มส.ไม่มีสิทธิ์“สึก”พระธัมมชโย! ทำไม ?
คงเป็นที่สงสัยกันมากว่าทำไม กรรมการมหาเถรสมาคม จึงไม่มีมติ“สึก”พระไชยบูลย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
เหตุผลหนึ่งก็คือ มส. ไม่มีสิทธิสึกพระ! ไม่ว่าจะเป็นพระรูปใดก็ตาม แม้ว่าจะได้รับอำนาจในการใช้กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 21* พ.ศ. 2538 อย่างเต็มที่แล้วก็ตาม
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 นั้นหมายถึง การลงโทษตามพระธรรมวินัย คือ ถ้ามีพระในวัดหนึ่งวัดใดในจังหวัดทำความผิด เจ้าคณะจังหวัดก็จะเป็นผู้ตัดสินก่อน
ถึงแม้ว่าจะส่งเรื่องไปที่มหาเถรสมาคม ทางมหาเถรสมาคมก็จะมีคำสั่งกลับไปที่เจ้าคณะจังหวัดอยู่ดีว่า ให้ดูเรื่องนี้ ให้ตัดสินเรื่องนี้ ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้
โดยหลักของมหาเถรสมาคม ตัดสินเองไม่ได้ เพราะจะผิด กฎพ.ร.บ.สงฆ์ ข้อนิคหกรรม
...................................................
คำตอบว่าทำไมมส. ไม่มีสิทธิ์สึกพระธัมมชโย
ดังนั้น ท่านจึงต้องส่งเรื่องกลับไปยังศาลขั้นต้นของพระ ก็คือ ผู้ปกครองที่ใกล้ชิดที่สุด ก็คือ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ซึ่งท่านเป็นผู้ที่รู้เรื่องวัดพระธรรมกายมากที่สุด ใกล้ชิดท่านมากที่สุด ซึ่งก็เข้าตามหลักพระธรรมวินัย ก็คือ ผู้ปกครองตัดสินผู้ที่อยู่ใต้ปกครอง
...................................................
โดยลำดับการปกครองก็คือ เจ้าอาวาส ดูแลพระลูกวัด มีอำนาจในการปกครอง ในการตัดสิน ในการวินิจฉัย เจ้าคณะตำบลก็ปกครองวัดต่างๆ ในตำบล เจ้าคณะอำเภอก็ปกครองวัดต่างๆ ในอำเภอ เจ้าคณะจังหวัดก็ปกครองวัดต่างๆ ในจังหวัด
เพราะฉะนั้นการตัดสินเบื้องต้นจึงกลับไปที่เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ซึ่งในรายละเอียดก็ต้องมีการไต่สวนเป็นลำดับๆ ไป
...................................................
เหตุนี้ ในพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับกรณีพระธัมมชโยเมื่อ ปี 2542 มหาเถรสมาคมก็ทำอะไรไม่ได้
...................................................
เช่นเดียวกับพ.ศ.นี้ ที่แม้จะมีพระบัญชาจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมภโร) ออกมาให้กรรมการมหาเถรสมาคมดำเนินการในเรื่องนี้ก็ตาม แต่กรรมการมหาเถรสมาคมก็ไม่สามารถตัดสินได้ เพราะถ้าตัดสิน ก็ผิดกฎนิคหกรรม ! หรือละเมิดกฎนิคหกรรม
กฎนิคหกรรม ใครเป็นคนตั้ง
คณะสงฆ์เป็นผู้ออกกฎ กลายเป็นกฎหมายพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ถ้าท่านทำก็เป็นการละเมิดกฎเอง
ซึ่งมติของกรรมการมหาเถรสมาคมในการประชุมครั้งที่ 6/2560 ณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560 โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมภโร) เป็นประธานในที่ประชุม ก็ได้ทำถูกแล้ว ที่ไม่สึกพระธัมมชโย
แต่ส่งเรื่องกลับไปที่เจ้าคณะหนใหญ่กลาง แล้วก็ลงมาสู่เจ้าคณะจังหวัดในที่สุด
มส.ไม่มีสิทธิ์“สึก”พระธัมมชโย! อยากรู้ไหมว่าทำไม ?
4/
5
Oleh
ICHICO