วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ในหลวงและข้าว...กับชาวนา



           ถ้ากล่าวถึงความสัมพันธ์ของข้าว ชาวนา และพระมหากษัตริย์ไทยแล้ว แน่นอนว่าต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง สังเกตได้จากพระราชกรณียกิจและพระราชดำริต่างๆที่พระองค์ท่านทำเพื่อชาวนา เช่น ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นาข้าวทดลอง โรงสีข้าวตัวอย่าง ธนาคารข้าวเป็นต้นและก็ยังมีพระราชดำรัสของในหลวงที่ตรัสเพื่อชาวนา 


           ซึ่งพวกเราได้ไปลงพื้นที่สัมภาษณ์ชาวบ้านจากที่ต่างที่ทำอาชีพเป็นชาวนา เกี่ยวการทำนา ความรู้สึก ตลอดจนอุปสรรคของพวกเขา

           “...ข้าวที่ออกเป็นสีลักษณะนี้เป็นข้าวที่มีประโยชน์ อย่างข้าวกล้อง คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกัน เพราะเห็นว่าเป็นข้าวของคนจน ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเมล็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว... มีคนบอกว่า คนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี้ก็คนจน...” 

(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่สื่อมวลชน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2541)


จากพระราชดำรัส

"กว่าเราจะได้ข้าวมาจานหนึ่งให้เราได้ทาน 
ต้องแลกจากหยาดเหงื่อของชาวนาที่เป็นปลูก"


            พวกเราได้ไปลงพื้นที่และได้ไปนั่งคุยกับคุณลุง คุณป้า ที่ทำอาชีพเป็นชาวนาว่า “คุณลุง คุณป้าเคยท้อบ้างไหม...กับการทำนาข้าวแบบนี้..?” แล้วคุณลุง คุณป้าก็ตอบกลับมาว่า “ไม่ท้อหรอกลูก...การทำงาน มันต้องมีความอดทน...ถึงวันนี้เราจะเหนื่อย แต่เราก็ต้องพยายามต่อไป...อย่างป้าทำไร่ทำนา...ขายข้าวเพื่อหาเลี้ยงชีพ...แค่ป้าได้เห็นทุกคนได้กินข้าว...ป้าก็มีความสุขแล้ว...” แค่คุณป้าตอบมาแค่นี้ พวกเราก็รู้สึกซึ้งใจมากเลยคะ



           ".. ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก.." 

(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการพระราชดำริ ที่บ้านโคกกูแว จ.นราธิวาส วันที่ 28 กันยายน 2536)



และจากพระราชดำรัสนี้ 


ปัจจุบันผู้ที่จะมาประกอบอาชีพเป็นชาวนา 
เริ่มลดจำนวนน้อยลงทุกทีๆ 


          พวกเราก็ได้คำถามกับชาวบ้านว่า “คุณลุง..คุณป้า..อยากให้ลูกหลานของคุณลุงคุณป้ามาสืบทอดการทำไร่ทำนาต่อไหม...” ซึ่งคุณลุง..คุณป้าก็ตอบกลับมาว่า “ก็ไม่อยากบังคับพวกลูกๆ หลานๆ หรอก เขาอยากทำอะไรก็ให้เขาทำ...” แล้วพวกเราก็ถามกลับไปอีกว่า “แล้วอย่างงี้..คุณลุงคุณป้าจะทำยังไงอ่ะค่ะ...” คุณลุง..คุณป้าก็ตอบกลับมาว่า “ก็พวกป้าก็จะทำจนกว่าจะไม่มีแรงทำน่านแหละ...” พวกเรารู้สึกนับถือคุณลุงคุณป้าจริงๆ ที่มีความมานะพยายามแบบนี้คะ...


          "ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาการทดลองและทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมี ความยากลำบากอยู่ มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่างๆด้วยจึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรปลูกพืชอื่นๆบ้าง เพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่ใช่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป" 

(พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา เมื่อ พฤษภาคม 2504 จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า 2)



จากพระราชดำรัสนี้ 


จากที่พวกเราได้ไปดูคุณลุงคุณป้าทำนามา 
บอกได้เลยว่าเป็นจริงอย่างกับที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสไว้.. 
ว่าอาชีพนี้เหนื่อยมาก 
ต้องทำงานกลางแสงแดดที่ร้อน 
ก้มหลังเพื่อปลูกต้นข้าวทีละต้น 
ซึ่งถ้าให้พวกเราไปทำ คงทำได้ไม่ถึง 10 นาที 
ต้องขอมานั่งพักแน่นอน...


          "...ในสมัยปัจจุบัน อาชีพเพาะปลูกนี้มีความสำคัญมาก เพราะการเพาะปลูกนี้เป็นจุดเริ่มต้น ของชีวิตมนุษย์ ถ้าเราไม่มีการเพาะปลูก ก็จะไม่มีวัตถุดิบที่จะมาเป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือเป็นสิ่งก่อสร้าง ฉะนั้นต้องทำการกสิกรรม..." 

(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้นำสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์นิคม ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2521 จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า 2)



จากพระราชดำรัสนี้ 


ไม่ว่าอาชีพอะไร ก็มีบทบาทความสำคัญ
ในตัวเองอยู่เสมอ อย่างเช่นอาชีพชาวนา 

          หลายๆ คน อาจะบอกว่า อาชีพนี้ไม่เห็นอะไรเลย ทำงานก็เหนื่อย รายได้ที่ได้มาก็น้อย...แต่จริงๆ แล้ว จากที่พวกเราได้ไปอยู่กับคุณลุง คุณป้าที่ทำนา พวกเราบอกได้ว่า อาชีพนี้เป็นอีกอาชีพที่น่ายิ่งย่องมากๆ เพราะอาชีพนี้ เป็นผู้สร้างเอกลักษณ์ให้กับประเทศไทยเรา ทำให้เราได้มีข้าวกิน... บวกกับความขยันของพวกเขา ไม่อย่างงั้น เราคงจะไม่มีข้าวให้ได้ทานกันอีกต่อไป...


           ข้าวที่ได้ชื่อว่าเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ชาวนาที่ได้ฉายาว่า กระดูกสันหลังของชาติ และในหลวงที่ได้ชื่อว่า เป็นมหากษัตริย์นักพัฒนา แล้วคุณล่ะ...ทำอะไรเพื่อประเทศชาติแล้วหรือยัง....

Cr. NationTV

Related Posts

ในหลวงและข้าว...กับชาวนา
4/ 5
Oleh

Subscribe via email

Like the post above? Please subscribe to the latest posts directly via email.