วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โกศ มาจากไหน ตอนที่ 1



โกศ มาจากไหน 

  โกศ  

          โกศ มีพัฒนาการมาจากพิธีศพของชาวอุษาคเนย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประมาณ 2,500-3,000 ปีก่อน

           การเก็บศพลงในโกศนั้นสันนิษฐานว่ามีที่มาจาก "การฝังศพครั้งที่สอง" (secodary burial) ในยุคโบราณ

           โดยการฝังศพครั้งที่หนึ่ง (primary burial) หลังจากเสียชีวิตจะมีการนำศพไปฝังดินจนกระทั่งเนื้อหนังย่อยสลายเหลือแต่กระดูก ครั้งที่สองคือการนำกระดูกทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนเช่นกะโหลกศีรษะบรรจุใส่ภาชนะ และอาจจะมีการบรรจุข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ลงไปด้วย เพื่อเป็นการอุทิศให้ผู้ตาย

            การฝังศพแบบนี้น่าจะทำในเฉพาะชนชั้นนำของสังคม เช่นหัวหน้าเผ่าหรือหมอผี และการฝังศพมักจะทำในบริเวณเดียวกันซ้ำโดยถือว่าบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิที่คนในตระกูลหรือสังคมให้ความนับถือร่วมกัน

           ประเพณีศพแบบนี้สามารถพบได้ในสังคมทั่วโลก โดยเฉพาะยุคก่อนประวัติศาสตร์


            ในประเทศไทยมีการพบหลักฐานทางโบราณคดีอยู่ที่ขอบทุ่งกุลา ที่บ้านเมืองบัว ต.เมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ดเป็นภาชนะใส่กระดูกรูปร่างเหมือน "แคปซูล" นอกจากนี้ยังพบในรูปแบบของหม้อดินเผาใส่กระดูกทั่วไป

             ในประเทศเพื่อนบ้านยังพบไหหินรูปแบบใกล้เคียงกันที่ทุ่งไหหิน เชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กับไหหินใส่ระดูกมนุษย์รูปแบบเดียวกันซึ่งพบในอินเดียเหนือ


ภาชนะดินเผาบรรจุศพแบบ “แค็ปซูล”
เมื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว
มีรูปร่างลักษณะต่างๆกัน นับเป็นต้นเค้าโกศ
และประเพณีเก็บกระดูกใส่หม้อ หรือสถูปเจดีย์ในสมัยหลังๆ
ขุดพบบริเวณขอบทุ่งกุลาร้องไห้
บ้านเมืองบัว อ. เกษตรวิสัย จ. ร้อยเอ็ด

          ต่อมาสันนิษฐานว่าเมื่อภูมิภาคอุษาคเนย์ได้รับอิทธิพลจากอินเดียเข้ามาในยุคประวัติศาสตร์ ทำให้เปลี่ยนจากการฝังศพ (burial) มาเป็นการเผาศพ (cremation) แล้วนำเถ้ากระดูกมาบรรจุในโกศแทน ซึ่งพบได้ทั้งในวัฒนธรรมทวารวดีในไทย วัฒนธรรมปยูในพม่า วัฒนธรรมของจามในจามปาและฟูนัน ส่วนที่ยังนิยมฝังศพตามเดิมก็ยังพบได้ในบริเวณจีนตอนใต้

ไหหิน ใส่กระดูกศพ ราว 2,500 ปีมาแล้ว
ที่ทุ่งไหหิน แขวงเชียงขวาง ในลาว


           ซึ่งวัฒนธรรมการเก็บกระดูกในภาชนะนั้นก็ได้พัฒนามาเป็นการเก็บอัฐิใส่โกศของคนไทยในสมัยหลัง รวมไปถึงการเก็บอัฐิไว้ตามสถูปเจดีย์หรอช่องในกำแพงวัด ซึ่งเป็นการสะท้อนความเชื่อในเรื่องของพื้นที่ศักดิ์สิทธิในยุคดึกดำบรรพ์

(ซ้าย) โกศ (ลองใน) (ขวา) พระลองทองใหญ่ประกอบพระโกศ
(ภาพจากหนังสือสารานุกรมไทยเล่ม 2
ของ อุทัย สินธุสาร
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2516 หน้า 291)

           การนำศพใส่ในโกศแบบเดียวกับที่ใส่ใส่โลงศพ (coffin) ก็พบว่ามีคนบางกลุ่มประมาณ 3,000 ปีก่อน ที่มีประเพณีฝังศพงอเข่าไว้กับอก บางทีเอาศพงอเข้าใส่ไหไปฝัง ซึ่งได้พัฒนามาเป็นประเพณีศพนั่งในพิธีศพของพระเจ้าแผ่นดินและชนชั้นปกครองของไทยในสมัยหลัง



-----------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง
- การฝังศพครั้งที่สองที่ทุ่งกุลาร้องไห้. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
- พระเมรุ ทำไม ? มาจากไหน. สุจิตต์ วงษ์เทศ


Cr. http://news.tlcthai.com

Related Posts

โกศ มาจากไหน ตอนที่ 1
4/ 5
Oleh

Subscribe via email

Like the post above? Please subscribe to the latest posts directly via email.

30 ความคิดเห็น

Tulis ความคิดเห็น
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 05:17

เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล

Reply
avatar
Num
19 ตุลาคม 2559 เวลา 05:27

ได้ความรู้ดีครับ คนตายเเล้วเหลือเเต่ความดีที่ทำไว้ในขณะมีชีวิต จึงควรทำความดีไว้ให้คนที่อยู่ภายหลังได้จดจำดีกว่า

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 05:36



เสด็จสู่ฟากฟ้า สุราลัย พระมหากรุณา ธิคุณ จารึกในใจไทยชั่วกาล ข้า...พระพุทธเจ้า

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 05:38

พระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเดินตามรอยพระบาทพระองค์ท่านไปจนตราบนิรันดร ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 05:57

กราบแทบพระบาทพระมหากรุณาอันล้นพ้นขอติดตามรองบาททุกชาติไป ดว้ยเกล้าดว้ยกระหม่อมขอเดชะ พระพทุธเจ้าข้า

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 06:01

เป็นความรู้ใหม่เลยนะนี่ สาธุ สำหรับข้อมูลค่ะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 06:01

เป็นความรู้ใหม่เลยนะนี่ สาธุ สำหรับข้อมูลค่ะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 06:28

สาธุ ที่แชร์ความรู้(ไม้เคยรู้มาก่อน)

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 06:30

เพิ่งได้ความรู้ไม่เคยทราบมาก่อนเลย เรื่องราวในประวัติศาสตร์น่าสนใจจริงๆ ขอบคุณมากค่ะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 06:32

เพิ่งได้ความรู้ไม่เคยทราบมาก่อนเลย เรื่องราวในประวัติศาสตร์น่าสนใจจริงๆ ขอบคุณมากค่ะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 06:58

เป็นความรู้ใหม่ พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 06:58

เป็นความรู้ใหม่ พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 07:03

เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 07:09

กราบขอบพระคุณวิทยาทานนี้เป็นอย่างยิ่งคะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 07:11

ชาติของเราชาติไทยใครก็รู้
ชาติเคยสู้ผ่านศึกเหตุชั่วร้าย
ชาตินักรบต่อสู้จนชีพวาย
ชาติอยู่ได้แม้ตายก็ยอมพลี
ชาติไทยเราถึงคราวน่าใจหาย
ชาติไทยได้สูญสิ้นกษัตริย์ศรี
ชาติไทยเสียสิ้นแล้วองค์จักรี
ชาติไทยนี้เกิดทุกข์ทั่วถิ่นไทย
ชาติเคยอยู่ร่วมกันฉันน้องพี่
ชาติสุขศรีประชาคงสดใส
ชาติจะอยู่คู่โลกไปอีกไกล
ชาติวิไลผองไทยคงเบิกบาน
ชาติวันนี้ผองเราต้องร่วมช่วย
ชาติไม่ม้วยร่วมด้วยช่วยกันสาน
ชาติจะสุขร่มเย็นตลอดกาล
ชาติคือบ้านวิมานสำราญใจ...

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 07:13

ขอบคุณค่ะได้ความรู้เยอะเลยค่ะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 07:44

ได้ความรู้ดี ขอบคุณค่ะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 07:44

ได้ความรู้ดี ขอบคุณค่ะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 08:16

เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 08:25

ความดีจะติดตรึงใจคน รู้สึกซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 08:25

ความดีจะติดตรึงใจคน รู้สึกซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม

Reply
avatar
ไม่ระบุชื่อ
19 ตุลาคม 2559 เวลา 10:08

สาธุกับข้อมูลที่ดีๆ ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 10:20

น้อมเกล้าฯส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย ผองผสกนิกรชาวไทยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้...
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 10:22

น้อมเกล้าฯส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย ผองผสกนิกรชาวไทยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้...
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 10:34

พระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปภัมภก
ยอยกพระพุทธศาสนา

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 14:36

เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 15:50

น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า มณีศร โอภาสกิจ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 21:26

น้อมส่งเสด็จสู่สสรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

Reply
avatar
19 ตุลาคม 2559 เวลา 22:54

สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

Reply