เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์)
......................................
หลังจากการอบรมอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนตามนโยบายของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยแล้ว หลวงพี่ก็มีทีมงานในท้องถิ่นขึ้นทันทีไม่นับโยมป้าจากแม่สอด ก็ผู้ที่ผ่านการบวชอุบาสิกาแก้วนั่นแหละ ในตัวเมืองอุ้มผางมีโยมแม่ครัว ที่หมู่บ้านแม่กลองใหม่นั้น นอกจากผู้นำบุญหมายเลขหนึ่งแล้วมีกำลังหลักอีกสองท่าน หลวงพี่เรียกรวมๆว่า “สามทหารเสือแม่กลองใหม่” เพราะตั้งแต่ต้นจนทุกวันนี้ทั้งสามท่านก็เหนียวแน่นช่วยงานพระศาสนาด้วยดีมาโดยตลอด ที่แม่จันเองก็มีทีมงานที่เข้มแข็งอีกหลายท่าน ถัดจากแม่จันไป 3 กิโลเมตรมีหมู่บ้านชื่อ "นุเซะโปล้" ที่นี่ก็มีอุบาสิกาแก้วที่มาช่วยงานหลวงพี่ตลอดมาอีกเหมือนกัน และมีที่กระจายกันอยู่ตามหมู่บ้านอื่นๆอีกพอสมควร โดยเฉพาะโยมป้านั้นมาปักหลักช่วยเลย นานๆจึงจะกลับบ้านที่แม่สอดสักที นอกจากนั้นก็ได้หลานสาวของผู้นำบุญหมายเลขหนึ่งมาเป็นอาสาสมัครช่วยงานทั่วไปเป็นลูกมือของโยมป้า คนนี้แหละที่หลวงพี่(ใจร้าย)ใช้ให้ไปดับเครื่องปั่นไฟในถ้ำตอนกลางคืน
เนื่องจากในวัดตอนนั้นยังไม่มีที่ให้ผู้หญิงพัก โยมป้าต้องไปอาศัยนอนที่บ้านชาวบ้านใกล้ๆวัด ส่วนน้องอาสาสมัครกางเต๊นท์นอนใต้ศาลา ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างบ้านให้โยมป้าอยู่ที่ท้ายครัว ใช้เวลาสร้างวันเดียวเสร็จ ยังกับพระอินทร์เนรมิต ต่อมาบ้านน้อยหลังนี้กลายเป็นที่พักของผู้หญิงที่มาช่วยงานวัด แม้จะสร้างวันเดียวเสร็จแต่ได้อาศัยใช้งานมันมาได้ถึงสี่ห้าปีจึงได้รื้อออกสร้างใหม่
หลวงพี่ยังได้ขอยืมตัวพนักงานคนหนึ่งที่วัดพระธรรมกายซึ่งรู้จักระบบระเบียบโดยเฉพาะวัฒนธรรมชาวพุทธการปัดกวาดเช็ดถูของวัดพระธรรมกายอย่างดีมาเป็นพี่เลี้ยงให้น้องอาสาสมัครอีกสองสามอาทิตย์ ด้วยหวังจะวางรากฐาน เรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบตามแบบอย่างวัดพระธรรมกาย
พระจากกองวางแผนฯท่านมาช่วยอยู่ระยะหนึ่งก็กลับวัดไปรับภารกิจอื่น จึงเหลือหลวงพี่กับพระพี่เลี้ยงรูปเดิมตั้งแต่จัดอบรมอุบาสิกาแก้วอยู่สองรูป
กิจวัตรประจำวันของหลวงพี่ก็ง่ายๆ มีผู้รับผิดชอบตีระฆังปลุกตีสี่ครึ่ง ซึ่งหลวงพี่จะตื่นขึ้นมาสแตนด์บายเสมอเผื่อมือตีระฆังลืมปลุกนาฬิกา (ก็มีเหมือนกันนะ) หลังจากเก็บที่นอนล้างหน้าล้างตาแล้วทุกคนที่อยู่ในวัดจะมาพร้อมกันที่ศาลาตอนตีห้าเพื่อทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิจนถึงหกโมงเช้า จากนั้นหลวงพี่จะออกบิณฑบาต เนื่องจากแม่จันเป็นตำบลที่ปลูกข้าวได้ผลดี พอส่งขายเลี้ยงได้ทั้งอำเภออุ้มผาง
การบิณฑบาตจึงได้ข้าวสุกมาจำนวนมากพอควร ส่วนกับข้าวนั้นไม่พอเลี้ยงสมาชิกทุกคนในวัด โยมป้าจึงรับหน้าที่แม่ครัวจำเป็น ในภายหลังเมื่อโครงการบวชเข้าพรรษาเริ่มต้นแล้ว โยมแม่ครัวที่อุ้มผางได้ส่งลูกน้องฝีมือดีเป็นคนพม่ามาเป็นแม่ครัวประจำ
หลวงพี่จัดให้มีการทำบุญทุกวันพระในช่วงสายๆ ซึ่งในช่วงที่ยังไม่ถึงฤดูลงไร่นา ชาวบ้านพร้อมใจกันมาทำบุญกันอุ่นหนาฝาคั่งทีเดียว พิธีกรรมก็พยายามปรับให้เหมาะสม โดยตั้งโต๊ะไว้ที่ด้านท้ายศาลาหนึ่งตัววางบาตรเปล่าเอาไว้สามสี่ใบ แม้ชาวบ้านจะมากันทุกเพศทุกวัยหอบลูกจูงหลานมาด้วย หลวงพี่จะพยายามนำนั่งสมาธิเสมอ ช่วงเวลาสั้นบ้างนานบ้างแล้วแต่โอกาส แล้วจึงอาราธนาศีลกล่าวคำถวายสังฆทาน จากนั้นเจริญพุทธมนต์บทอิติปิโส และถวายพรพระ พอขึ้นบทพาหุงฯก็เป็นที่รู้กัน ชาวบ้านนำโดยผู้อาวุโสที่สุดจะลุกขึ้นไปตักข้าวสวยใส่บาตรเปล่าที่วางไว้ ส่วนกับข้าวนั้นมีโต๊ะแยกรวบรวมไว้ต่างหาก คนที่ใส่บาตรเสร็จจะทยอยกันกลับมานั่งที่ เมื่อเทศน์เสร็จก็สวดให้พร โดยทางวัดเตรียมชุดกรวดน้ำไว้ให้สี่ห้าชุด ชาวบ้านบางส่วนเตรียมอุปกรณ์กรวดน้ำมาเอง เป็นอันเสร็จพิธีทำบุญวันพระ ซึ่งโดยรวมแล้วใช้เวลาประมาณเกือบๆหนึ่งชั่วโมง
ในช่วงกลางคืนของวันพระนั้นชาวบ้านโดยเฉพาะหนุ่มสาวจะพากันมาวัดเพื่อจุดเทียนบูชาพระพุทธรูปตามจุดต่างๆ คือพระยืนที่สนามหญ้า พระสีวลี พระพุทธรูปในศาลาฤาษี พระบนถ้ำ รวมถึงเจดีย์ด้วย แล้วก็รวมตัวพูดคุยกันที่ศาลาหอระฆัง นานๆทีจะมีคนตีระฆังดังเหง่งหง่าง .. เป็นบรรยากาศแบบดั้งเดิมที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน
ภารกิจในการชวนคนบวชเป็นช่วงค่ำเพราะตอนกลางวันชาวบ้านไม่ค่อยอยู่บ้านกัน ช่วงอบรมอุบาสิกาแก้วนั้นมีครูศูนย์เด็กเล็กสองคนเป็นเพื่อนสนิทและไปอบรมด้วยกัน คนหนึ่งอยู่หมู่บ้านกล้อทอ อีกคนหนึ่งอยู่หมู่บ้านนุเซะโปล้ ในการจัดอุปสมบทหมู่ครั้งแรกที่เขาวงพระจันทร์นั้น ถือว่าคุณครูทั้งสองคนนี้เป็นกำลังสำคัญในการออกชวนคนบวชเลย
ลืมบอกไป อุ้มผางเป็นอำเภอที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใหญ่กว่าหลายจังหวัดด้วยซ้ำไป แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา และตำบลแม่จันเป็นตำบลที่ใหญ่ที่สุดของอุ้มผาง มีสิบกว่าหมู่บ้าน บางหมู่บ้านนั้นไกลจนไม่น่าเชื่อว่าอยู่ในตำบลเดียวกัน เช่นหมู่บ้านแม่จันทะ อยู่เกือบถึงอำเภอสังขละบุรีของจังหวัดกาญจนบุรีทีเดียว เข้าหน้าฝนเมื่อไหร่ก็ลืมไปได้เลยเพราะถนนหนทางเป็นหล่มโคลน ขนาดรถ 4x4 ธรรมดา ถ้าไม่ได้ยกสูงใส่ล้อตะขาบแล้วก็ยังไปไม่ได้
เนื่องจากคุณครูทั้งสองเป็นคนท้องถิ่น จึงพาหลวงพี่และทีมงานไปแทบจะทุกหมู่บ้านเลย ไม่ว่าจะไกลแค่ไหนเราก็บุกกันไปทุกที่ สารถีแก้วก็ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี บางทีเราออกไปชวนคนบวชกว่าจะกลับมาถึงเขาวงพระจันทร์ก็ดึกๆดื่นๆ แต่จะนอนดึกแค่ไหนถ้าไม่อ่อนเพลียจริงๆพอตีสี่ครึ่งก็จะตื่นกันเป็นปกติ โชคดีที่หลวงพี่เลิกเหล้าบุหรี่ได้ตั้งแต่ตอนอายุน้อยๆ ชอบเล่นกีฬาและทำกิจกรรมกลางแจ้ง ทำให้สุขภาพค่อนข้างดี ไม่ค่อยจะเจ็บป่วยอะไร
ทั้งๆที่ออกชวนคนบวชแต่เนิ่นๆก่อนโครงการเริ่มเป็นเดือนๆ แต่สิ่งที่หลวงพี่พบก็คือการชวนคนบวชโดยเฉพาะบวชกันยาวตลอดพรรษานั้นเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญจริงๆ เพราะที่นี่เป็นสังคมเกษตรกรรม ช่วงหน้าฝนคือช่วงทำนาทำไร่ บางสัปดาห์ออกชวนทุกคืนแต่ไม่มีใครสมัครเลย ได้ใบสมัครบวชมาแต่ละใบนี่ ถ้าพูดแบบชาวบ้านก็ต้องบอกว่าดีใจยังกับถูกล็อตเตอรี่
...............................................................................
จนกระทั่งอีกอาทิตย์เดียวจะถึงวันรายงานตัวของธรรมทายาทอยู่แล้ว ยังได้ใบสมัครบวชไม่ถึงสิบใบ หลวงพี่จึงเรียกประชุมอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนให้ลุยทำหน้าที่กันให้เต็มที่ ราวกับปาฏิหาริย์ ถึงวันเปิดโครงการมีชายหนุ่มชาวอุ้มผางมาเข้าโครงการกันประมาณห้าสิบกว่าคน และอยู่จนกระทั่งเข้าพิธีอุปสมบทหมู่ 44 รูปด้วยกัน
...................................................................................
แม้ก่อนบวชหลวงพี่จะทำงานด้านการอบรม และเมื่อบวชแล้วก็ทำการเทศน์สอนอยู่บ่อยๆ แต่การอบรมพระหลายสิบรูปติดต่อกันหลายๆเดือนก็พึ่งเคยครั้งนี้แหละ เป็นที่รู้กันในวงการคณะสงฆ์ถึงความท้าทายของการจัดอบรมบวชเข้าพรรษา ยิ่งการอบรมของวัดพระธรรมกายมีเป้าหมายในการปลูกฝังสัมมาทิษฐิให้ผู้เข้ารับการอบรม ให้เป็นเนื้อนาบุญเป็นอายุพระพุทธศาสนา ให้เข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยหลักสูตรที่ส่วนกลางจัดให้มานั้นจึงแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระ ซึ่งหลวงพี่รับหน้าที่เทศน์สอนเองทั้งหมด แต่ผู้ที่เข้าอบรมนั้นบางคนฟังภาษาไทยไม่ออก พูดไทยเสร็จแล้วต้องให้พระพี่เลี้ยงแปลต่อเป็นภาษาท้องถิ่นอีก กว่าจะอบรมกันจบโครงการถึงออกพรรษานี่เรียกว่าบักโกรก ทั้งพระอาจารย์และพระพี่เลี้ยง
เนื่องจากมีพระธรรมทายาทจำนวนค่อนข้างมาก นอกจากที่หมู่บ้านกล้อทอแล้วหลวงพี่จึงเปิดสายบิณฑบาตไปโปรดโยมที่หมู่บ้านใกล้เคียงด้วย โดยเอารถออกไปส่งพระส่วนหนึ่งลงที่หมู่บ้านนุเซะโปล้ แล้วรถก็พาพระที่เหลือไปบิณฑบาตต่อที่หมู่บ้านทีจอชี ซึ่งอยู่ห่างออกไปอีกสิบกว่ากิโลติดกับห้วยแม่จัน แม้ระยะทางไม่ไกลมากแต่หนทางเป็นหลุมเป็นบ่อขับเร็วไม่ได้ ชุดที่นุเซะโปล้เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้วจึงเดินกลับเลย แม้จะเป็นระยะทางถึงสามกิโลเมตรเศษแต่ก็ถึงวัดก่อนชุดที่ไปทีจอชีจะกลับมาถึง ในช่วงที่มีการอบรมทางชาวบ้านแม่จันจะหมุนเวียนกันหุงข้าวมาส่ง มีแม่ครัวของเราทำกับข้าวเสริมอีกให้พอสำหรับทั้งพระธรรมทายาทและทีมงานทุกคนในวัด
เนื่องจากถนนในสำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์เป็นลูกรัง เมื่อฝนตกมากๆเข้า ถนนก็เริ่มเป็นหล่มโคลน สัญจรไปมาไม่สะดวก งบประมาณที่ทางวัดพระธรรมกายให้มานั้นเพียงพอสำหรับเรื่องภัตตาหารและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆเท่านั้น หลวงพี่จึงต้องหาทุนมาทำถนนเอง และนี่แหละคือสิ่งที่หลวงพี่หนักใจที่สุด
ตั้งแต่เข้าวัดมาส่วนใหญ่ก็ทำบุญเอง ที่ไปชวนคนอื่นทำนั้นเป็นส่วนน้อย ด้วยอัธยาศัยขี้เกรงใจ แม้แต่เป็นประธานกองกฐินตอนอยู่ญี่ปุ่นก็เหมือนกัน เป็นปัจจัยส่วนตัวของหลวงพี่เกือบทั้งหมด เมื่อศึกษาธรรมะมากขึ้นหลวงพี่จึงเข้าใจว่า หลวงพี่สร้างบุญด้านบริวารสมบัติมาไม่ดีเอง นึกถึงฆฏิการ (อ่านว่า คะ-ติ-กา-ระ)ที่เฝ้าเพียรพยายามชวนโชติปาละเพื่อนรักให้ไปพบพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะโดนปฏิเสธหลายต่อหลายครั้งแต่ก็ไม่ล้มเลิกความพยายาม แต่หลวงพี่ไม่มีอัธยาศัยอย่างนั้น พอต้องมาทำงานใหญ่ที่ต้องอาศัยทีมงานจึงเหนื่อยมากทีเดียว ใครไม่อยากเป็นเหมือนหลวงพี่ก็ขยันชวนคนทำความดีกันนะ
พูดถึงเรื่องบอกบุญเลยนึกถึงเพื่อนคนมาเลเซียที่เดินขึ้นยอดเขาฟูจิด้วยกันขึ้นมาได้ เธอเป็นคนมัธยัสถ์มาก จะใช้จ่ายซื้อหาอะไรก็จะเดินถามเปรียบเทียบราคาหลายร้านจนมั่นใจว่าได้ราคาที่ถูกที่สุดแล้วจึงซื้อ เมื่อตอนบอกบุญเธอนั้นหลวงพี่เพียงแค่อยากให้เพื่อนได้ทำบุญ จึงเล่าถึงวัตถุประสงค์และอานิสงส์ของการทอดกฐินและบอกไปว่าที่หลวงพี่ปวารณาทำนั้นเท่าไหร่ บอกเธอไปว่าไม่ต้องซีเรียส จะทำแค่ไหนก็แล้วแต่ เอาเท่าที่สบายใจ วันที่เธอเอาปัจจัยทำบุญมามอบให้หลวงพี่นั้นเธอออกตัวยกใหญ่ว่าไม่ค่อยมีเงิน แต่สำหรับเพื่อนและการทำบุญแล้วเธอยินดี หลวงพี่รับซองมาก็พบว่ามันค่อนข้างหนาทีเดียว เมื่อเปิดออกนับต้องบอกว่าอึ้งไปเลย มันเป็นธนบัตรญี่ปุ่นใบละหมื่นเยนหลายสิบใบ! หลวงพี่จึงบอกว่าเธอเป็นคนมัธยัสถ์ ไม่ใช่คนขี้เหนียว
เนื่องจากไม่เคยจัดทอดผ้าป่าเองเลย แต่ด้วยความจำเป็นต้องหาปัจจัย จำได้ว่าออกแบบใบบอกบุญเองซึ่งก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ถนัดเอามากๆ วิชาที่หลวงพี่ทำคะแนนได้แย่มาแต่เด็กคือวิชาคัดลายมือและที่เกี่ยวกับศิลปะทั้งหมด เรื่องลายมือนี้หลวงพี่คิด(แบบปลื้มนิดๆ)ว่าลายมือหลวงพี่คล้ายๆลายมือหมอ พวกเราเคยเห็นเวลาหมอเขียนสั่งยาหรือลงบันทึกการตรวจรักษามั้ย? อ่านยากจริงๆ เคยแอบถามนางพยาบาลและผู้ที่อยู่ห้องจ่ายยาว่าที่หมอเขียนสั่งมานั้นอ่านออกหมดมั้ย นางพยาบาลตอบว่าบ่อยครั้งก็อ่านไม่ออกเหมือนกัน อ้าว.. แล้วจัดยาถูกได้ยังไง?
ถึงเวลาจะแจกซองก็นึกถึงญาติโยมได้ไม่กี่คน มีอดีตธรรมทายาทรุ่นเนื้อนาบุญที่ลาสิกขาไปแล้ว กับผู้ที่นิมนต์หลวงพี่ไปเทศน์สอนเป็นหลัก เช่นญาติโยมที่ภูเก็ต อาจารย์ที่ AIT และน้องผู้ประสานงานอีกคนหนึ่งที่นิมนต์หลวงพี่ไปเทศน์บ่อยๆ ที่เหลือก็ให้โยมป้ากับอดีตอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนช่วยกันไปบอกบุญ ตอนแรกตั้งใจจะเทคอนกรีต แต่พอทอดผ้าป่าเสร็จนับยอดปัจจัยแล้ว ทำได้แค่หาลูกรังมาถมเท่านั้น
เคยได้ยินมาว่ามีวัดบางวัด วันทอดผ้าป่าหรือกฐิน มีเจ้าหนี้มาคอยเลย ส่วนใหญ่เป็นร้านวัสดุก่อสร้าง ได้เป็นเจ้าอาวาสเองไม่กี่เดือนหลวงพี่ก็เริ่มทราบซึ้งถึงภาระของการเป็นสมภาร มันมีรายจ่ายรอบด้านจริงๆ ทั้งค่าน้ำมันเพื่อการเดินทางและปั่นไฟ ค่าบำรุงรักษาอาคารสถานที่ยานพาหนะเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ตอนที่ยืมสถานที่วัดบนจัดอบรมอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนนั้น พอจบโครงการแล้วเคลียร์งบประมาณกับทางวัดพระธรรมกายเสร็จแล้วก็จบกันจนกว่าจะมีโครงการใหม่ แต่พอมาเป็นเจ้าอาวาสแล้ว งบสนับสนุนจากวัดพระธรรมกายไม่มีแล้วในช่วงที่ยังไม่มีโครงการใหม่แต่รายจ่ายนั้นมีต่อเนื่อง เริ่มมีชาวบ้านเอาลูกมาบวชเณรเพิ่มขึ้นทีละองค์สององค์ พระพี่เลี้ยงบางรูปท่านมีศรัทธาบวชอยู่ช่วยงานต่อ สมาชิกในวัดจึงค่อยๆเพิ่มขึ้น (ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี) แม่ครัวก็ยังต้องจ้าง รถยนต์ก็ต้องใช้ และอีกสารพัด
เนื่องจากหลวงพี่เกิดมา .. พูดได้เต็มปากแบบไม่อายว่า .. ในครอบครัวคนจน เคยเห็นปัญหาที่เกิดจากการมีรายได้ไม่พอรายจ่าย จำได้ว่าเป็นเจ้าอาวาสมาหกปี เคยเอ่ยปากขอยืมเงินโยมอยู่ครั้งหนึ่ง จากนั้นหลวงพี่ก็ตั้งใจไว้เลยว่าอุตส่าห์มาบวชแล้วหลวงพี่จะไม่ยอมเป็นหนี้เด็ดขาด จึงตั้งใจบริหารเรื่องการเงินอย่างเต็มที่ จนบางครั้งบางคนไม่เข้าใจก็จะว่าหลวงพี่กระเหม็ดกระแหม่เกินเหตุ (เขาเรียกว่ามัธยัสถ์น่ะ บางคนเข้าใจว่าการใช้จ่ายเต็มที่ เลี้ยงไม่อั้นคือการไม่ขี้เหนียว อันนั้นหลวงพี่ว่าเขาทำกันนานๆทีนะ ในโอกาสพิเศษ ถ้าทำกันทุกวันนั่นต้องเป็นเศรษฐี) แต่เรื่องนี้หลวงพี่มีจุดยืนชัดเจน มีน้อยใช้น้อย มีมากก็ใช้อย่างระมัดระวัง
อีกทั้งพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะชีโวท่านสอนเสมอว่าทำงานพระศาสนาต้องทำตัวเหมือน ไม้ใหญ่ที่กินน้ำน้อย หลวงพี่จึงพยายามทำตามโอวาทครูบาอาจารย์
ถ้าพอมีปัจจัยหลวงพี่ยินดีลงทุนเงินก้อนเพื่อการประหยัดในระยะยาว (เช่นการติดกังหันลมเพื่อปั่นไฟชาร์จแบตเตอรี่)อุปกรณ์ข้าวของและเครื่องมือที่จัดหามาใช้ในวัดนั้น ยกเว้นแต่คราวไม่มีเงินจริงๆ (เหมือนตอนที่ต้องซื้อเครื่องปั่นไฟสองจังหวะที่ทำจากจีนแดงนั้น) หลวงพี่พยายามใช้ของดีๆที่ทนไม้ทนมือใช้งานได้นาน เพราะฉะนั้นหลวงพี่จึงค่อนข้างซีเรียส เมื่อพบการใช้ข้าวของอย่างไม่ระมัดระวัง ปล่อยปละละเลยให้เกิดการเสียหายหรือสูญหาย เรื่องการรักษาดูแลข้าวของเครื่องใช้นี้ ต้องเทศน์ต้องสอนกันไม่ว่างเว้น
ในบททำวัตรเย็นของพระภิกษุสามเณร มีข้อความส่วนหนึ่งว่า ..
ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ..
สงสัยหลวงพี่จะเคยบวชเป็นพระมาหลายชาติ นอกจากเรื่องที่มีลายมือคล้ายลายมือหมอแล้ว หลวงพี่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ติดตัวมาก็คือความเป็นผู้อยู่ง่ายฉันง่าย สมัยเด็กๆ บางมื้อมีไข่ต้มลูกเดียวขยำๆกับข้าวสุกเหยาะน้ำปลาหน่อยก็อยู่ได้แล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะชีโวท่านสอนไว้ก็คือ .. ไม่สำคัญว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ที่สำคัญคือเหลือเท่าไหร่ .. เมื่อต้องบริหารให้รายจ่ายมันน้อยกว่ารายรับ หลวงพี่จึงตั้งงบประมาณค่าอาหารแบบพอเพียงจริงๆ บางช่วงมีสมาชิกในวัดร่วมยี่สิบชีวิตแต่หลวงพี่มีงบประมาณให้แม่ครัววันละสองสามร้อยบาทเท่านั้น
แต่ละมื้อมีกับข้าวสองสามอย่างก็พอแล้ว เพราะมีป่าอยู่โดยรอบก็ได้อาศัยวัตถุดิบจากธรรมชาติตามฤดูกาลเข้ามาช่วยด้วย เห็ดบ้าง หน่อไม้บ้าง ชะอมบ้าง ชาวบ้านเอาผักฟักแฟงแตงกวามาถวายบ้าง เรื่องที่จะมี เนื้อ หมู ไก่ เป็นชิ้นเป็นอันนั้นต้องบอกว่านานๆที แม่ครัวอาศัยโปรตีนเกษตรที่ทำจากถั่วเหลืองหรือหัวบุกแทน ต้องชมว่าแม่ครัวเก่งมากสามารถทำตามนโยบายได้ตามงบประมาณที่ให้ไป ส่วนเรื่องปานะของพระเณรนั้นหลวงพี่มีกฏิกาชัดเจนคือ ถวายปานะวันละครั้งตอนห้าโมงเย็น โดยแต่ละรูปจะได้โควต้านมกล่องวันละสองกล่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแล็คตาซอย เพราะเจ้าของบริษัทใจบุญ จัดหามาได้ในราคาที่ต่ำกว่ายี่ห้ออื่นในท้องตลาดมาก
หลวงพี่คิดเสมอว่าเรื่องการเป็นอยู่ขบฉันของหลวงพี่และทีมงานที่อุ้มผางนี้ ต้องถือว่าดีกว่าที่วัดปากน้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ท่านมีแต่มะละกอเป็นอาหารหลัก หรือในยุคที่ครูบาอาจารย์บุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกายก็ตาม เรื่องภัตตาหารการขบฉันท่านก็มีแค่พออยู่กันได้ หลวงพี่อยู่แบบนี้มาตลอดสามสี่ปีแรกไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนอะไร
..................................................
หลวงพี่บอกญาติโยมเสมอว่า
ตราบใดที่หลวงพี่ยังหาทุนมาทำงานพระศาสนาได้
หลวงพี่ก็จะอยู่ทำงานเผยแผ่ต่อไปเรื่อยๆ
ยกเว้นจะมีคำสั่งมาให้หลวงพี่ไปทำงานอื่น
แต่หมดทุนเมื่อไหร่
หลวงพี่ก็คงต้องกลับวัดพระธรรมกาย
เพราะ......
อิณา ทานัง ทุกขัง โลเก
ความเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก
..................................................
การทำงานของหลวงพี่ที่อุ้มผางนั้น แม้จะหาทุนมาทำงานได้เรื่อยๆ แต่ก็เป็นแบบฉิวเฉียด บางครั้งปัจจัยจะหมดย่ามอยู่แล้วนึกไม่ออกว่าจะไปหาทุนที่ไหน ก็หลับตาทำสมาธิอธิษฐานบอกครูบาอาจารย์ว่าลูกตั้งใจมาทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ขอให้มีทุนทำงานไปได้ตลอดอย่าได้สะดุดหยุดชะงัก
แล้วก็มหัศจรรย์จริงๆ รอดตัวมาได้ทุกครั้ง มีครั้งหนึ่งปัจจัยใกล้หมดเต็มที จู่ๆเพื่อนคนที่อยู่มาเลเซียก็ส่งอีเมล์มา ไม่อ้อมค้อมเธอขอหมายเลขบัญชีธนาคารของหลวงพี่แล้วก็โอนเงินมาให้เฉยๆอย่างนั้นแหละ โดยที่หลวงพี่ไม่ได้เอ่ยปากแต่อย่างไร (That’s what friends are for!) มีครั้งหนึ่งก็หวุดหวิดมากใกล้ออกพรรษาแล้วแต่ก็อีกเป็นเดือนกว่าจะทอดกฐิน ปัจจัยที่เหลืออยู่ไม่พอแน่นอน หลวงพี่ก็ทำเหมือนเดิมคืออธิษฐานบอกครูบาอาจารย์ แล้วก็เป็นที่อัศจรรย์อีก โยมแม่ของธรรมทายาทคนหนึ่งเกิดศรัทธาถวายปัจจัยกฐินล่วงหน้ามาอย่างไม่ได้คาดฝัน และเงินก้อนนั้นก็เพียงพอจนกระทั่งถึงวันทอดกฐินพอดี แต่หลวงพี่ไม่ได้ชะล่าใจหวังพึ่งปาฏิหาริย์แบบนี้อย่างเดียวหรอกนะ อย่างที่บอก บริหารกันเต็มที่ทีเดียว
หลวงพี่มานึกทบทวนแล้วก็บอกญาติโยมเสมอว่า นี่ถ้าไม่ได้บวชที่วัดพระธรรมกายจะมาทำงานอย่างนี้คงจะไม่ไหว เพราะเราทำงานเชิงรุกจึงมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เรื่องนี้ไม่เคยลืมตัวเผลอนึกว่าตัวเองเก่งกาจ หาทุนได้ด้วยตนเองแต่อย่างไร อาศัยบารมีครูบาอาจารย์ทั้งนั้น
ไม่ถึงกับมีเหลือเฟือหรอกแต่ก็เพียงพอสำหรับการขับเคลื่อนงานพระศาสนาให้เดินหน้าไป ตามมโนปนิธานของหมู่คณะ ..
อ่านบทนำ - บทที่ 6ได้ที่
http://buddhisthotissue.blogsp ot.jp/2016/08/series_1.html
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์)
......................................
หลังจากการอบรมอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนตามนโยบายของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยแล้ว หลวงพี่ก็มีทีมงานในท้องถิ่นขึ้นทันทีไม่นับโยมป้าจากแม่สอด ก็ผู้ที่ผ่านการบวชอุบาสิกาแก้วนั่นแหละ ในตัวเมืองอุ้มผางมีโยมแม่ครัว ที่หมู่บ้านแม่กลองใหม่นั้น นอกจากผู้นำบุญหมายเลขหนึ่งแล้วมีกำลังหลักอีกสองท่าน หลวงพี่เรียกรวมๆว่า “สามทหารเสือแม่กลองใหม่” เพราะตั้งแต่ต้นจนทุกวันนี้ทั้งสามท่านก็เหนียวแน่นช่วยงานพระศาสนาด้วยดีมาโดยตลอด ที่แม่จันเองก็มีทีมงานที่เข้มแข็งอีกหลายท่าน ถัดจากแม่จันไป 3 กิโลเมตรมีหมู่บ้านชื่อ "นุเซะโปล้" ที่นี่ก็มีอุบาสิกาแก้วที่มาช่วยงานหลวงพี่ตลอดมาอีกเหมือนกัน และมีที่กระจายกันอยู่ตามหมู่บ้านอื่นๆอีกพอสมควร โดยเฉพาะโยมป้านั้นมาปักหลักช่วยเลย นานๆจึงจะกลับบ้านที่แม่สอดสักที นอกจากนั้นก็ได้หลานสาวของผู้นำบุญหมายเลขหนึ่งมาเป็นอาสาสมัครช่วยงานทั่วไปเป็นลูกมือของโยมป้า คนนี้แหละที่หลวงพี่(ใจร้าย)ใช้ให้ไปดับเครื่องปั่นไฟในถ้ำตอนกลางคืน
เนื่องจากในวัดตอนนั้นยังไม่มีที่ให้ผู้หญิงพัก โยมป้าต้องไปอาศัยนอนที่บ้านชาวบ้านใกล้ๆวัด ส่วนน้องอาสาสมัครกางเต๊นท์นอนใต้ศาลา ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างบ้านให้โยมป้าอยู่ที่ท้ายครัว ใช้เวลาสร้างวันเดียวเสร็จ ยังกับพระอินทร์เนรมิต ต่อมาบ้านน้อยหลังนี้กลายเป็นที่พักของผู้หญิงที่มาช่วยงานวัด แม้จะสร้างวันเดียวเสร็จแต่ได้อาศัยใช้งานมันมาได้ถึงสี่ห้าปีจึงได้รื้อออกสร้างใหม่
หลวงพี่ยังได้ขอยืมตัวพนักงานคนหนึ่งที่วัดพระธรรมกายซึ่งรู้จักระบบระเบียบโดยเฉพาะวัฒนธรรมชาวพุทธการปัดกวาดเช็ดถูของวัดพระธรรมกายอย่างดีมาเป็นพี่เลี้ยงให้น้องอาสาสมัครอีกสองสามอาทิตย์ ด้วยหวังจะวางรากฐาน เรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบตามแบบอย่างวัดพระธรรมกาย
พระจากกองวางแผนฯท่านมาช่วยอยู่ระยะหนึ่งก็กลับวัดไปรับภารกิจอื่น จึงเหลือหลวงพี่กับพระพี่เลี้ยงรูปเดิมตั้งแต่จัดอบรมอุบาสิกาแก้วอยู่สองรูป
กิจวัตรประจำวัน
กิจวัตรประจำวันของหลวงพี่ก็ง่ายๆ มีผู้รับผิดชอบตีระฆังปลุกตีสี่ครึ่ง ซึ่งหลวงพี่จะตื่นขึ้นมาสแตนด์บายเสมอเผื่อมือตีระฆังลืมปลุกนาฬิกา (ก็มีเหมือนกันนะ) หลังจากเก็บที่นอนล้างหน้าล้างตาแล้วทุกคนที่อยู่ในวัดจะมาพร้อมกันที่ศาลาตอนตีห้าเพื่อทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิจนถึงหกโมงเช้า จากนั้นหลวงพี่จะออกบิณฑบาต เนื่องจากแม่จันเป็นตำบลที่ปลูกข้าวได้ผลดี พอส่งขายเลี้ยงได้ทั้งอำเภออุ้มผาง
การบิณฑบาตจึงได้ข้าวสุกมาจำนวนมากพอควร ส่วนกับข้าวนั้นไม่พอเลี้ยงสมาชิกทุกคนในวัด โยมป้าจึงรับหน้าที่แม่ครัวจำเป็น ในภายหลังเมื่อโครงการบวชเข้าพรรษาเริ่มต้นแล้ว โยมแม่ครัวที่อุ้มผางได้ส่งลูกน้องฝีมือดีเป็นคนพม่ามาเป็นแม่ครัวประจำ
หลวงพี่จัดให้มีการทำบุญทุกวันพระในช่วงสายๆ ซึ่งในช่วงที่ยังไม่ถึงฤดูลงไร่นา ชาวบ้านพร้อมใจกันมาทำบุญกันอุ่นหนาฝาคั่งทีเดียว พิธีกรรมก็พยายามปรับให้เหมาะสม โดยตั้งโต๊ะไว้ที่ด้านท้ายศาลาหนึ่งตัววางบาตรเปล่าเอาไว้สามสี่ใบ แม้ชาวบ้านจะมากันทุกเพศทุกวัยหอบลูกจูงหลานมาด้วย หลวงพี่จะพยายามนำนั่งสมาธิเสมอ ช่วงเวลาสั้นบ้างนานบ้างแล้วแต่โอกาส แล้วจึงอาราธนาศีลกล่าวคำถวายสังฆทาน จากนั้นเจริญพุทธมนต์บทอิติปิโส และถวายพรพระ พอขึ้นบทพาหุงฯก็เป็นที่รู้กัน ชาวบ้านนำโดยผู้อาวุโสที่สุดจะลุกขึ้นไปตักข้าวสวยใส่บาตรเปล่าที่วางไว้ ส่วนกับข้าวนั้นมีโต๊ะแยกรวบรวมไว้ต่างหาก คนที่ใส่บาตรเสร็จจะทยอยกันกลับมานั่งที่ เมื่อเทศน์เสร็จก็สวดให้พร โดยทางวัดเตรียมชุดกรวดน้ำไว้ให้สี่ห้าชุด ชาวบ้านบางส่วนเตรียมอุปกรณ์กรวดน้ำมาเอง เป็นอันเสร็จพิธีทำบุญวันพระ ซึ่งโดยรวมแล้วใช้เวลาประมาณเกือบๆหนึ่งชั่วโมง
ในช่วงกลางคืนของวันพระนั้นชาวบ้านโดยเฉพาะหนุ่มสาวจะพากันมาวัดเพื่อจุดเทียนบูชาพระพุทธรูปตามจุดต่างๆ คือพระยืนที่สนามหญ้า พระสีวลี พระพุทธรูปในศาลาฤาษี พระบนถ้ำ รวมถึงเจดีย์ด้วย แล้วก็รวมตัวพูดคุยกันที่ศาลาหอระฆัง นานๆทีจะมีคนตีระฆังดังเหง่งหง่าง .. เป็นบรรยากาศแบบดั้งเดิมที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน
ภารกิจในการชวนคนบวชเป็นช่วงค่ำเพราะตอนกลางวันชาวบ้านไม่ค่อยอยู่บ้านกัน ช่วงอบรมอุบาสิกาแก้วนั้นมีครูศูนย์เด็กเล็กสองคนเป็นเพื่อนสนิทและไปอบรมด้วยกัน คนหนึ่งอยู่หมู่บ้านกล้อทอ อีกคนหนึ่งอยู่หมู่บ้านนุเซะโปล้ ในการจัดอุปสมบทหมู่ครั้งแรกที่เขาวงพระจันทร์นั้น ถือว่าคุณครูทั้งสองคนนี้เป็นกำลังสำคัญในการออกชวนคนบวชเลย
ลืมบอกไป อุ้มผางเป็นอำเภอที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใหญ่กว่าหลายจังหวัดด้วยซ้ำไป แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา และตำบลแม่จันเป็นตำบลที่ใหญ่ที่สุดของอุ้มผาง มีสิบกว่าหมู่บ้าน บางหมู่บ้านนั้นไกลจนไม่น่าเชื่อว่าอยู่ในตำบลเดียวกัน เช่นหมู่บ้านแม่จันทะ อยู่เกือบถึงอำเภอสังขละบุรีของจังหวัดกาญจนบุรีทีเดียว เข้าหน้าฝนเมื่อไหร่ก็ลืมไปได้เลยเพราะถนนหนทางเป็นหล่มโคลน ขนาดรถ 4x4 ธรรมดา ถ้าไม่ได้ยกสูงใส่ล้อตะขาบแล้วก็ยังไปไม่ได้
เนื่องจากคุณครูทั้งสองเป็นคนท้องถิ่น จึงพาหลวงพี่และทีมงานไปแทบจะทุกหมู่บ้านเลย ไม่ว่าจะไกลแค่ไหนเราก็บุกกันไปทุกที่ สารถีแก้วก็ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี บางทีเราออกไปชวนคนบวชกว่าจะกลับมาถึงเขาวงพระจันทร์ก็ดึกๆดื่นๆ แต่จะนอนดึกแค่ไหนถ้าไม่อ่อนเพลียจริงๆพอตีสี่ครึ่งก็จะตื่นกันเป็นปกติ โชคดีที่หลวงพี่เลิกเหล้าบุหรี่ได้ตั้งแต่ตอนอายุน้อยๆ ชอบเล่นกีฬาและทำกิจกรรมกลางแจ้ง ทำให้สุขภาพค่อนข้างดี ไม่ค่อยจะเจ็บป่วยอะไร
ทั้งๆที่ออกชวนคนบวชแต่เนิ่นๆก่อนโครงการเริ่มเป็นเดือนๆ แต่สิ่งที่หลวงพี่พบก็คือการชวนคนบวชโดยเฉพาะบวชกันยาวตลอดพรรษานั้นเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญจริงๆ เพราะที่นี่เป็นสังคมเกษตรกรรม ช่วงหน้าฝนคือช่วงทำนาทำไร่ บางสัปดาห์ออกชวนทุกคืนแต่ไม่มีใครสมัครเลย ได้ใบสมัครบวชมาแต่ละใบนี่ ถ้าพูดแบบชาวบ้านก็ต้องบอกว่าดีใจยังกับถูกล็อตเตอรี่
...............................................................................
จนกระทั่งอีกอาทิตย์เดียวจะถึงวันรายงานตัวของธรรมทายาทอยู่แล้ว ยังได้ใบสมัครบวชไม่ถึงสิบใบ หลวงพี่จึงเรียกประชุมอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนให้ลุยทำหน้าที่กันให้เต็มที่ ราวกับปาฏิหาริย์ ถึงวันเปิดโครงการมีชายหนุ่มชาวอุ้มผางมาเข้าโครงการกันประมาณห้าสิบกว่าคน และอยู่จนกระทั่งเข้าพิธีอุปสมบทหมู่ 44 รูปด้วยกัน
...................................................................................
แม้ก่อนบวชหลวงพี่จะทำงานด้านการอบรม และเมื่อบวชแล้วก็ทำการเทศน์สอนอยู่บ่อยๆ แต่การอบรมพระหลายสิบรูปติดต่อกันหลายๆเดือนก็พึ่งเคยครั้งนี้แหละ เป็นที่รู้กันในวงการคณะสงฆ์ถึงความท้าทายของการจัดอบรมบวชเข้าพรรษา ยิ่งการอบรมของวัดพระธรรมกายมีเป้าหมายในการปลูกฝังสัมมาทิษฐิให้ผู้เข้ารับการอบรม ให้เป็นเนื้อนาบุญเป็นอายุพระพุทธศาสนา ให้เข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยหลักสูตรที่ส่วนกลางจัดให้มานั้นจึงแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระ ซึ่งหลวงพี่รับหน้าที่เทศน์สอนเองทั้งหมด แต่ผู้ที่เข้าอบรมนั้นบางคนฟังภาษาไทยไม่ออก พูดไทยเสร็จแล้วต้องให้พระพี่เลี้ยงแปลต่อเป็นภาษาท้องถิ่นอีก กว่าจะอบรมกันจบโครงการถึงออกพรรษานี่เรียกว่าบักโกรก ทั้งพระอาจารย์และพระพี่เลี้ยง
เนื่องจากมีพระธรรมทายาทจำนวนค่อนข้างมาก นอกจากที่หมู่บ้านกล้อทอแล้วหลวงพี่จึงเปิดสายบิณฑบาตไปโปรดโยมที่หมู่บ้านใกล้เคียงด้วย โดยเอารถออกไปส่งพระส่วนหนึ่งลงที่หมู่บ้านนุเซะโปล้ แล้วรถก็พาพระที่เหลือไปบิณฑบาตต่อที่หมู่บ้านทีจอชี ซึ่งอยู่ห่างออกไปอีกสิบกว่ากิโลติดกับห้วยแม่จัน แม้ระยะทางไม่ไกลมากแต่หนทางเป็นหลุมเป็นบ่อขับเร็วไม่ได้ ชุดที่นุเซะโปล้เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้วจึงเดินกลับเลย แม้จะเป็นระยะทางถึงสามกิโลเมตรเศษแต่ก็ถึงวัดก่อนชุดที่ไปทีจอชีจะกลับมาถึง ในช่วงที่มีการอบรมทางชาวบ้านแม่จันจะหมุนเวียนกันหุงข้าวมาส่ง มีแม่ครัวของเราทำกับข้าวเสริมอีกให้พอสำหรับทั้งพระธรรมทายาทและทีมงานทุกคนในวัด
เนื่องจากถนนในสำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์เป็นลูกรัง เมื่อฝนตกมากๆเข้า ถนนก็เริ่มเป็นหล่มโคลน สัญจรไปมาไม่สะดวก งบประมาณที่ทางวัดพระธรรมกายให้มานั้นเพียงพอสำหรับเรื่องภัตตาหารและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆเท่านั้น หลวงพี่จึงต้องหาทุนมาทำถนนเอง และนี่แหละคือสิ่งที่หลวงพี่หนักใจที่สุด
เพราะงานระดมทุนหรือบอกบุญนั้น
เป็นสิ่งที่หลวงพี่ไม่ถนัดเอามากๆ
พูดถึงเรื่องบอกบุญเลยนึกถึงเพื่อนคนมาเลเซียที่เดินขึ้นยอดเขาฟูจิด้วยกันขึ้นมาได้ เธอเป็นคนมัธยัสถ์มาก จะใช้จ่ายซื้อหาอะไรก็จะเดินถามเปรียบเทียบราคาหลายร้านจนมั่นใจว่าได้ราคาที่ถูกที่สุดแล้วจึงซื้อ เมื่อตอนบอกบุญเธอนั้นหลวงพี่เพียงแค่อยากให้เพื่อนได้ทำบุญ จึงเล่าถึงวัตถุประสงค์และอานิสงส์ของการทอดกฐินและบอกไปว่าที่หลวงพี่ปวารณาทำนั้นเท่าไหร่ บอกเธอไปว่าไม่ต้องซีเรียส จะทำแค่ไหนก็แล้วแต่ เอาเท่าที่สบายใจ วันที่เธอเอาปัจจัยทำบุญมามอบให้หลวงพี่นั้นเธอออกตัวยกใหญ่ว่าไม่ค่อยมีเงิน แต่สำหรับเพื่อนและการทำบุญแล้วเธอยินดี หลวงพี่รับซองมาก็พบว่ามันค่อนข้างหนาทีเดียว เมื่อเปิดออกนับต้องบอกว่าอึ้งไปเลย มันเป็นธนบัตรญี่ปุ่นใบละหมื่นเยนหลายสิบใบ! หลวงพี่จึงบอกว่าเธอเป็นคนมัธยัสถ์ ไม่ใช่คนขี้เหนียว
เนื่องจากไม่เคยจัดทอดผ้าป่าเองเลย แต่ด้วยความจำเป็นต้องหาปัจจัย จำได้ว่าออกแบบใบบอกบุญเองซึ่งก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ถนัดเอามากๆ วิชาที่หลวงพี่ทำคะแนนได้แย่มาแต่เด็กคือวิชาคัดลายมือและที่เกี่ยวกับศิลปะทั้งหมด เรื่องลายมือนี้หลวงพี่คิด(แบบปลื้มนิดๆ)ว่าลายมือหลวงพี่คล้ายๆลายมือหมอ พวกเราเคยเห็นเวลาหมอเขียนสั่งยาหรือลงบันทึกการตรวจรักษามั้ย? อ่านยากจริงๆ เคยแอบถามนางพยาบาลและผู้ที่อยู่ห้องจ่ายยาว่าที่หมอเขียนสั่งมานั้นอ่านออกหมดมั้ย นางพยาบาลตอบว่าบ่อยครั้งก็อ่านไม่ออกเหมือนกัน อ้าว.. แล้วจัดยาถูกได้ยังไง?
ถึงเวลาจะแจกซองก็นึกถึงญาติโยมได้ไม่กี่คน มีอดีตธรรมทายาทรุ่นเนื้อนาบุญที่ลาสิกขาไปแล้ว กับผู้ที่นิมนต์หลวงพี่ไปเทศน์สอนเป็นหลัก เช่นญาติโยมที่ภูเก็ต อาจารย์ที่ AIT และน้องผู้ประสานงานอีกคนหนึ่งที่นิมนต์หลวงพี่ไปเทศน์บ่อยๆ ที่เหลือก็ให้โยมป้ากับอดีตอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนช่วยกันไปบอกบุญ ตอนแรกตั้งใจจะเทคอนกรีต แต่พอทอดผ้าป่าเสร็จนับยอดปัจจัยแล้ว ทำได้แค่หาลูกรังมาถมเท่านั้น
เคยได้ยินมาว่ามีวัดบางวัด วันทอดผ้าป่าหรือกฐิน มีเจ้าหนี้มาคอยเลย ส่วนใหญ่เป็นร้านวัสดุก่อสร้าง ได้เป็นเจ้าอาวาสเองไม่กี่เดือนหลวงพี่ก็เริ่มทราบซึ้งถึงภาระของการเป็นสมภาร มันมีรายจ่ายรอบด้านจริงๆ ทั้งค่าน้ำมันเพื่อการเดินทางและปั่นไฟ ค่าบำรุงรักษาอาคารสถานที่ยานพาหนะเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ตอนที่ยืมสถานที่วัดบนจัดอบรมอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนนั้น พอจบโครงการแล้วเคลียร์งบประมาณกับทางวัดพระธรรมกายเสร็จแล้วก็จบกันจนกว่าจะมีโครงการใหม่ แต่พอมาเป็นเจ้าอาวาสแล้ว งบสนับสนุนจากวัดพระธรรมกายไม่มีแล้วในช่วงที่ยังไม่มีโครงการใหม่แต่รายจ่ายนั้นมีต่อเนื่อง เริ่มมีชาวบ้านเอาลูกมาบวชเณรเพิ่มขึ้นทีละองค์สององค์ พระพี่เลี้ยงบางรูปท่านมีศรัทธาบวชอยู่ช่วยงานต่อ สมาชิกในวัดจึงค่อยๆเพิ่มขึ้น (ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี) แม่ครัวก็ยังต้องจ้าง รถยนต์ก็ต้องใช้ และอีกสารพัด
เนื่องจากหลวงพี่เกิดมา .. พูดได้เต็มปากแบบไม่อายว่า .. ในครอบครัวคนจน เคยเห็นปัญหาที่เกิดจากการมีรายได้ไม่พอรายจ่าย จำได้ว่าเป็นเจ้าอาวาสมาหกปี เคยเอ่ยปากขอยืมเงินโยมอยู่ครั้งหนึ่ง จากนั้นหลวงพี่ก็ตั้งใจไว้เลยว่าอุตส่าห์มาบวชแล้วหลวงพี่จะไม่ยอมเป็นหนี้เด็ดขาด จึงตั้งใจบริหารเรื่องการเงินอย่างเต็มที่ จนบางครั้งบางคนไม่เข้าใจก็จะว่าหลวงพี่กระเหม็ดกระแหม่เกินเหตุ (เขาเรียกว่ามัธยัสถ์น่ะ บางคนเข้าใจว่าการใช้จ่ายเต็มที่ เลี้ยงไม่อั้นคือการไม่ขี้เหนียว อันนั้นหลวงพี่ว่าเขาทำกันนานๆทีนะ ในโอกาสพิเศษ ถ้าทำกันทุกวันนั่นต้องเป็นเศรษฐี) แต่เรื่องนี้หลวงพี่มีจุดยืนชัดเจน มีน้อยใช้น้อย มีมากก็ใช้อย่างระมัดระวัง
อีกทั้งพระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะชีโวท่านสอนเสมอว่าทำงานพระศาสนาต้องทำตัวเหมือน ไม้ใหญ่ที่กินน้ำน้อย หลวงพี่จึงพยายามทำตามโอวาทครูบาอาจารย์
ถ้าพอมีปัจจัยหลวงพี่ยินดีลงทุนเงินก้อนเพื่อการประหยัดในระยะยาว (เช่นการติดกังหันลมเพื่อปั่นไฟชาร์จแบตเตอรี่)อุปกรณ์ข้าวของและเครื่องมือที่จัดหามาใช้ในวัดนั้น ยกเว้นแต่คราวไม่มีเงินจริงๆ (เหมือนตอนที่ต้องซื้อเครื่องปั่นไฟสองจังหวะที่ทำจากจีนแดงนั้น) หลวงพี่พยายามใช้ของดีๆที่ทนไม้ทนมือใช้งานได้นาน เพราะฉะนั้นหลวงพี่จึงค่อนข้างซีเรียส เมื่อพบการใช้ข้าวของอย่างไม่ระมัดระวัง ปล่อยปละละเลยให้เกิดการเสียหายหรือสูญหาย เรื่องการรักษาดูแลข้าวของเครื่องใช้นี้ ต้องเทศน์ต้องสอนกันไม่ว่างเว้น
ในบททำวัตรเย็นของพระภิกษุสามเณร มีข้อความส่วนหนึ่งว่า ..
ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ..
สงสัยหลวงพี่จะเคยบวชเป็นพระมาหลายชาติ นอกจากเรื่องที่มีลายมือคล้ายลายมือหมอแล้ว หลวงพี่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ติดตัวมาก็คือความเป็นผู้อยู่ง่ายฉันง่าย สมัยเด็กๆ บางมื้อมีไข่ต้มลูกเดียวขยำๆกับข้าวสุกเหยาะน้ำปลาหน่อยก็อยู่ได้แล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะชีโวท่านสอนไว้ก็คือ .. ไม่สำคัญว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ที่สำคัญคือเหลือเท่าไหร่ .. เมื่อต้องบริหารให้รายจ่ายมันน้อยกว่ารายรับ หลวงพี่จึงตั้งงบประมาณค่าอาหารแบบพอเพียงจริงๆ บางช่วงมีสมาชิกในวัดร่วมยี่สิบชีวิตแต่หลวงพี่มีงบประมาณให้แม่ครัววันละสองสามร้อยบาทเท่านั้น
นโยบายที่มอบให้แม่ครัวคือ
ให้ทุกคนอิ่ม
แต่ไม่ให้เหลือทิ้งขว้าง
แต่ละมื้อมีกับข้าวสองสามอย่างก็พอแล้ว เพราะมีป่าอยู่โดยรอบก็ได้อาศัยวัตถุดิบจากธรรมชาติตามฤดูกาลเข้ามาช่วยด้วย เห็ดบ้าง หน่อไม้บ้าง ชะอมบ้าง ชาวบ้านเอาผักฟักแฟงแตงกวามาถวายบ้าง เรื่องที่จะมี เนื้อ หมู ไก่ เป็นชิ้นเป็นอันนั้นต้องบอกว่านานๆที แม่ครัวอาศัยโปรตีนเกษตรที่ทำจากถั่วเหลืองหรือหัวบุกแทน ต้องชมว่าแม่ครัวเก่งมากสามารถทำตามนโยบายได้ตามงบประมาณที่ให้ไป ส่วนเรื่องปานะของพระเณรนั้นหลวงพี่มีกฏิกาชัดเจนคือ ถวายปานะวันละครั้งตอนห้าโมงเย็น โดยแต่ละรูปจะได้โควต้านมกล่องวันละสองกล่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแล็คตาซอย เพราะเจ้าของบริษัทใจบุญ จัดหามาได้ในราคาที่ต่ำกว่ายี่ห้ออื่นในท้องตลาดมาก
หลวงพี่คิดเสมอว่าเรื่องการเป็นอยู่ขบฉันของหลวงพี่และทีมงานที่อุ้มผางนี้ ต้องถือว่าดีกว่าที่วัดปากน้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ท่านมีแต่มะละกอเป็นอาหารหลัก หรือในยุคที่ครูบาอาจารย์บุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกายก็ตาม เรื่องภัตตาหารการขบฉันท่านก็มีแค่พออยู่กันได้ หลวงพี่อยู่แบบนี้มาตลอดสามสี่ปีแรกไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนอะไร
..................................................
หลวงพี่บอกญาติโยมเสมอว่า
ตราบใดที่หลวงพี่ยังหาทุนมาทำงานพระศาสนาได้
หลวงพี่ก็จะอยู่ทำงานเผยแผ่ต่อไปเรื่อยๆ
ยกเว้นจะมีคำสั่งมาให้หลวงพี่ไปทำงานอื่น
แต่หมดทุนเมื่อไหร่
หลวงพี่ก็คงต้องกลับวัดพระธรรมกาย
เพราะ......
อิณา ทานัง ทุกขัง โลเก
ความเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก
..................................................
การทำงานของหลวงพี่ที่อุ้มผางนั้น แม้จะหาทุนมาทำงานได้เรื่อยๆ แต่ก็เป็นแบบฉิวเฉียด บางครั้งปัจจัยจะหมดย่ามอยู่แล้วนึกไม่ออกว่าจะไปหาทุนที่ไหน ก็หลับตาทำสมาธิอธิษฐานบอกครูบาอาจารย์ว่าลูกตั้งใจมาทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ขอให้มีทุนทำงานไปได้ตลอดอย่าได้สะดุดหยุดชะงัก
แล้วก็มหัศจรรย์จริงๆ รอดตัวมาได้ทุกครั้ง มีครั้งหนึ่งปัจจัยใกล้หมดเต็มที จู่ๆเพื่อนคนที่อยู่มาเลเซียก็ส่งอีเมล์มา ไม่อ้อมค้อมเธอขอหมายเลขบัญชีธนาคารของหลวงพี่แล้วก็โอนเงินมาให้เฉยๆอย่างนั้นแหละ โดยที่หลวงพี่ไม่ได้เอ่ยปากแต่อย่างไร (That’s what friends are for!) มีครั้งหนึ่งก็หวุดหวิดมากใกล้ออกพรรษาแล้วแต่ก็อีกเป็นเดือนกว่าจะทอดกฐิน ปัจจัยที่เหลืออยู่ไม่พอแน่นอน หลวงพี่ก็ทำเหมือนเดิมคืออธิษฐานบอกครูบาอาจารย์ แล้วก็เป็นที่อัศจรรย์อีก โยมแม่ของธรรมทายาทคนหนึ่งเกิดศรัทธาถวายปัจจัยกฐินล่วงหน้ามาอย่างไม่ได้คาดฝัน และเงินก้อนนั้นก็เพียงพอจนกระทั่งถึงวันทอดกฐินพอดี แต่หลวงพี่ไม่ได้ชะล่าใจหวังพึ่งปาฏิหาริย์แบบนี้อย่างเดียวหรอกนะ อย่างที่บอก บริหารกันเต็มที่ทีเดียว
หลวงพี่มานึกทบทวนแล้วก็บอกญาติโยมเสมอว่า นี่ถ้าไม่ได้บวชที่วัดพระธรรมกายจะมาทำงานอย่างนี้คงจะไม่ไหว เพราะเราทำงานเชิงรุกจึงมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เรื่องนี้ไม่เคยลืมตัวเผลอนึกว่าตัวเองเก่งกาจ หาทุนได้ด้วยตนเองแต่อย่างไร อาศัยบารมีครูบาอาจารย์ทั้งนั้น
ไม่ถึงกับมีเหลือเฟือหรอกแต่ก็เพียงพอสำหรับการขับเคลื่อนงานพระศาสนาให้เดินหน้าไป ตามมโนปนิธานของหมู่คณะ ..
29 ก.ย. 59 17:54
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
อ่านบทนำ - บทที่ 6ได้ที่
http://buddhisthotissue.blogsp ot.jp/2016/08/series_1.html
อ่านบทที่ 7 : ชีวิตคือการเดินทาง ได้ที่
อ่านบทที่ 8 : Been there .. Done that ..
http://buddhisthotissue.blogspot.sg/2016/08/8-been-there-done-that-series.html
อ่านบทที่ 9 : My way
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/9-my-way-series.html
อ่านบทที่ 10 : ซาโยนาระ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/10-series.html
อ่านบทที่ 11 : ชีวิตใหม่...ในเพศสมณะ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/11-series.html
อ่านบทที่ 12 : หนีเสือปะจระเข้
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/12-series.html
อ่านบทที่ 13 : จากเทือกเขาถนนธงชัยถึงสมุทรสงคราม
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/13-series.html
อ่านบทที่ 9 : My way
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/9-my-way-series.html
อ่านบทที่ 10 : ซาโยนาระ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/10-series.html
อ่านบทที่ 11 : ชีวิตใหม่...ในเพศสมณะ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/11-series.html
อ่านบทที่ 12 : หนีเสือปะจระเข้
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/12-series.html
อ่านบทที่ 13 : จากเทือกเขาถนนธงชัยถึงสมุทรสงคราม
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/13-series.html
อ่านบทที่ 14 : อุ้มหัวใจไป...อุ้มผาง
http://buddhisthotissue.blogspot.com/2016/09/14-series.html
อ่านบทที่ 15 : อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน รุ่นห้าแสน
http://myalphabet2016.blogspot.com/2016/09/14-series.html
อ่านบทที่ 16 : สำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/16-series.html
อ่านบทที่ 17 : กุฏิไฟไหม้กับตอไผ่
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/17-series.html
อ่านบทที่ 18 : สารถีในฝัน
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/18-series.html
อ่านบทที่ 19 : เรื่องมันจำเป็น
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/10/19-series.html
อ่านบทที่ 15 : อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน รุ่นห้าแสน
http://myalphabet2016.blogspot.com/2016/09/14-series.html
อ่านบทที่ 16 : สำนักสงฆ์เขาวงพระจันทร์
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/16-series.html
อ่านบทที่ 17 : กุฏิไฟไหม้กับตอไผ่
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/17-series.html
อ่านบทที่ 18 : สารถีในฝัน
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/09/18-series.html
อ่านบทที่ 19 : เรื่องมันจำเป็น
http://myalphabet2016.blogspot.jp/2016/10/19-series.html
บทที่ 20 สมภารป้ายแดง (เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล The series)
4/
5
Oleh
ICHICO
43 ความคิดเห็น
Tulis ความคิดเห็น#จะหาพระดีๆเช่นหลวงพี่นั้นยากพอสมควรนะ
Reply..กราบอนุโมทนาบุญจริงๆ
กราบอนุโมทนาบุญและกราบถวายกำลังใจหลวงพี่ด้วยควาทเคารพและศรัทธายิ่งเจ้าค่ะ หลวงพี่คือต้นแบบต้นบูญแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเชิงรุกจริงๆ สู้ๆๆต่อไปนะเจ้าคะ กราบสาธุ สาธุ สาธุเจ้าค่ะ
Replyสาธุกราบอนุโมทนาบุญและขอเป็นอีกหนึ่งกำลังกับพระอาจารย์เจ้าค่ะ
Replyสาธุกราบอนุโมทนาบุญและขอเป็นอีกหนึ่งกำลังกับพระอาจารย์เจ้าค่ะ
Replyเห็นด้วยค่ะ
Replyท่านทำความดี ย่อมชนะทุกสีงขอเอาใจช่วยท่านค่ะ
Replyกราบอนุโมทนาบุญหลวงพี่ด้วยทุกบุญ ขอเป็นกำลังใจให้หลวงพี่ได้เป็นต้นบุญต้นแบบสร้างบารมีในพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายนี้ไปอีกนานๆ ตลอดไป ปลื้มกับทุกบุญ ทุกความคิด ทุกการตัดสินใจ ปลื้มๆๆ สาธุ
Replyพุทธานุภาพ มีอานุภาพ นับประมาณมิได้ หลวงพี่มีหัวใจอัศจรรย์ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา สำเร็จเป็นอัศจรรย์ ขอกราบอนุโมทนาบุญค่ะ
Replyสู้ๆ ครับ
Replyสาธุๆๆ
Replyหนึ่งกำลังใจ มอบถวายแด่ พระอาจารย์ เจ้าคะ
Replyสาธุๆๆค่ะ
Replyสาธุๆๆค่ะ
Replyสาธุ
Replyสาธุ
Reply💐💐💐🙏🙏🙏
Replyอนุโมทนาบุญสาธุสาธุสาธุ ครับ
Replyอนุโมทนาบุญสาธุสาธุสาธุ ครับ
Replyสาธุครับ
Replyคำกล่าวหาใดๆ ที่มากล้ำกรายหลวงพี่ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะความทุ่มเทเพื่อเผยแผ่และฟื้นฟูพระพุทธศาสนาของหลวงพี่นั้น มีแต่ผู้มีหัวใจแข็งดังเพชรจึงจะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ไปได้ เพราะหลวงพี่มีมโนปณิธานที่มั่นคงชัดเจน อนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ด้วยค่ะ สุดยอดมากๆๆๆ
Replyสุดยอดมากๆครับ
Replyสาธุๆๆ ขออนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ธาดาด้วยครับ
Reply"เราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญสร้างบารมี" บุญกุศลความดีและบุญบารมีที่ได้ทำไว้ มิได้สูญหายไปไหน และจะรอส่งผลให้เราได้ปลื้มปีติใจ มีความสุข มีความภาคภูมิใจตลอดกาลนานฯ
สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ด้วยครับ
Replyตั้งแต่รู้จักหลวงพี่...มา. อะไรที่ตั้งใจ สำเร็จ. เพระหลวงพี่มุ่งมั่น และจริงใจ.....สู้ไปด้วยกัน...สักวันฟ้าจะสีทองผ่องอำไพ. มีทรัพย์หลั่งไหลสู่แผ่นดิน ให้ทำงานพระศาสนาได้คล่องมือ
Replyตั้งแต่รู้จักหลวงพี่...มา. อะไรที่ตั้งใจ สำเร็จ. เพระหลวงพี่มุ่งมั่น และจริงใจ.....สู้ไปด้วยกัน...สักวันฟ้าจะสีทองผ่องอำไพ. มีทรัพย์หลั่งไหลสู่แผ่นดิน ให้ทำงานพระศาสนาได้คล่องมือ
Replyกราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
Replyกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุครับ
Replyมันจริงหรืออย่ากล่าวหาเล่นนะ
Replyกราบอนุโมทนาบุญค่ะ ท่านสู้สุดๆจริงๆ
Replyกราบอนุโมทนาบุญค่ะ ท่านสู้สุดๆจริงๆ
Replyสุดยอดมากเลยครับ
Replyผมเป็นFCนะครับ
เป็นเรื่องเดียวของการบ้านที่ผมตามอื่นตลอด😃😃😃
นี่แหละชีวิตของพระแท้ มุ่งมั่นที่จะนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปให้ถึงชาวโลกให้มากที่สุด
Replyขออนุโมทนาในความทุ่มเทเสียสละเพื่องวนพระศาสนาครับ
Replyกราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ ที่ตั้งมั่น มั่งคง ทำงานพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวด. สาธุ
Replyกราบ
Replyกราบ
Replyกราบอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ธาดา ด้วยนะครับ ท่านเป็นพระที่ทุ่มเทเสียสละเพื่องานพระศาสนาอย่างแท้จริงครับ..สาธุครับ
Replyขึ้นชื่อว่าความลำบากไม่มีใครต้องการ แต่สำหรับพระอาจารย์มันเป็นการสร้างบารมีอันยิ่ง ขันติบารมี มากๆ
Replyกราบอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ และกราบหัวใจนักสร้างบารมีของท่านค่ะ
Replyเป็นกำลังใจเจ้าค่ะ
Replyเป็นกำลังใจเจ้าค่ะ
Replyสาธุ
Replyสาธุค่ะ
Reply