยชน์ เวลาพูดก็ต้องพูดด้วยจิตที่มีเมตตา เช่นว่า ถ้าเราจะไปตักเตือนใคร เราก็เลือกคำอย่างดีไปบอกเขาไปบอกด้วยจิตที่เมตตาหวังดีต่อเขา  เช่นเดียวกัน เมื่อเขามาบอกหรือตักเตือนเรา เราก็ต้องทบทวนว่าเขาอยากบอกอะไรกับเรา และหากเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่เราต้องปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นเราก็ควรไปขอบคุณเขา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า บุคคลที่มาแนะนำเราสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่เรา เมื่อเห็นเราผิดพลาด เรียกว่า “ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้” และสิ่งสุดท้ายที่ต้องพิจารณาในการพูดคือ ต้องเลือกเวลาในการพูด พูดให้ถูกกาลเทศะด้วย ถ้าจำเป็นต้องพูดในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น เวลาที่ผู้ฟังกำลังอารมณ์ไม่ดี หรือกำลังยุ่งนั้น เราก็ต้องเลือกคำให้ดีที่สุด

 3. อัตถจริยา คือทำตนให้เป็นประโยชน์ บางครั้งในการทำงานอาจขาดกำลังแต่ถ้าเราช่วยกันงานที่ว่ายากก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้ถ้าเราร่วมมือกัน เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราเกิดรักความผูกพันของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม

4. สมานัตตตา การวางตนให้พอดีในหน้าที่ของตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย คือ วางตนให้เหมาะสมว่าตอนนี้เราอยู่ในฐานะอะไร เช่น พ่อก็มีหน้าที่เลี้ยงดูลูก แม่ก็มีหน้าที่ดูแลบ้านดูแลครอบครัว ลูกเองก็มีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน และเมื่อเราทำงาน ถ้ามีใครไม่ทำตามหน้าที่แล้ว ย่อมจะเกิดปัญหาเรื่องการก้าวก่ายหน้าที่กันตามมา จนอาจส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตขึ้นได้ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้การวางตนให้เหมาะสม จะช่วยให้ไม่ต้องระวาดระแวงในการทำหน้าที่ของตน ซึ่งจะส่งผลให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ


ในร้ายก็มีดี หวังว่าภาพดี ๆ ของสามเณรวัดพระธรรมกายนี้ จะเป็นภาพที่ให้ข้อคิดกับสังคม นำมาซึ่งความรัก และความปรองดองนะคะ




ขอบคุณภาพจากเพจคนวัดจัดเต็ม
หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 : https://goo.gl/Vapqwh

Related Posts

โมเมนต์น่ารัก "เณรน้อยวัดพระธรรมกาย" แจกลูกอม "พี่ทหาร" รักกันนะครับ อดทนนะครับ
4/ 5
Oleh

Subscribe via email

Like the post above? Please subscribe to the latest posts directly via email.